พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
0-5388-5900
โทรสาร
0-5388-5900
คุณภาพของการศึกษาจะเกิดขึ้นถ้าหน่วยงานมีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีความรักองค์กร มุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานที่กำหนด ผู้บริหารมีการมอบหมายงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาตามศักยภาพ ความถนัด ความสนใจของแต่ละบุคคล บุคลากรทุกระดับ มีความพึงพอใจในการทำงาน มีการพัฒนาบุคลากรตามสาขาวิชาชีพ และหาวิธีการที่จะธำรงรักษาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพให้อยู่กับองค์กรตลอดไป
บุคลากรสายสนับสนุน หมายถึง บุคลากรประจำทั้งหมด ที่มีสัญญาจ้างกับหน่วยงานทั้งปีงบประมาณ
เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
เอกสารหลักฐานการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาบุคลากร
มีแผนพัฒนาบุคลากร
มีแผนพัฒนาบุคลากร
สำนักหอสมุดได้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรร่วมกันระหว่างผู้บริหารและบุคลากรของสำนักหอสมุด เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักหอสมุด ที่กำหนดให้บุคลากรทุกคนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถในด้านการปฏิบัติงาน โดยแผนพัฒนาบุคลากร ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “บุคลากรมีจิตบริการ สามัคคี มีความสุข ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง” มีพันธกิจ 3 ข้อ ได้แก่
1. พัฒนาบุคลากรให้มีจิตบริการ สมรรถนะและทักษะทางวิชาชีพ
2. ส่งเสริมให้บุคลากรมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
3. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในการเรียนรู้และก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่
1. เพื่อให้บุคลากรมีศักยภาพในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามพันธกิจของสำนักหอสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. เพื่อให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และเป็นองค์กรแห่งความสุข
3. เพื่อให้บุคลากรมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพทันต่อการเปลี่ยนแปลง
และมีประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ |
เป้าประสงค์ |
ตัวชี้วัด |
กลยุทธ์ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาบุคลากรให้มีจิตบริการ สมรรถนะและมีทักษะทางวิชาชีพ |
บุคลากรมีจิตบริการ สมรรถนะและมีทักษะทางวิชาชีพ |
ร้อยละของบุคลากรที่มีสมรรถนะตรงตามมาตรฐานตำแหน่ง |
1. พัฒนาบุคลากรทุกคนให้มีจิตบริการ |
2. พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตามตำแหน่งงานและมีทักษะวิชาชีพ |
|||
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ
|
บุคลากรมีศักยภาพในการปฏิบัติงานและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ |
ผลการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากร |
1. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงาน |
2. พัฒนาให้บุคลากรมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพทันต่อการเปลี่ยนแปลง |
|||
3. พัฒนาสำนักหอสมุดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ |
|||
4. พัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ |
|||
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลาก |
บุคลากรมีความสุขในการทำงาน |
ระดับความสุขของบุคลากร |
1. สร้างแรงจูงใจในการทำงาน |
2. พัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็นองค์กรแห่งความสุข |
(เอกสารหมายเลข 1.6-1-1 และ 1.6-1-2)
อีกทั้ง สำนักหอสมุด ได้มีการกำหนดความรับผิดชอบรายบุคคลและนำไปจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) สายสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ 2565-2570 สำหรับบุคลากรสำนักหอสมุด
(เอกสารหมายเลข 1.6-1-3)
มีการดำเนินการหรือกิจกรรมที่สร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักหอสมุด ได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. จัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยจัดสรรของขวัญปีใหม่ให้แก่บุคลากร ทำให้บุคลากรเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน (เอกสารหมายเลข 1.6-4-1)
