พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
0-5388-5900
โทรสาร
0-5388-5900
มาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ 3 กำหนดให้หน่วยงานมีการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่หน่วยงานแห่งการเรียนรู้ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้หน่วยงานมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การรวบรวม การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในหน่วยงาน การกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น
แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จหรือ สู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ตามกระบวนการจัดการความรู้ อีกทั้งยังมีคณะกรรมการคอยติดตามผล และวัดผลตามตัวชี้วัดโครงการจัดการความรู้ทุกไตรมาส
ไม่มี
ไม่มี
มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
สำนักหอสมุดได้กำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการบริการ และการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยี (Smart Services & Smart Governance) เป้าประสงค์ที่ 2 มีการบริหารงานเชิงรุกโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Smart Governance)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ของมหาวิทยาลัย พัฒนาระบบการบริหารของมหาวิทยาลัย เป้าประสงค์ที่ 4.1 มหาวิทยาลัยบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักธรรมาภิบาล โดยมีกระบวนการดังนี้
มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะอย่างชัดเจนตามประเด็น ที่กำหนดใน ข้อ 1
สำนักหอสมุด กำหนดให้ชุมชนปฏิบัติแต่ละชุมชนปฏิบัติเป้าหมาย จำนวน 5 ชุมชนปฏิบัติ คือ
กำหนดให้นำองค์ความรู้ที่จำเป็น คือ เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน มาเป็นประเด็นในการจัดการความรู้ในกลุ่มย่อยชุมชนปฏิบัติของแต่ละกลุ่ม โดยกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น โดยนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของแต่ละงาน มุ่งสู่การเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างดีเยี่ยม (เอกสารหมายเลข 1.4-2-1 และเอกสารหมายเลข 1.4-2-2) โดยมีกระบวนการ ดังนี้
กำหนดการพัฒนาความรู้ตามวิธีการ 4 ข้อดังกล่าว ออกมาเป็นกิจกรรมในปฏิทินกิจกรรมการจัดการความรู้สำนักหอสมุด ปี 2564 (เอกสารหมายเลข 1.4-2-3)
มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit nowledge) เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1
สำนักหอสมุดกำหนดให้ มีการแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง เกี่ยวกับประเด็นความรู้ “ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์”ในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.กิจกรรมเสาะหาความรู้ ก่อนเริ่มกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มงาน บุคลากรทุกคน ควรมีความเข้าใจในเรื่องการเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย อีกทั้งยังต้องเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด เช่น เรื่องลิขสิทธิ์ของผลงานวิชาการ หนังสือ ตำรา หรือเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ส่วนบุคคลต่างๆ จึงได้ร่วมกับชมรมห้องสมุดเชียงใหม่ จัดอบรมวันที่ 3 ธันวาคม 2564 เรื่อง “ลิขสิทธิ์กับการให้บริการออนไลน์ของห้องสมุด” วิทยากรโดย : คุณมัญชรี ศรีวิชัย คุณครูบรรณารักษ์ โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม จังหวัดสมุทรปราการ ประธานเครือข่าย PLC ครูบรรณารักษ์แห่งประเทศไทย, ผู้ดูแลกลุ่ม Librarian in Thailand” ออนไลน์ผ่าน Zoom meeting จัดโดย ชมรมห้องสมุด บุคลากรสำนักหอสมุด เข้าร่วมจำนวน 25 คน (เอกสารหมายเลข 1.4-3-1)
2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มงาน ในแต่ละงาน มีจำนวน 5 กลุ่มงาน มีกระบวนการการจัดการความรู้ในชุมชนปฏิบัติ เช่น มีการเล่าเรื่อง การสอนงาน การสาธิต การเป็นพี่เลี้ยง ภายในชุมชนปฏิบัติได้มีการจดบันทึกของคุณลิขิตและสรุปออกมาเป็นแก่นความรู้ ทดลองนำไปใช้และสุดท้ายนำมาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มงานอื่นในกิจกรรม KM Sharing day (เอกสารหมายเลข 1.4-3-2)
3. กิจกรรม “KM Sharing day” โดยกลุ่มงานทั้ง 5 กลุ่มงาน ได้มีการกำหนดประเด็นความรู้ของตนเองแล้วนำเข้ากระบวนการจัดการความรู้และมีการแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มงาน และนำมาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกับชุมชนปฏิบัติอื่น ๆ จำนวน 5 ประเด็นความรู้ จำนวน 5 ครั้ง ดังนี้
1. กลุ่มงานบริหาร
แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการพัฒนาบุคลากร (Training Report)
2. กลุ่มงานเทคโนโลยีห้องสมุด
แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง เป็นผู้จัดการประชุมออนไลน์ให้เซียนเหมือนเรียนมา
3. กลุ่มงานบริหารทั่วไป
แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง POP บริหารโครงการแบบมืออาชีพ
4. งานพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ
แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง ลงรายการ CMRUIR สุดต๊าซด้วยเทคนิคสุดจึ้ง
5. กลุ่มงานบริการสารสนเทศ
แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง สะดวกโอนไหมคะ?
