หน่วยงาน : สถาบันวิจัยและพัฒนา

พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

บทสรุปผู้บริหาร


บทสรุปผู้บริหาร

           

สถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  ได้ดำเนินการประเมินตนเองประจำปีงบประมาณ 2565 (วงรอบ  1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) โดยขอรับการประเมินคุณภาพภายใน จำนวน 2 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้ ที่ใช้เกณฑ์การประเมินโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) สรุปผลการประเมินคุณภาพภายในได้ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1.ตัวบ่งชี้รวมของทุกหน่วยงานสนับสนุน
(6 ตัวบ่งชี้) ได้คะแนนเฉลี่ย 4.82  ซึ่งอยู่ในระดับ ดีมาก องค์ประกอบที่ 2 ตัวบ่งชี้ตามภารกิจของหน่วยงานไม่นำมาคิดค่าคะแนน (4 ตัวบ่งชี้) ได้คะแนนเฉลี่ย 5.00  ซึ่งอยู่ในระดับ ดีมาก

สำหรับการประเมินคุณภาพในครั้งนี้สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ทำการวิเคราะห์จุดเด่น จุดอ่อน แนวทางแก้ไข ในแต่ละองค์ประกอบ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 ตัวบ่งชี้ร่วมของทุกหน่วยงานสนับสนุน จุดแข็ง 1) มีการประเมินการให้บริการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงพัฒนาการให้บริการตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ 2) มีระบบการเสนอขอรับทุนวิจัยทั้งกองงบประมาณกองทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และทุนจากงบประมาณแผ่นดิน ภายใต้กองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการยื่นเสนอของบประมาณ และมีการประเมินผลจากผู้ทรงคุณวุฒิผ่านระบบออนไลน์ ทำให้นักวิจัยได้รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้ทรงคุณวุฒิและสอบถามข้อมูลเพื่อปรับแก้ไขโครงร่างให้มีประสิทธิภาพ
ทำให้ประหยัดเวลาและทรัพยากรในการดำเนินงานและทำให้สามารถพัฒนาคุณภาพงานวิจัยได้ดียิ่งขึ้น

3)
มีการกำหนดประเด็นความรู้ มีกลุ่มเป้าหมาย และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย และรวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมีการกำกับ ติดตาม การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่เป็น แนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง 4) บุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนามีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองแต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเข้ารับการอบรมในหัวข้อที่สนใจและเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในรูปแบบออนไลน์

องค์ประกอบที่  2 ตัวบ่งชี้ตามภารกิจของหน่วยงาน จุดแข็ง 1) หน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยสามารถหาแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยได้ด้วยตนเอง 2) มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายการวิจัยจากชุมชนและหน่วยงานภายในพื้นที่ รวมทั้งมีพื้นที่เป้าหมายที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน จึงสามารถกำหนดโจทย์วิจัยที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง 3) หน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ เช่นโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย หัวข้อ “เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยให้ได้ทุน        ได้ผลงานวิชาการ และได้บริการวิชาการแก่ชุมชน” เป็นต้น 4) มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งกองทุนวิจัยที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีงบประมาณ พร้อมให้การสนับสนุน 5) สถาบันวิจัยและพัฒนา มีระบบและกลไกในการสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ เช่น การจัดเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักวิจัยในการส่งโครงร่าง       การแบ่ง สัดส่วนการจัดสรรทุนวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ การประชาสัมพันธ์ทุนวิจัยต่างๆ และการจัดหาผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาประเมินโครงร่างวิจัยก่อนส่งไปแหล่งทุน เป็นต้น จุดที่ควรพัฒนา 1) สร้างแรงจูงใจให้กับอาจารย์ที่เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในการเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น 2) สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานเอกชนเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายในการขอรับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกได้มากยิ่งขึ้น 3) การสร้างแรงจูงใจให้กับอาจารย์และบุคลากร นักวิจัยรุ่นใหม่ในการเสนอขอทำงานวิจัยเพิ่มยิ่งขึ้น 4) อาจารย์มีภาระงานสอนค่อนข้างมากจึงเป็นอุปสรรคในการทำวิจัยของอาจารย์ใหม่

 

       


ระบบบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ
หน่วยงานสนับสนุน

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีประมาณ 2563

สถาบันวิจัยและพัฒนา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561, สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่