2. จัดพิธีทำบุญสำนักหอสมุด ประจำปี 2565 ชั้น 8 อาคารสำนักหอสมุด ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 (เอกสารหมายเลข 1.6-4-2)
3. จัดเลี้ยงอาหารแก่บุคคลกร เนื่องในโอกาสจากผ่านการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยความร่วมมือของบุคลกรสำนักหอสมุดทุกคน (เอกสารหมายเลข 1.6-4-3)
4. การแสดงรายชื่อบุคลากรที่ได้รับผลการประเมินในระดับดีเด่นและดีมาก เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบโดยทั่วกัน (เอกสารหมายเลข 1.6-4-4)
5. เข้าร่วมงานแสดงมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2565 ทำให้เกิดความรู้สึกดีและมีความมั่นคงในการทำงาน เนื่องจากบุคลากรทุกคนต้องทำงานถึงเกษียณอายุราชการ ดั่งเรือชนะคลื่น ที่มีการจัดงานแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุราชการเป็นประจำทุก ๆ ปี (เอกสารหมายเลข 1.6-4-5)
6. ร่วมแสดงความยินดีกับ นางสาวสุรดา ปฐวีวิจิตร ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ สำเร็จการศึกษาปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เอกสารหมายเลข 1.6-4-6)
7. ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สำนักหอสมุด ได้มีการจัดพื้นที่ให้ภายในอาคาร โดยการติดตั้งจุดวัดอุณหภูมิ ติดตั้งผนังกั้นระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และเว้นระยะห่างพื้นที่นั่งอ่าน มีจุดบริการเจลล้างมือ/แอลกอฮอล์ การพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อทำความสะอาดพื้นที่ และภายในลิฟต์โดยสาร รวมถึงการทะเบียนไทยชนะ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และทำให้บุคลากรมีความปลอดภัยจากการปฏิบัติงาน (เอกสารหมายเลข 1.6-4-7)
8. การช่วยเหลือบุคลากรสำนักหอสมุดในด้านสวัสดิการ เช่น การเข้าเยี่ยมบุคลากรที่ป่วยหรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งให้กำลังใจบุคลากรผ่านกลุ่ม Line สำนักหอสมุด เป็นต้น (เอกสารหมายเลข 1.6-4-8)
มีการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
มีการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
สำนักหอสมุด เห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มอบหมายให้ อาจารย์ปิยวดี นิลสนธิ รองผู้อำนวยการฝ่ายงานบริหารทั่วไป ทำหน้าที่กำกับ ดูแลงานด้านบริหารงานบุคคล (เอกสารหมายเลข 1.6-2-1) โดยได้มีการบริหารงานให้เป็นไปตามกลยุทธ์ของแผนพัฒนาบุคลากร และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักหอสมุด ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรตามตำแหน่งงาน จึงได้ส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากร เข้าร่วมประชุม สัมมนา ฝึกอบรม และเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการภายในประเทศ สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานตามตำแหน่ง โดยได้มีการจัดสรรงบประมาณให้บุคลากรทุกคน ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาบุคลากรทุกคนให้มีจิตบริการ
สำนักหอสมุด สนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาการบริหารลูกค้าสัมพันธ์สำหรับลูกค้าของห้องสมุด (CRM) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ในรูปแบบออนไลน์ จัดโดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (เอกสารหมายเลข 1.6-2-2)
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตามตำแหน่งงานและมีทักษะวิชาชีพ
สำนักหอสมุด มีนโยบายการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรตามตำแหน่งงาน จึงได้ส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากร เข้าร่วมประชุม สัมมนา ฝึกอบรม และเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการภายในประเทศ สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานตามตำแหน่ง โดยได้มีการจัดสรรงบประมาณให้บุคลากรทุกคน (เอกสารหมายเลข 1.6-2-3 และ 1.6-2-4)
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงาน
สำนักหอสมุด ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงาน ดังนี้
- เข้ารับการอบรมการใช้โปรแกรม Copyleaks เพื่อตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 วิทยากรโดย คุณศุทธภา ธามไกวัล บริษัทโอเพ่นเซอร์วิสดาต้า จำกัด และคุณมนฑกานติ จันทรวรินทร์ จากบริษัท EBSCO
- เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET 2022 ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 5-7 มกราคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ จัดโดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET)
- เข้ารับการอบรมในโครงการพัฒนาบุคลากร เรื่อง ยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในวันที่ 23 เมษายน 2565 ในรูปแบบออนไลน์ จัดโดย กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- เข้าร่วมการสัมมนาเครือข่ายสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือ 8 แห่ง ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม 2565 จัดโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- เข้าร่วมการเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและความท้าทาย" เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ จัดโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
- เข้าร่วมโครงการ “เปิดโลกการเรียนรู้ยุคดิจิทัลผ่าน e-Book” เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ จัดโดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
- เข้าร่วมการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน (หัวหน้างาน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ในวันที่ 18 มิถุนายน 2565 จัดโดย กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ สำนักหอสมุด ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง ดังนี้
- กิจกรรมเติมเต็มความรู้ หัวข้อ Road to Smart Library ในวันที่ 13 มิถุนายน 2565 วิทยากรโดย คุณฐิติมา เธียรอนันตกุล รองผู้อำนวยการสายบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- จัดการอบรมภาษามือ...สื่อสารอย่างไรให้ปัง ในวันที่ 23 มีนาคม 2565 ณ ประชุมเอื้องสายเชียงใหม่ ชั้น 8 สำนักหอสมุด วิทยากรโดย อาจารย์วีรยุทธ สุภารส อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "How to การสร้างภาพลักษณ์องค์กร" ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 วิทยากรโดย อาจารย์ ดร. กิตติยา สุทธิประภา กลุ่มวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(เอกสารหมายเลข 1.6-2-5 และ 1.6-2-6)
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาให้บุคลากรมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพทันต่อการเปลี่ยนแปลง
สำนักหอสมุด ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีการดำเนินงานวิจัยและจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน ได้แก่
1) งานวิจัยเรื่อง พิพิธภัณฑ์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยนายพิสิฐ ศรีใจภา (เอกสารหมายเลข 1.6-2-7)
2) งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรม สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดย นางสาวอรวรา ใสคำ (เอกสารหมายเลข 1.6-2-8)
3) งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลพัสด ครุภัณฑ์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยนางเสาวนีย์ สุริยะเจริญ (เอกสารหมายเลข 1.6-2-8)
4) งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาสรรถนะของบรรณารักษ์แห่งยุคศตวรรษที่ 21 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยนางธญา ตันติวราภา (เอกสารหมายเลข 1.6-2-8)
5) คู่มือปฏิบัติงานเรื่อง การลงรายการระบบจัดเก็บเอกสารคลังปัญญาสถาบันมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยนางธญา ตันติวราภา (เอกสารหมายเลข 1.6-2-9)
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาสำนักหอสมุดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
สำนักหอสมุด มีนโยบายนำการจัดการความรู้ (KM) มาใช้เพื่อการพัฒนางานและบุคลากร โดยได้นำองค์ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน มานำเสนอให้แก่เพื่อนร่วมงาน และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนางานของตนเอง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักหอสมุดมีแนวปฏิบัติที่ดีอย่างต่อเนื่อง เกิดพลวัตของการเรียนรู้มุ่งเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่
(1) สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการพัฒนาบุคลากร Training Report (กลุ่มงานบริหาร)
(2) POP บริหารโครงการแบบมืออาชีพ (กลุ่มงานบริหารทั่วไป)
