หน่วยงาน : สถาบันวิจัยและพัฒนา

พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

คำอธิบายตัวบ่งชี้


         เพื่อให้หน่วยงานมีระบบบริหารความเสี่ยง โดยการบริหารและควบคุมปัจจัยกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงานที่อาจเป็นมูลเหตุของความเสียหาย (ทั้งในรูปของตัวเงิน หรือไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียงและการฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า) เพื่อให้ระดับความเสี่ยง และขนาดของความเสี่ยหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับและควบคุมได้โดยคำนึงถึงการเรียนรู้วิธีการป้องกันจากการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้า และโอกาสในการเกิดเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสำรองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่าง ๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง และทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ


รอบระยะเวลา



เกณฑ์มาตรฐาน


เกณฑ์มาตรฐาน

          1. หน่วยงานจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลแก่
ผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานว่าหน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

          2. หน่วยงานจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กรอย่างน้อยประกอบด้วย การมอบหมายผู้รับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง การกำหนดวัฒนธรรม ของหน่วยงานที่ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล

          3. หน่วยงานมีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการสื่อสาร การบริหารจัดการความเสี่ยงของวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

          4. หน่วยงานมีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง
การจัดลำดับ ความเสี่ยง จากประเด็นอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

     1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)

     2) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR)

     3) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operation Risk : OR)

     4) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR)

          5. หน่วยงานจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและต้องมีการสื่อสาร แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ

          6. มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงและทบทวนแผนการบริหาร จัดการความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และรายงานการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัยอย่างน้อยปีละ
1 ครั้ง

          7. มีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ไปใช้ในการปรับแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงในรอบปีถัดไป

 

หมายเหตุ  คะแนนการประเมินจะเท่ากับ 0 หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นภายในหน่วยงานในรอบปี การประเมินที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของบุคลากร ผู้รับบริการ หรือต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือต่อความมั่นคงทางการเงินของหน่วยงาน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของหน่วยงาน ในการควบคุม หรือจัดการกับ ความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน


เกณฑ์การประเมิน

มีการดำเนินการ 3 ข้อ

มีการดำเนินการ 4 ข้อ

มีการดำเนินการ 5 ข้อ

มีการดำเนินการ 6 ข้อ

มีการดำเนินการ 7 ข้อ

7 ข้อ

7 ข้อ

7 ข้อ

บรรลุ

5

7 ข้อ

จุดแข็ง


จุดที่ควรพัฒนา


ข้อเสนอแนะ


อาจารย์ ดร.วิภาวี ศรีคะ 053-88-5950
นางสาวสิริญา ยุวงค์ 053-88-5950

          1. หน่วยงานจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลแก่
ผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานว่าหน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

ผลการดำเนินงาน


สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน จึงได้มีการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของหน่วยงานขึ้นเพื่อเป็นการบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรม รวมทั้งกระบวนการในการดำเนินงานต่างๆ โดยลดโอกาส  และผลกระทบอันเกิดจากความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้  ประเมินได้  ควบคุมได้  และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายขององค์กรตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลแก่ผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานว่าหน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม (1.5-1-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.5-1-1 แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565

2. หน่วยงานจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กรอย่างน้อยประกอบด้วย การมอบหมายผู้รับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง การกำหนดวัฒนธรรม ของหน่วยงานที่ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล

ผลการดำเนินงาน


สถาบันวิจัยและพัฒนา  ได้แต่งตั้งคณะ กรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในฯ ตามคำสั่งสถาบันวิจัยและพัฒนา ที่ 6/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในฯ สั่ง ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2564  โดยมีผู้อำนวยการ เป็นประธานกรรมการ รองผู้อำนวยการเป็นรองประธาน หัวหน้าสำนักงานเป็นเลขานุการ และบุคลากรทุกคน เป็นคณะกรรมการ ซึ่งมีหน้าที่ วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง ตลอดจนจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยง ติดตามการควบคุมภายใน เพื่อให้ความเสี่ยงลดน้อยลง (1.5-2-1) โดยกำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยงประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ตามแผนการบริหารความเสี่ยง (1.5-2-2)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.5-2-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในฯ ประจำปี 2564
1.5-2-2 แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 หน้า 3

3. หน่วยงานมีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการสื่อสาร การบริหารจัดการความเสี่ยงของวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

ผลการดำเนินงาน


     สถาบันวิจัยและพัฒนามีการกำหนดนโยบายรวมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงในแผนบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2565 หน้า 7 (1.5-3-1) ตลอดจนได้ทำการสื่อสารนโยบาย วัตถุประสงค์และแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงไปยังบุคลากรที่เกี่ยวข้องในที่ประชุมบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 (1.5-3-2) เพื่อให้บุคลากรรับทราบนโยบายและแนวทางการนำแผนบริหารความเสี่ยงไปใช้ในงานที่รับผิดชอบได้

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.5-3-1 แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565
1.5-3-2 รายงานการประชุมบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564

4. หน่วยงานมีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง
การจัดลำดับ ความเสี่ยง จากประเด็นอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

     1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)

     2) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR)

     3) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operation Risk : OR)

