พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
0-5388-5900
โทรสาร
0-5388-5900
งานสำนักหอสมุด ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านการผลิตบัณฑิต เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและทันสมัย ในการสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัย และบริการวิชาการแก่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและ ชุมชนท้องถิ่น ด้วยการดำเนินงานตามระบบและกลไกด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
เกณฑ์มาตรฐาน
1. มีแผนบริการสำนักหอสมุด แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนการใช้พื้นที่ ที่มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ทันสมัย
2. มีการดำเนินงานตามแผน ร้อยละ 80
1. สำนักหอสมุดมีการดำเนินการแผนบริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568) โดยในปีงบประมาณ 2565 มีโครงการตามแผนบริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568) ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 18 โครงการ ดำเนินการทั้งหมด 18 โครงการ คิดเป็น ร้อยละ 100 (เอกสารหมายเลข 2.10-2-1 หน้า 4 - 23)
รายชื่อโครงการที่ดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 มีดังนี้
2. สำนักหอสมุดมีการดำเนินการแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567)
โดยในปีงบประมาณ 2565 มีโครงการตามแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567) ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 23 โครงการ ดำเนินงานทั้ง 23 โครงการ คิดเป็น ร้อยละ 100 ดังนี้ (เอกสารหมายเลข 2.10-2-2 หน้า 6 - 19)
3. สำนักหอสมุดมีการดำเนินการแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570) โดยในปีงบประมาณ 2565 มีโครงการตามแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570) ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 2 โครงการ ดำเนินงานทั้ง 2 โครงการคิดเป็น ร้อยละ 100 ดังนี้ (เอกสารหมายเลข 2.10-2-3)
3. มีการติดตามและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผน
สำนักหอสมุดมีการดำเนินการติดตามแผนต่างๆ โดย
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี สำนักหอสมุด (เอกสารหมายเลข 2.10-3-1) โดยมีการจัดประชุมติดตามแผนเป็นรายไตรมาส ดังนี้
1. แผนบริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568) มีการติดตามและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนโดยมีผลการติดตามดังนี้
(เอกสารหมายเลข 2.10-3-7 หน้า 31 - 34)
2. แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2567) มีการติดตามและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนโดยมีผลการติดตามดังนี้
(เอกสารหมายเลข 2.10-3-3 หน้า 20 - 22)
3. แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570) มีการติดตามและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนโดยมีผลการติดตามดังนี้
(เอกสารหมายเลข 2.10-3-4 หน้า 15 - 18)
4. มีการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ
สำนักหอสมุดได้ดำเนินการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีการประเมินความพึงพอใจทุกกิจกรรมที่ดำเนินการตลอดทั้งปี ดังนี้
ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.29 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-1)
ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.15 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-2)
ลำดับ |
ชื่อหลักสูตร |
ระดับ |
ค่าเฉลี่ย |
1 |
มาก |
4.39 |
|
2 |
มาก |
4.36 |
|
3 |
การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการใช้งาน SSL-VPN |
มาก |
4.41 |
4 |
มาก |
4.31 |
|
5 |
โปรแกรมจัดการบรรณานุกรมสำเร็จรูป (Zotero) และการเขียนอ้างอิงเอกสารทางวิชาการ |
มาก |
4.48 |
6 |
มาก |
4.40 |
|
7 |
มาก |
4.17 |
|
8 |
มาก |
4.29 |
|
9 | Gale Empowering Research | มาก | 4.28 |
10 | การสืบค้นสารสนเทศด้านคหกรรมศาสตร์ | มาก | 3.99 |
|
รวมฉลี่ย |
มาก |
4.31 |
โดยแบบประเมินความพึงพอใจประกอบไปด้วยข้อคำถามที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้
ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.31 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-3 หน้า 4)
ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 5.00 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-4)
ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.12 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-5)
ลำดับ |
ความพึงพอใจต่อบริการอิเล็กทรอนิกส์ |
ระดับ |
ค่าเฉลี่ย |
1 |
มาก |
4.48 |
|
2 |
มาก |
4.52 |
|
3 |
มาก |
4.28 |
|
4 |
มาก |
4.29 |
|
5 |
มาก |
4.34 |
|
6 |
มาก |
4.46 |
|
7 |
มาก |
4.31 |
|
8 |
มาก |
4.36 |
|
|
รวมฉลี่ย |
มาก |
4.38 |
ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.38 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-6)
ลำดับ |
ความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศ |
ระดับ |
ค่าเฉลี่ย |
1 |
มาก |
4.29 |
|
2 |
มาก |
4.10 |
|
3 |
มาก |
4.21 |
|
4 |
มาก |
3.90 |
|
5 |
มาก |
4.20 |
|
6 |
มาก |
4.19 |
|
7 |
มาก |
3.96 |
|
รวมฉลี่ย |
มาก |
4.12 |
ผลการประเมินพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.12 (เอกสารหมายเลข 2.10-4-7)
5. มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนางานในปีถัดไป
