พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
0-5388-5900
โทรสาร
0-5388-5900
เพื่อให้หน่วยงานมีระบบบริหารความเสี่ยง โดยการบริหารและควบคุมปัจจัยกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงานที่อาจเป็นมูลเหตุของความเสียหาย (ทั้งในรูปของตัวเงิน หรือไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียงและการฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า) เพื่อให้ระดับความเสี่ยง และขนาดของความเสี่ยหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับและควบคุมได้ โดยคำนึงถึงการเรียนรู้วิธีการป้องกันจากการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้า และโอกาสในการเกิดเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสำรองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่าง ๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง และทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ
หมายเหตุ คะแนนการประเมินจะเท่ากับ 0 หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นภายในหน่วยงานในรอบปี การประเมินที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของบุคลากร ผู้รับบริการ หรือต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือต่อความมั่นคงทางการเงินของหน่วยงาน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของหน่วยงาน ในการควบคุม หรือจัดการกับ ความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
เอกสารหลักฐานการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและสำนักงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัย ไปใช้ในการปรับแผนบริหารความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
เกณฑ์มาตรฐาน
หมายเหตุ คะแนนการประเมินจะเท่ากับ 0 หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นภายในหน่วยงานในรอบปี การประเมินที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของบุคลากร ผู้รับบริการ หรือต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือต่อความมั่นคงทางการเงินของหน่วยงาน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของหน่วยงาน ในการควบคุม หรือจัดการกับ ความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
-
-
-
1. หน่วยงานจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลแก่ผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานว่าหน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
มหาวิทยาลัยกำหนดให้ หน่วยงานภายในบริหารจัดการความเสี่ยง ตามประกาศหลักเกณฑ์ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562 ของกระทรวงการคลัง (เอกสารหมายเลข 1.5-1-1)
สำนักหอสมุด ได้ใช้แนวทาง จากกระทรวงการคลังดังกล่าว มาบริหารจัดการความเสี่ยงโดยการบริหารจัดการความเสี่ยงประจำงบประมาณ 2565 ของสำนักหอสมุด มีการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล Committee of Sponsoring of the Treadway Commission : COSO 4 ด้าน คือ
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
3. ความเสี่ยงเรื่องการดำเนินงาน (Operation Risk : OR)
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR)
สำนักหอสมุด มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน มีหน้าที่ ในการ วิเคราะห์ความเสี่ยง วางระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นพร้อมทั้งกำหนดมาตรการแนวทางการแก้ไข ลด และป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงใน 4 ด้านประจำปีงบประมาณ 2565 ดังนี้
ประเภทความเสี่ยง |
โอกาส (L) |
ผล กระทบ (I) |
ระดับคะแนน |
ระดับ |
1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR) |
|
|||
SR1 ยุทธศาสตร์/แผนงานไม่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานกับองค์กร |
1 |
3 |
3 |
ต่ำ |
SR2 แผนกลยุทธ์หน่วยงานไม่สามารถ นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์องค์กร |
1 |
3 |
3 |
ต่ำ |
2) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR) |
|
|||
FR1 การเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่าย |
1 |
3 |
3 |
ต่ำ |
3) ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operation Risk : OR) |
|
|||
OR1 ไม่มีการใช้ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ |
4 |
5 |
20 |
สูงมาก |
OR2 โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากฝุ่นละออง |
4 |
3 |
12 |
สูง |
OR3 การจัดการสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม : กรณีสถานที่นอกอาคารเป็นที่อยู่อาศัยของนกพิราบ |
4 |
4
|
16 |
สูง |
4) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR) |
|
|||
CR1 ไม่รู้เท่าทันกฎหมายใหม่ |
2 |
3 |
6 |
ปานกลาง |
CR2 การทุจริต (ว 105 ข้อ 8) |
1 |
2 |
2 |
ต่ำ