(3) ลงรายการ CMRUIR สุดต๊าซ ด้วยเทคนิคสุดจึ้ง (กลุ่มงานพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสนเทศ)
(4) เป็นผู้จัดการประชุมออนไลน์ให้เซียนเหมือนเรียนมา (กลุ่มงานเทคโนโลยีห้องสมุด)
นอกจากนี้ สำนักหอสมุด ได้กำหนดให้มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทักษะและประสบการณ์เกี่ยวกับประเด็นความรู้ โดยได้นำแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง ลงรายการ CMRUIR สุดต๊าซ ด้วยเทคนิคสุดจึ้ง (กลุ่มงานพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสนเทศ) เผยแพร่ในช่องทางต่าง ๆ ได้แก่
1) เผยแพร่ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 หน่วยงาน คือ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา และบัณฑิตวิทยาลัย
2) เผยแพร่คู่มือการใช้งานให้แก่อาจารย์และนักวิจัย บนเว็บไซต์การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด https://www.lib.cmru.ac.th/kmcmrul/
(เอกสารหมายเลข 1.6-2-10 และ 1.6-2-11)
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ
สำนักหอสมุด ได้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ซึ่งนอกจากจะมีกลยุทธ์และโครงการพัฒนาบุคลากรแล้วยังมีแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) สายสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2570 สำหรับบุคลากรสำนักหอสมุด ให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ โดยกำหนดมีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน และงานวิจัย เพื่อใช้ประกอบการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากร (เอกสารหมายเลข 1.6-2-12)
กลยุทธ์ที่ 7 สร้างแรงจูงใจในการทำงาน
สำนักหอสมุด ได้มีการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข โดยได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1) ด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรให้เป็นส่วนหนึ่งของสำนักหอสมุด ผู้บริหารได้เปิดโอกาสให้บุคลากรของสำนักหอสมุด มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
- กำหนดให้บุคลากรเข้าร่วมอบรมการสร้างแรงจูงใจการทำงานด้วยทัศนคติเชิงบวก ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 จัดโดย สภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- กำหนดให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว รวมถึงทำให้สำนักหอสมุดมีสภาพแวดล้อมที่ดี สร้างบรรยากาศและแรงจูงใจในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ (เอกสารหมายเลข 1.6-2-13)
2) ด้านสุขภาพกายและใจ ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรดูแลต้นไม้ภายในอาคาร ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ อีกทั้ง ยังได้จัดกิจกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เป็น Green Library ภายในพื้นที่ให้บริการของสำนักหอสมุด รวมถึงการมอบรางวัล D.I.Y. สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ และรางวัลขวัญใจมหาชนของสำนักหอสมุด ในกิจกรรมงานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ อีกทั้ง ยังร่วมทำบุญทอดผ้าป่าเพื่อสมทบทุนสร้างองค์พระมหาเจดีย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม และถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2565 (เอกสารหมายเลข 1.6-2-14 1.6-2-15 1.6-2-16 และ 1.6-2-17)
กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็นองค์กรแห่งความสุข
สำนักหอสมุด มุ่งพัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็นองค์กรแห่งความสุข เพื่อให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน โดยจัดกิจกรรม 5ส และกิจกรรม Big Cleaning Day ประจำปี 2565 เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น (เอกสารหมายเลข 1.6-2-18)
ในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้มีการส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การแต่งกายชุดพื้นเมืองทุกวันพุธและวันศุกร์ การจัดพิธีทำบุญสำนักหอสมุด ประจำปี 2565 ชั้น 8 อาคารสำนักหอสมุด ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 (เอกสารหมายเลข 1.6-2-19 และ 1.6-2-20)
อีกทั้ง สำนักหอสมุด ได้จัดเลี้ยงอาหารแก่บุคคลกร เนื่องในโอกาสผ่านการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยความร่วมมือของบุคลกรสำนักหอสมุดทุกคน (เอกสารหมายเลข 1.6-2-21)