สำนักหอสมุด มีการดำเนินการตามแผนงานต่างๆ มีการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการรับฟังเสียงของผู้ใช้บริการ (Voice of Customers) ของสำนักหอสมุด และได้มีการดำเนินการนำผลการประเมิน และการรับฟังเสียงของผู้ใช้บริการมาประกอบในการจัดทำแผนบริการสารสนเทศระยะ 5 ปี แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ 5 ปี และแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ระยะ 6 ปี
สำนักหอสมุดมีการติดตามการทำงานของแผนงานต่างๆ ตลอดปีงบประมาณ ดังผลการติดตามการดำเนินงานตามแผนต่างๆ ข้างต้นและสำนักหอสมุด มีการดำเนินการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการตลอดปีงบประมาณ 2565 และเมื่อนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่างๆ มาวิเคราะห์แล้ว พบว่า สำนักหอสมุดสามารถดำเนินการได้ ตามเป้าหมายที่วางไว้ (ความพึงพอใจระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.40) จำนวน 3 ด้านได้แก่
อย่างไรก็ตาม สำนักหอสมุด ยังต้องพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ คือได้รับความพึงพอใจ มากกว่า หรือ เท่ากับ 4.40 ทุกด้าน โดยเฉพาะด้าน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาความต้องการและความพึงพอใจผู้ใช้บริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565 (เอกสารหมายเลข 2.10-5-1) เมื่อพิจารณาข้อคิดเห็นในส่วน ความต้องการ ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุงในด้านต่างๆ พบว่า มีความต้องการ ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุงในด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก สูงที่สุด จำนวน 325 ความคิดเห็น คิดเป็นร้อยละ 41.51 ของความคิดเห็นทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับความพึงพอใจความต้องการของผู้ใช้บริการด้านความพึงพอใจด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.07 ถึงแม้จะอยู่ในระดับมาก แต่เป็นด้านที่สำนักหอสมุดยังคงต้องให้ความสำคัญและพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยความคิดเห็นเกี่ยวกับ ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกนั้น ผู้ใช้บริการให้ ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุง เช่น
สำหรับ ความต้องการ ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุงในด้านต่างๆ ถัดมาคือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ / ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ มีจำนวน 118 ความคิดเห็น คิดเป็นร้อยละ 15.07 ของความคิดเห็นทั้งหมด โดยผู้ใช้บริการให้ ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุง มาเช่น
ในส่วนของการสำรวจความไม่สะดวกหรือความไม่พอใจในการใช้บริการห้องสมุด พบว่า ผู้ใช้บบริการ หาหนังสือบนชั้นไม่พบ มากที่สุด จำนวน 262 คน คิดเป็นร้อยละ 34.43 รองลงมาคือ การสแกนบัตรผ่านเข้า - ออกห้องสมุดยาก จำนวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 29.70 ปลั๊กไฟไม่เพียงพอ จำนวน 220 คน คิดเป็นร้อยละ 28.91 รวมถึง ผู้ใช้บริการเสียงดัง และ ที่นั่งอ่านหนังสือไม่เพียงพอ จำนวน 159, 152 คน คิดเป็นร้อยละ 20.89 และ 19.97 ตามลำดับ
ดังนั้น เมื่อทำการวิเคราะห์ผลการศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดแล้วนั้น คณะกรรมการจัดทำแผนฯ ได้มีการพัฒนาโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และเพื่อพัฒนาสำนักหอสมุดให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ โดยบรรจุโครงการต่างๆ ไว้ในแผนต่างๆ ดังนี้
1. โครงการพัฒนาพื้นที่ Co-Working Space
1.1 ปรับปรุงพื้นที่ให้บริการยืม – คืน
1.2 เพิ่มจุดให้บริการ Edutainment Zone (ห้องดูหนัง)
2. โครงการส่งเสริมการใช้สำนักหอสมุด ศูนย์แม่ริม
2.1 กิจกรรมการประกวดคลิปวิดีโอ “รักสะลวง รักสำนักหอสมุด ศูนย์แม่ริม” ส่งเสริมให้ผู้ใช้รู้จักห้องสมุดศูนย์แม่ริม ซึ่งมีพื้นที่นั่งอ่านและพื้นที่ให้บริการเป็นจำนวนมาก
3. โครงการ CMRU Library Safe Zone
3.1 ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ เพื่อลดฝุ่น PM 2.5
4. โครงการออกแบบบริการโดยผู้ใช้มีส่วนร่วม เพื่อห้องสมุดจะสามารถพัฒนาบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
5. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับการศึกษาค้นคว้าและวิจัยสำหรับผู้ใช้บริการ (Smart Learners & Smart Users) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี งบประมาณ 2566 สำนักหอสมุดได้ นำผลการประเมินของผู้เข้าร่วมอบรมมาปรับปรุงหลักสูตรการอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ/ผู้เข้ารับการอบรมมายิ่งขึ้นและขยายหลักสูตรเพื่อให้ครอบคลุมผู้ใช้ระดับบัณฑิตศึกษา เช่น มีการเพิ่มหลักสูตรต่างๆ ดังนี้
(เอกสารหมายเลข 2.10-5-2)
(เอกสารหมายเลข 2.10-5-3)
1. โครงการพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (Learning Space)
1.1 ปรับปรุงพื้นที่ให้บริการยืม – คืน
1.2 เพิ่มจุดให้บริการ Edutainment Zone (ห้องดูหนัง)
2. โครงการ CMRU Library Safe Zone
2.1 ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ เพื่อลดฝุ่น PM 2.5
3. โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ทันสมัย
3.1 ปรับปรุงจุดเสียบปลั๊กไฟ
4. โครงการพัฒนาพื้นที่ให้ประหยัดพลังงาน
4.1 เปลี่ยนหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน (ศูนย์แม่ริม)
4.2 ติดตั้งไฟกระตุกในพื้นที่ให้บริการ (เวียงบัว)
(เอกสารหมายเลข 2.10-5-4)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5900 โทรสาร 0-5388-5900