|
2. หน่วยงานจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กร อย่างน้อยประกอบด้วย การมอบหมายผู้รับผิดชอบเรื่องการบริหารความเสี่ยง การกำหนดวัฒนธรรมของหน่วยงานที่ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล
สำนักหอสมุด มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารของหน่วยงาน หัวหน้างานและตัวแทนบุคลากรแต่ละฝ่ายงานเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยได้กำหนดภาระหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน คือ วิเคราะห์ความเสี่ยง และวางระบบการบริหารงานด้านต่างๆ รวมถึงประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งกำหนดมาตรการแนวทางการแก้ไข ลด และป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น (เอกสารหมายเลข 1.5-2-1, 1.5-2-2)
สำนักหอสมุด มีการสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร เรื่องบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักหอสมุด ทุกปี โดยในปีงบประมาณ 2565 ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การทบทวนแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของสำนักหอสมุด ประจำปีงบประมาณ 2565 เมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นวัฒนธรรมขององค์กร โดยให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของสำนัก และมีบุคลากร เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหารสำนักหอสมุดใช้แนวทางการบริหารความเสี่ยง ดังจะเห็นได้จากการตั้งงบประมาณด้านการบริหารความเสี่ยงในทุกปี และการบริหารความเสี่ยงให้เป็นภาระงานของบุคลากร (TOR) เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากรทุกคน เพื่อสนับสนุนให้สามารถดำเนินงานด้านความเสี่ยงเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และรายงานต่อผู้บริหาร บริหารทรัพยากรบุคลากร โดยการเพิ่มความรู้ให้บุคลากร (เอกสารหมายเลข1.5-2-3, 1.5-2-4)
3. หน่วยงานมีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการสื่อสารการบริหารจัดการความเสี่ยงของวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
สำนักหอสมุด ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรใน 4 ประเด็นได้แก่
1. วัตถุประสงค์ด้านกลยุทธ์ (Strategic Objectives)
เพื่อให้ดำเนินการตามกลยุทธ์ของสำนักหอสมุด มีการทบทวนแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงาน และแผนอื่นๆ ของสำนักหอสมุด ให้สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักหอสมุด เพื่อช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย และตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติงานในหน่วยงาน อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี
2. วัตถุประสงค์ด้านการปฏิบัติงาน (Operations Objectives)
เพื่อให้การปฏิบัติงานและป้องกัน ควบคุม เหตุการณ์อันจะเป็นอุปสรรค ต่อการปฏิบัติงาน การบริหารงาน และให้หน่วยงานสามารถดำเนินงานบรรลุตามแผนปฏิบัติการ ตามพันธกิจสำนักหอสมุด
3. วัตถุประสงค์ด้านการรายงานผล (Reporting Objectives)
เพื่อสามารถรายงานผลการดำเนินงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4. วัตถุประสงค์ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Objectives)
เพื่อให้การสอบทานการปฏิบัติงานตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด และให้เป็นตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย
สำนักหอสมุดมีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและบุคลากร เพื่อเป็นการสื่อสารในด้านกระบวนการดำเนินงานแผนบริหารความเสี่ยง และสื่อสารทำความเข้าใจ เป็นในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ดังนี้
1. สำนักหอสมุดได้ ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันอังคาร ที่ 7 ธันวาคม 2564 เพื่อวางนโยบายการในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน และตามพันธกิจหน่วยงาน (เอกสารหมายเลข 1.5-3-3)
2. สำนักหอสมุดได้มีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของสำนักหอสมุด ประจำปีงบประมาณ 2565 เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 สำนักหอสมุดได้เชิญ อาจารย์ณภัค อุทัยมณีรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีประจำวิทยาเขตฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตเชียงใหม่ เป็นวิทยากร ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting (เอกสารหมายเลข 1.5-3-2)
3. สำนักหอสมุดมีการดำเนินการติดตามแผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกิจกรรม ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ ด้านการเงิน ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการปฏิบัติงานตามกฎระเบียบ และรายงานผลการกำกับ ติดตามและผลประเมิน ต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของสำนักหอสมุดและบุคลากรสำนักหอสมุด ในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 และการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 (เอกสารหมายเลข 1.5-3-3, 1.5-3-4)