มีการรายงานผลการเข้ารับการพัฒนาตนเองของบุคลากร
มีการรายงานผลการเข้ารับการพัฒนาตนเองของบุคลากร
สำนักหอสมุด มีนโยบายให้บุคลากรเข้าร่วมประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ดำเนินการรายงานผลการเข้าร่วมกิจกรรมให้ผู้บริหารทราบผ่านระบบรายงานการไปพัฒนาตัวเอง สำนักหอสมุด (Training Report) และให้มีการนำเสนอหรือทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน ในการประชุมบุคลากรของสำนักหอสมุด และนำความรู้ที่ได้มาพัฒนางานของตนเอง และพัฒนางานของสำนักหอสมุด
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีบุคลากรเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการในวิชาชีพ หรือที่มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน จำนวน 24 คน (เอกสารหมายเลข 1.6-3-1 และ 1.6-3-2)
มีการดำเนินการหรือกิจกรรมที่สร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีการดำเนินการหรือกิจกรรมที่สร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักหอสมุด ได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. จัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยจัดสรรของขวัญปีใหม่ให้แก่บุคลากร ทำให้บุคลากรเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน (เอกสารหมายเลข 1.6-4-1)
2. จัดพิธีทำบุญสำนักหอสมุด ประจำปี 2565 ชั้น 8 อาคารสำนักหอสมุด ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 (เอกสารหมายเลข 1.6-4-2)
3. จัดเลี้ยงอาหารแก่บุคคลกร เนื่องในโอกาสจากผ่านการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยความร่วมมือของบุคลกรสำนักหอสมุดทุกคน (เอกสารหมายเลข 1.6-4-3)
4. การแสดงรายชื่อบุคลากรที่ได้รับผลการประเมินในระดับดีเด่นและดีมาก เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบโดยทั่วกัน (เอกสารหมายเลข 1.6-4-4)
5. เข้าร่วมงานแสดงมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2565 ทำให้เกิดความรู้สึกดีและมีความมั่นคงในการทำงาน เนื่องจากบุคลากรทุกคนต้องทำงานถึงเกษียณอายุราชการ ดั่งเรือชนะคลื่น ที่มีการจัดงานแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุราชการเป็นประจำทุก ๆ ปี (เอกสารหมายเลข 1.6-4-5)
6. ร่วมแสดงความยินดีกับ น.ส. สุรดา ปฐวีวิจิตร ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ สำเร็จการศึกษาปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เอกสารหมายเลข 1.6-4-6)
7. การให้บริการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สำนักหอสมุด ได้มีการจัดพื้นที่ให้บริการ โดยการติดตั้งจุดวัดอุณหภูมิ ติดตั้งผนังกั้นระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และเว้นระยะห่างพื้นที่นั่งอ่าน มีจุดบริการเจลล้างมือ/แอลกอฮอล์ การพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อทำความสะอาดพื้นที่ และภายในลิฟต์โดยสาร รวมถึงการทะเบียนไทยชนะ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) (เอกสารหมายเลข 1.6-4-7)
8. การช่วยเหลือบุคลากรสำนักหอสมุดในด้านสวัสดิการ เช่น การเข้าเยี่ยมบุคลากรที่ป่วยหรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งให้กำลังใจบุคลากรผ่านกลุ่ม Line สำนักหอสมุด เป็นต้น (เอกสารหมายเลข 1.6-4-8)
มีการกำกับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงาน นำความรู้และทักษะที่ได้จาก การพัฒนามาใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
มีการกำกับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
สำนักหอสมุด ได้มีการกำกับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการปฏิบัติงานของตนตามตำแหน่ง โดยจัดให้มีกิจกรรม ดังนี้
1. การจัดการความรู้ (KM) โดยมีการนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน มานำเสนอให้แก่เพื่อนร่วมงาน และให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนางานของตนเอง (เอกสารหมายเลข 1.6-5-1) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักหอสมุดมีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่
(1) สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการพัฒนาบุคลากร Training Report (กลุ่มงานบริหาร)
(2) POP บริหารโครงการแบบมืออาชีพ(กลุ่มงานบริหารทั่วไป)
(3) ลงรายการ CMRUIR สุดต๊าซ ด้วยเทคนิคสุดจึ้ง (กลุ่มงานพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสนเทศ)