     4) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR)

ผลการดำเนินงาน


         สถาบันวิจัยและพัฒนามีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยงจากประเด็นต่าง ๆ ในแผนบริหารความเสี่ยงประจำปี งบประมาณ 2565
หน้า 7-14 (1.5-4-1) ในการประชุมบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนาครั้งที่ 4/2564 (1.5-4-2) ได้มีการร่วมกันกำหนดประเด็นความเสี่ยง โดยเรียงลำดับความเสี่ยงได้ดังต่อไปนี้

ประเภทความเสี่ยง

ระดับ

ลำดับ

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic risk)

 

 

SR1 การไม่บรรลุวัตถุเป้าหมายของแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการ

ปานกลาง

5

SR2 งบอุดหนุนงานวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินลดลง

สูง

2

ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial risk)

 

 

FR1 การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามงบประมาณ/แผนที่กำหนดไว้

สูง

3

FR2 การจัดส่งเอกสารเบิกจ่าย/ผิดพลาดเกิดความล่าช้า

ปานกลาง

5

ความเสี่ยงด้านการดำเนิน (Operational risk)

 

 

OR1 อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเดินทาง

สูง

2

OR2 การแพร่กระจายเชื้อ covid-19 ของบุคลากร

สูง

1

ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Compliance risk)

 

 

CR1 ความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติการเบิกจ่ายคลาดเคลื่อน

ปานกลาง

4

CR2 การทุจริต (ความเสี่ยงด้านบุคลากร/ความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล)

ต่ำ

6

 

 

 

ที่มา : แผนบริหารความเสี่ยงหน้า 14

 

 

 

 

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.5-4-1 แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565
1.5-4-2 รายงานการประชุม บุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564

5. หน่วยงานจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและต้องมีการสื่อสาร แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ

ผลการดำเนินงาน


สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงปีละ 1 ครั้งและมีการสื่อสารแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง หน้า 22 (1.5-5-1) ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ ภายหลังจากการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงทั้ง 4 ด้าน (หน้า 21)  รวมทั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ประชุมเพื่อหารือร่วมกัน (1.5-5-2) หลังจากนั้นมีการสื่อสารแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับบุคลากรบนเว็ปไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา (1.5-5-3)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.5-5-1 แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565
1.5-5-2 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 11 เมษายน 2565
1.5-5-3 หน้าเว็ปไซต์สถาบันวิจัย และพัฒนา https://www. ird.cmru.ac.th/ research65/?op= download&dl_ty_id=8

6. มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงและทบทวนแผนการบริหาร จัดการความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และรายงานการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัยอย่างน้อยปีละ
1 ครั้ง

ผลการดำเนินงาน


    สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มีการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยง การดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง  โดยได้ทำการรายงานผลการดำเนินงานทั้ง 4 ด้านต่อผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ในการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงภายในประจำปี งบประมาณ 2565  1/2564 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 (1.5-6-1) และรายงานต่อมหาวิทยาลัยผ่านสำนักงานตรวจสอบภายใน (1.5-6-2) เป็นประจำทุกปี โดยให้บุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนานำข้อเสนอแนะการจัดการความเสี่ยงของปีที่ผ่านมา เป็นแนวทางในการกำหนดความเสี่ยง  มีรายละเอียดดังนี้ (หน้า 8)

1. ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล

2. ความเสี่ยงด้านการสื่อสารกับบุคคลภายในหน่วยงานเพื่อให้ทราบแนวทางปฏิบัติทั่วไป

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.5-6-1 การประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงภายในประจำปี งบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564
1.5-6-2 รายงานผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของสถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปี 2565

7. มีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ไปใช้ในการปรับแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงในรอบปีถัดไป

 

หมายเหตุ  คะแนนการประเมินจะเท่ากับ 0 หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นภายในหน่วยงานในรอบปี การประเมินที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของบุคลากร ผู้รับบริการ หรือต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือต่อความมั่นคงทางการเงินของหน่วยงาน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของหน่วยงาน ในการควบคุม หรือจัดการกับ ความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน

ผลการดำเนินงาน


จากผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน รอบปีงบประมาณ 2565 โดยข้อเสนอแนะจากการสอบทานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน พบว่ายังมีบางประเด็นที่ควรมีการดำเนินการเพิ่มเติม คือ (1.5-7-1)

     1. จากตารางที่ 35 กรณีผลการดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงลดลง  แต่ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ระดับสูงที่ต้องการให้มีการบริหารจัดการในปีต่อไป  ควรพิจารณาหาแนวทางดำเนินการที่เหมาะสม  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยง

     2. จากข้อตรวจพบที่ 1.6  ควรมีการรายงานผลฯ ให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัยรับทราบตามหลักเกณฑ์ฯ  

      ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนาได้นำข้อเสนอแนะจากสำนักงานตรวจสอบภายในนำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อหารือแนวทางและพิจารณามอบหมายการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงต่อไป

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.5-7-1 การรายงานผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายใน รอบปีงบประมาณ 2565

ระบบบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ
หน่วยงานสนับสนุน

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีประมาณ 2563

สถาบันวิจัยและพัฒนา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561, สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่