4. สำนักหอสมุดมี สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ติดตามการดำเนินงานแผนบริหารความเสี่ยง จากแต่ละฝ่ายงาน ของสำนักหอสมุด (เอกสารหมายเลข 1.5-3-5)
5. สำนักหอสมุดได้มีการจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของสำนักหอสมุด ประจำปีงบประมาณ 2565 เมื่อ วันพุธ ที่ 27 กรกฎาคม 2565พ.ศ. 2565 สำนักหอสมุดได้เชิญ อาจารย์ณภัค อุทัยมณีรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีประจำวิทยาเขตฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตเชียงใหม่ เป็นวิทยากร เพื่อทบทวนและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ณ ห้องประชุมเอื้องสายเชียงใหม่ ชั้น 8 อาคารสำนักหอสมุด (เอกสารหมายเลข 1.5-3-6)
6. สำนักหอสมุดได้จัดทำรายงานผลแผนบริหารความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 1.5-3-7)
4. หน่วยงานมีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยง จากประเด็นดังต่อไปนี้
สำนักหอสมุด ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ และจัดประชุมของบุคลากรโดยร่วมกันวิเคราะห์ความเสี่ยง ระบุปัจจัยเสี่ยง ประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง รวมถึงจัดลำดับความเสี่ยงสูงสุด (เอกสารหมายเลข 1.5-4-1) ได้ดังนี้
ความเสี่ยง |
ปัจจัยเสี่ยง |
ความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น |
1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR) |
||
SR1 แผนกลยุทธ์หน่วยงานไม่สามารถนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์องค์กร |
SR1.1 ไม่ได้ทบทวนแผนกลยุทธ์ตามระยะเวลาที่กำหนด |
การดำเนินงานของหน่วยงานไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์มหาวิทยาลัย
|
2) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR) |
||
FR1 การเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่าย |
FR1.1 ไม่ได้มีการกำกับติดตามการเบิกจ่าย |
เป็นปัจจัยทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณของมหาวิทยาลัยอาจไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมาย |
3) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ (Operational Risk : OR) |
||
OR1 ไม่มีการใช้ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ |
OR1.1 ไม่มีผู้เข้าใช้บริการ
|
ใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า |
OR2 โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากฝุ่นละออง |
OR2.1 ฝุ่นละอองภายในอาคาร |
โรคระบบทางเดินหายใจ ,หายใจไม่สะดวก อากาศ อับชื้น |
OR3 การจัดการสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม : กรณีสถานที่นอกอาคารเป็นที่อยู่อาศัยของนกพิราบ |
OR3.1 นกพิราบมาอาศัยบริเวณอาคารสำนักหอสมุด จำนวนมาก |
มีโอกาสที่จะเกิดโรคที่กระทบต่อสุขภาพ |
4) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR) |
||
CR1 ไม่รู้เท่าทันกฎหมายใหม่
|
CR1.1 ไม่ได้รับการฝึกอบรมด้านระเบียบหรือกฎหมายที่เป็นปัจจุบัน |
การดำเนินงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน |
CR2 การทุจริต (ว 105 ข้อ 8)
|
CR2.1 แรงจูงใจ โอกาส ข้ออ้าง |
มหาวิทยาลัยเกิดความสูญเสีย สูญเปล่าทางทรัพยากร |
การประเมินความเสี่ยง
สำนักหอสมุดได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ตามกระบวนการประเมินความเสี่ยง 4 ขั้นตอน ดังนี้
1) การกำหนดเกณฑ์ประเมินความเสี่ยง
กำหนดเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงไว้เป็น 3 ขั้นตอนย่อย ได้แก่
1.1 การกำหนดระดับความเสี่ยง
สำนักหอสมุด ได้กำหนดระดับความเสี่ยง (Degree of Risks)
ซึ่งแสดงถึงระดับความสำคัญในการบริหารความเสี่ยง โดยพิจารณาจากผลคูณของระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) กับระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) ของความเสี่ยงแต่ละสาเหตุ (โอกาส x ผลกระทบ) ซึ่งระดับความเสี่ยงแบ่งตามความสำคัญเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับความเสี่ยง |
ระดับคะแนน |
การยอมรับ |
ความหมาย |
สูงมาก |
20-25 |
ยอมรับไม่ได้ |
ความเสี่ยงที่ต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องบริหารความเสี่ยงทันที |
สูง |
10-19 |
ยอมรับไม่ได้ |
ความเสี่ยงที่ต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องบริหารความเสี่ยงทันที |
ปานกลาง |
4-9 |
ยอมรับได้ |
ความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังซึ่งจะต้องบริหารความเสี่ยงโดยให้ความสนใจ |
ต่ำ |
1-3 |
ยอมรับได้ |
เฝ้าระวังความเสี่ยงที่ใช้วิธีควบคุมปกติไม่ต้องมีการจัดการเพิ่มเติม
|