(4) เป็นผู้จัดการประชุมออนไลน์ให้เซียนเหมือนเรียนมา (กลุ่มงานเทคโนโลยีห้องสมุด)
2. การนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม สัมมนา มาจัดทำเป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน/คู่มือการใช้งาน หรือเอกสารเผยแพร่ ให้แก่ผู้ใช้บริการของสำนักหอสมุด (เอกสารหมายเลข 1.6-5-2) อีกทั้ง ยังสามารถนำมากำหนดเป็นคู่มือการปฏิบัติงานในแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลของสำนักหอสมุดได้ (เอกสารหมายเลข 1.6-5-3)
3. การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรตามเอกสารแสดงภาระงาน (Terms of Reference) ปีละ 2 ครั้ง โดยกำหนดให้มีการรายงานผลการไปพัฒนาตนเองและนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนางาน (เอกสารหมายเลข 1.6-5-4 และ 1.6-5-5) อีกทั้ง กำหนดให้บุคลากรนำความรู้ที่ได้มานำเสนอในการประชุมบุคลากรของสำนักหอสมุด เพื่อให้เพื่อนร่วมงานสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ (เอกสารหมายเลข 1.6-5-6)
มีการประเมินผลความสำเร็จของแผนพัฒนาบุคลากร
มีการประเมินผลความสำเร็จของแผนพัฒนาบุคลากร
สำนักหอสมุดได้มีการประเมินผลความสำเร็จของแผนพัฒนาบุคลากรตามค่าเป้าหมายที่ระบุไว้ในแผน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดเป้าประสงค์ของแผนพัฒนาบุคลากรจำแนกตามยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ รวมตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ 4 ตัวชี้วัด บรรลุผล 3 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 75.00) ไม่บรรลุผล 1 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 25.00)
ประเด็นยุทธศาสตร์ |
ตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ |
ร้อยละ (บรรลุ)
|
|
แผน |
ผล |
||
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาบุคลากรให้มีจิตบริการ สมรรถนะและมีทักษะทางวิชาชีพ (1 เป้าประสงค์ 2 ตัวชี้วัด) |
2 |
2 |
100.00 |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ (1 เป้าประสงค์ 1 ตัวชี้วัด) |
1 |
0 |
0.00 |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ( 1 เป้าประสงค์ 1 ตัวชี้วัด) |
1 |
1 |
100.00 |
รวม |
4 |
3 |
75.00 |
2. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของโครงการในแผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด จำนวน 13 โครงการ/กิจกรรม รวม 13 ตัวชี้วัด บรรลุผล 7 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 53.85) ไม่บรรลุผล 6 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 46.15)
ประเด็นยุทธศาสตร์ |
ตัวชี้วัดของโครงการ |
ร้อยละ (บรรลุ)
|
|
แผน |
ผล |
||
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาบุคลากรให้มีจิตบริการ สมรรถนะและมีทักษะทางวิชาชีพ (6 โครงการ 6 ตัวชี้วัด) |
6 |
3 |
50.00 |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ (4 โครงการ 4 ตัวชี้วัด) |
4 |
2 |
50.00 |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร (3 โครงการ 3 ตัวชี้วัด) |
3 |
2 |
66.67 |
รวม |
13 |
7 |
53.85 |
และผลการประเมินโครงการพัฒนาบุคลากร มีบุคลากรของสำนักหอสมุดได้รับการพัฒนาตนเองตามวิชาชีพและสมรรถนะ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 (เอกสารหมายเลข 1.6-6-1 และ 1.6-6-2)
มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนพัฒนาบุคลากร
มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนพัฒนาบุคลากร
สำนักหอสมุดได้นำผลการดำเนินงานแผนพัฒนาบุคลากรและผลการดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากร (PL.09) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มาทบทวนและปรับปรุงโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตัวชี้วัดในแผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) และแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. โครงการพัฒนาบุคลากรควรให้มีการพัฒนาสมรรถนะตามตำแหน่ง โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP)
2. โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ควรมีการวัดผลโดยการทดสอบ
(เอกสารหมายเลข 1.6-7-1 และ 1.6-7-4)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5900 โทรสาร 0-5388-5900