(เอกสารหมายเลข 1.4-3-3)
4. กิจกรรม CMRUL Km day วันที่ 13 มิถุนายน 2565 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Zoom และถ่ายทอดสด ผ่าน KM CMRU facebook มีผู้บริหาร บุคลากรทั้งภายใน บุคคลภายนอกและผู้ที่สนใจ เข้าชม จำนวน 43 คน ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.45) (ตามเอกสารหมายเลข 1.4-3-4)
5. กิจกรรมเติมเต็มความรู้
ประเด็นความรู้เรื่อง “Road to Smart Library” วันที่ 13 มิถุนายน 2565 ผู้แบ่งปันเติมเต็มความรู้ในเรื่องนี้คือ คุณฐิติมา เธียรอนันตกุล รองผู้อำนวยการสายบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บริหารและบุคลากรเข้าร่วมจำนวน 21 คน ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.63) (ตามเอกสารหมายเลข 1.4-3-5)
มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ
เมื่อมีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมพุธสุขสันต์แล้ว สำนักหอสมุด มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ ของชุมชนปฏิบัติ ทั้ง 5 ชุมชนปฏิบัติ 5 ประเด็นความรู้ จากตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบและเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้
3.1 การเผยแพร่กิจกรรม CMRUL KM Day วันที่ 13 มิถุนายน 2565 ในรูปแบบห้องประชุมและออนไลน์ ผ่าน ระบบ Zoom Meeting และถ่ายทอดสด Facebook Live ในกลุ่ม KM CMRU และเพจสำนักหอสมุด เป็นการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีด้าน ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 4 แนวปฏิบัติ ดังนี้
1. แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการพัฒนาบุคลากร” โดย : ชุมชนปฏิบัติงานบริหาร
2. แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “ลงรายการ CMRUIR สุดต๊าซด้วยเทคนิคสุดจึ้ง” โดย : ชุมชนปฏิบัติงานพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ
3. แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “POP บริหารโครงการแบบมืออาชีพ” โดย : ชุมชนปฏิบัติงานบริหารงานทั่วไป
4. แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “เป็นผู้จัดการประชุมออนไลน์ให้เซียนเหมือนเรียนมา” โดย : ชุมชนปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เข้าร่วมงานจำนวน 43 คน
ผลประเมินความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4.45
อุปกรณ์และสื่อที่ใช้ อยู่ระดับ 4.61
เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม อยู่ระดับ 4.58
รูปแบบในการจัดกิจกรรม อยู่ระดับ 4.58
บรรยากาศในการจัดกิจกรรม อยู่ระดับ 4.55
ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ อยู่ระดับ 4.48
การประชาสัมพันธ์ อยู่ระดับ 4.29
ข้อเสนอแนะ
3.2 การเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในกิจกรรม CMRU KM DAY ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วันที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลา 13:00 – 16:30 น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom และถ่ายทอดสด ผ่าน Facebook ในกลุ่ม "KM CMRU" โดยได้เผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในลักษณะการเสวนาเรื่อง “ลงรายการ CMRUIR สุดต๊าซด้วยเทคนิคสุดจึ้ง” ผู้เผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดี คือ นางธญา ตันติวราภา ตำแหน่งบรรณารักษชำนาญการ (เอกสารหมายเลข 1.4-4-4)
มีการกำกับ ติดตาม การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในข้อ 4 ไปใช้ในการปฏิบัติจริง
สำนักหอสมุดแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ โดยมอบหมายให้รองผู้อำนวยการและหัวหน้างาน (CKO และ คุณเอื้อ) ได้เป็นผู้กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการทำกิจกรรมให้สม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยให้ชุมชนปฏิบัติแลกเปลี่ยนภายในกลุ่ม เลือกประเด็นความรู้จากการทำงานเข้าสู่กระบวนการการจัดการความรู้ ภายในกลุ่มโดยการจัดตั้งชุมชนปฏิบัติ 5 ชุมชนปฏิบัติ ในแต่ละชุมชนปฏิบัติมีบุคคลปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการ KM เมื่อผ่านทุกกระบวนการแล้วขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด ได้นำแนวปฏิบัติที่ดีของ “ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์” มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง ในรูปแบบการดำเนินงาน โครงการและการจัดกิจกรรมต่างๆ และใช้วิธี PDCA ให้ได้ซึ่งองค์ความรู้ แนวปฏิบัติที่ดี เกิดกระบวนการทำงานใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ นำมาเสนอเผยแพร่ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามวันเวลาที่สำนักหอสมุด ได้กำหนดในปฏิทินกิจกรรมการจัดการความรู้ (เอกสารหมายเลข 1.4-5-1 และ เอกสารหมายเลข 1.4-5-2) เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่กำหนดแล้ว มีการกำหนดให้บุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว นำแนวปฏิบัติที่ได้จากกระบวนการจัดการความรู้ ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง ดังนี้
1.ชุมชนปฏิบัติงานพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ
แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ลงรายการ CMRUIR สุดต๊าซด้วยเทคนิคสุดจึ้ง เป็นเทคนิคแนวปฏิบัติในการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ที่เน้นให้ผู้ใช้สามารถลงรายการงานวิจัย ได้เองตามมาตรฐานDublin Core Metadata เป็นมาตรฐานการลงรายการเพื่อพรรณนาสารสนเทศดิจิทัลและเพื่อช่วยในการสืบค้นสารสนเทศดิจิทัลรายการนั้น โดยประกอบด้วยชุดข้อมูลย่อย 15 หน่วย ซึ่งระบบนี้ทำให้ลดขั้นตอนการลงรายงาน แม้มือใหม่ ก็สามารถทำได้ ลดปัญหา ลดข้อผิดพลาด ลดเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เอกสารหมายเลข 1.4-5-3)
2. กลุ่มงานบริหาร ได้ต่อยอดการจัดการความรู้ในปี 2564 โดยการเพิ่มเมนูการรายงานผลการไปพัฒนาตัวเอง จากการไปอบรม สัมมนา เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกให้บุคลากรและสะดวกสำหรับผู้บริหารในการตรวจรายงาน ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานรอบที่ 1/2565 และ รอบที่ 2/2565 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงาน สามารถนำข้อมูลในระบบมาใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารได้ทันที โดยมีการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบระบบรายงานภาระงานบุคลากรสำนักหอสมุด (TOR Online) ค่าเฉลี่ย 4.16 (เอกสารหมายเลข 1.4-5-4 และเอกสารหมายเลข 1.4-5-5)**แนบผลประเมินความพึงพอใจการใช้งาน
3. กลุ่มงานงานเทคโนโลยีห้องสมุด ประกอบไปด้วยผู้บริหารและบุคลากรทุกคน ใช้โปรแกรม Zoom meeting ในการทำงานติดตามแผน การประชุมแบบออนไลน์ การอบรมสัมมนา ของสำนักหอสมุดอยู่เป็นประจำองค์ความรู้เรื่อง การจัดประชุมให้เซียนเหมือนเรียนมา นั้น ช่วยในการประหยัดทรัพยากรต่างๆ ได้ดีด้วย เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ ปากกา ดินสอฯลฯ ช่วยให้การทำงานมีความทันสมัย ตอบโจทย์การเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ แม้จะไม่ได้อยู่ในห้องประชุม และมีการประเมินผลการใช้งานหลังจากที่เผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีกิจกรรม KM Sharing day มีคนไปใช้จำนวน 11 คน เช่น การจัดประชุมออนไลน์ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการคนเก่าเล่าเรื่องเชียงใหม่ในความทรงจำ : ครุศาสตร์กับการผลิตครู , ประชุมกรรมการประจำสำนักหอสมุด, ประชุมกลุ่มงานบริหารงานทั่วไป, อบรมออนไลน์ภาษามือสื่อใจ และอบรมอื่นๆ (เอกสารหมายเลข 1.4-5-6และเอกสารหมายเลข 1.4-5-7 )
4.ชุมชนปฏิบัติงานงานบริหารงานทั่วไป ใช้การจัดการความรู้เรื่อง POP การบริหารโครงการแบบมืออาชีพ ในเรื่องของการจัดการงบประมาณปีงบประมาณ 2565 มาใช้ในการติดตามโครงการในแต่ละโครงการของสำนักหอสมุด ให้เป็นปัจจุบันอีกทั้งเจ้าของโครงการสามารถตรวจสอบยอดเงินงบประมาณ ที่เหลือจากการเบิกจ่ายหรือตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้แบบปัจจุบันอีกด้วย ผู้ติดตามโครงการ สามารถติดตามการดำเนินงานของแต่ละโครงการได้ด้วยตนเอง โดยได้ทำประเมินผลการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปปรับใช้ในการทำงาน พบว่า มีผู้บริหารและบุคลากรใช้งานจำนวน 14 คน ในเรื่องการติดตามผลการเบิกจ่ายตามโครงการ (เอกสารหมายเลข 1.4-5-8 และอกสารหมายเลข 1.4-5-9)
มีองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้อย่างน้อย 1 ประเด็น และเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
สำนักหอสมุดเห็นความสำคัญของกระบวนการจัดการความรู้ในองค์กร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้การทำงานที่มีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้สมรรถนะการทำงานของบุคลากรเพิ่มขึ้น และสามารถถ่ายทอด เผยแพร่ วิธีการทำงานใหม่ให้คนอื่น ๆ ได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและมหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดโดยผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ได้กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยให้สมาชิกในกลุ่มมาแลกเปลี่ยนภายในกลุ่ม เลือกประเด็นความรู้จากการทำงานเข้าสู่กระบวนการการจัดการความรู้ภายในกลุ่มโดยการจัดตั้งชุมชนปฏิบัติงงาน 5 ชุมชน ในรูปแบบการดำเนินงานโครงการและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ได้ซึ่งองค์ความรู้ แนวปฏิบัติที่ดี เกิดกระบวนการทำงานใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ จนได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ จำนวน 1 องค์ความรู้ โดยทำการเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้
1.องค์ความรู้เรื่อง ลงรายการ CMRUIR สุดต๊าซด้วยเทคนิคสุดจึ้ง กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เป็นวิธีการเทคนิคการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ในระบบ CMRUIR คลังปัญญาสถาบัน โดยมีคู่มือการใช้งานและมีการอบรมการใช้งานระบบ และมีหน่วยงานภายใน ประกอบด้วย บัณฑิตวิทยาลัย สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา และอาจารย์/นักวิจัย นำคู่มือไปใช้ (เอกสารหมายเลข 1.4-6-1)
2.องค์ความรู้เรื่อง สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการพัฒนาบุคลากร (Training Report) เป็นการรายงานผลการไปอบรมพัฒนาตัวเองของบุคลากรทุกคน ทำให้ผู้บริหารอ่านรายงานได้สะดวก เป็นปัจจุบัน ใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี และเป็นแนวทางการในพัฒนาบุคลากรในทักษะด้านต่างๆ ที่จำเป็น (เอกสารหมายเลข 1.4-6-2)
3.องค์ความรู้เรื่อง เป็นผู้จัดการประชุมออนไลน์ให้เซียนเหมือนเรียนมา นำไปใช้จริงในการประชุม สัมมนา อบรม งานของสำนักหอสมุดแบบออนไลน์ ตอบโจทย์ในช่วงที่ต้อง work form home เนื่องจากโรคระบาด และเป็นองค์ความรู้ที่ตอบโจทย์ในการเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารหมายเลข 1.4-6-3)
4.องค์ความรู้เรื่อง “POP บริหารโครงการแบบมืออาชีพ” เป็นตารางงาน หรือเรียกว่ากระบวนการทำงานใหม่ พัฒนากระบวนการให้มีความเป็นมืออาชีพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตารางดังกล่าว ทุกคนในสำนักหอสมุด สามารถเข้าไปใช้งานได้ โดยตารางจัดทำในรูปแบบ Google sheet โดยมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าไปปรับปรุงข้อมูลการเบิกจ่ายตามโครงการให้เป็นปัจจุบันเสมอ ส่วนบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการสามารถเข้าไปตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการที่ตัวเองรับผิดชอบ ทำให้ทราบผลการเบิกจ่าย ยอดใช้ไป ยอดคงเหลืออย่างเป็นปัจจุบัน (เอกสารหมายเลข 1.4-6-4)
องค์ความรู้ทั้ง 4 เรื่อง ได้ทำการเผยแพร่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้
1.1 เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สำนักหอสมุด www.lib.cmru.ac.th (เอกสารหมายเลข 1.4-6-5)
1.2 เผยแพร่งาน CMRUL KM DAY สำนักหอสมุดวันที่ 13 มิถุนายน 2565 (เอกสารหมายเลข 1.4-6-6)
1.3 เผยแพร่วิธีการใช้งานโดยจัดทำเป็นคู่มือการใช้งาน “ (เอกสารหมายเลข 1.4-6-7)
1.4 เผยแพร่ผ่านงาน CMRU KM day วันที่ 28 มิถุนายน 2565 (เอกสารหมายเลข 1.4-6-8)
องค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวของสำนักหอสมุด ที่เกิดจากตัวบุคคลและภายนอกบุคคล ถือเป็นกระบวนการทำงานใหม่ นวัตกรรมใหม่ โดยมีการประเมินผลจากตัวชี้วัดของแต่ละโครงการตลอดทั้งปีงบประมาณ 2565
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5900 โทรสาร 0-5388-5900