หน่วยงาน : สถาบันวิจัยและพัฒนา

พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

คำอธิบายตัวบ่งชี้


มาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ 3 กำหนดให้หน่วยงานมีการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่หน่วยงานแห่งการเรียนรู้ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้หน่วยงานมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การรวบรวม การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในหน่วยงาน การกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น

          แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จหรือ สู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  1. แผนการจัดการความรู้ที่แสดงการกำหนดประเด็นความรู้ เป้าหมายของการจัดการความรู้ และบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย
  2. โครงการ/กิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนด และเอกสารเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
  3. เอกสารการรวบรวมความรู้ตามประเด็นที่กำหนดและเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
  4. เอกสารหลักฐานการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

รอบระยะเวลา



เกณฑ์มาตรฐาน


  1. มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
  2. มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะอย่างชัดเจนตามประเด็น  ที่กำหนดใน ข้อ 1
  3. มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง(Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1
  4. มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ
  5. มีการกำกับ ติดตาม การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในข้อ 4 ไปใช้ในการปฏิบัติจริง
  6. มีองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้อย่างน้อย 1 ประเด็น และเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)  

เกณฑ์การประเมิน

มีการดำเนินการ 1 ข้อ

มีการดำเนินการ 2 ข้อ

มีการดำเนินการ 3 ข้อ

มีการดำเนินการ 4-5 ข้อ

มีการดำเนินการ 6 ข้อ

6 ข้อ

6 ข้อ

6 ข้อ

บรรลุ

5

6 ข้อ

จุดแข็ง

- มีการกำหนดประเด็นความรู้ มีกลุ่มเป้าหมาย และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย และรวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมีการกำกับ ติดตาม การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง


จุดที่ควรพัฒนา

-


ข้อเสนอแนะ

-


นางสาวนภัสนันท์ ชัยภักดี 053-88-5954
นายปรัชญา ไชยวงศ์ 053-88-5950

มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน

ผลการดำเนินงาน


สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการกำหนดประเด็นในแผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในระบบการบริหารจัดการวิจัยและบริการวิชาการ  ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถาบันวิจัยและพัฒนา  ในหัวข้อ “แนวปฏิบัติที่ดีในการขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา” โดยมีเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร บุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา อาจารย์ บุคลากร และบุคลากรจากหน่วยงานอื่นที่สนใจร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และได้แนวปฏิบัติ/คู่มือ/แนวทางในการขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น  (1.4-1-1) 

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-1-1 แผนการจัดการความรู้ (KM) ของสถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีงบประมาณ 2565

มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะอย่างชัดเจนตามประเด็น ที่กำหนดใน ข้อ 1

ผลการดำเนินงาน


ในแผนการจัดการความรู้ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดการองค์ความรู้ คือ บุคลากรภายในสถาบันวิจัยและพัฒนา  และ หน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ  ได้แลกเปลี่ยนความรู้และได้แนวปฏิบัติที่ดีในการขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการองค์ความรู้ โดยได้แบ่งภาระหน้าที่เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรม (1.4-2-1) ตามแผนการจัดความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2565 (1.4-2-2)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-2-1 คำสั่งสถาบันวิจัยและพัฒนา เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ (KM)
1.4-2-2 แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ประจำปี การศึกษา 2565

มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit nowledge) เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1

ผลการดำเนินงาน


ในการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2565 ได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “แนวปฏิบัติที่ดีในการขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา” (1.4-3-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-3-1 ผลการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) ของสถาบันวิจัยและพัฒนา

มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ

ผลการดำเนินงาน


จากการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ตามแผนการจัดการความรู้ (KM) ซึ่งในแต่ละครั้งได้บันทึกความรู้รายงานผลต่อผู้บริหาร รวบรวมเป็นรายงานผลการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้และได้มีการสกัดความรู้ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยจัดทำเป็นอินโฟกราฟิกสรุปผล KM (1.4-4-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-4-1 Infographic สรุปผล KM

มีการกำกับ ติดตาม การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในข้อ 4 ไปใช้ในการปฏิบัติจริง

ผลการดำเนินงาน


ภายหลังจากดำเนินกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ
ได้ทำการประเมินความรู้ความเข้าใจจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ก่อนการเข้าร่วมการจัดการความรู้บุคลากรมีความรู้อยู่ในระดับน้อยและหลังการเข้าร่วมการจัดการความรู้มีความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก (1.4-5-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-5-1 ผลการประเมินความรู้ความ เข้าใจก่อนและหลังการเข้าร่วม กิจกรรมการจัดการความรู้ (KM)

มีองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้อย่างน้อย 1 ประเด็น และเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)

ผลการดำเนินงาน


มีการนำองค์ความรู้ที่ได้เผยแพร่บนเพจ เว็บไซน์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อให้บุคลากรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ (1.4-6-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
1.4-6-1 การเผยแพร่สรุปกิจกรรม KM บนเว็บไซน์ ของ สถาบันวิจัย และพัฒนา https://www.ird.cmru.ac.th /research65/?op=activities& act_id=13

ระบบบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ
หน่วยงานสนับสนุน

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีประมาณ 2563

สถาบันวิจัยและพัฒนา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561, สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่