พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
0-5388-5900
โทรสาร
0-5388-5900
หน้าที่หลักของหน่วยงานสนับสนุน คือ การสนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหาร หรือสนับสนุนพันธกิจด้านอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีการกำหนด ทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานดำเนินการสอดคล้องกับพันธกิจหลักของหน่วยงาน และสอดรับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ดังนั้นหน่วยงานต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ตลอดจนมีการพัฒนาแผน กลยุทธ์และแผนการดำเนินงาน เพื่อเป็นแนวทาง ในการดำเนินงาน
ในการพัฒนาแผนกลยุทธ์นอกเหนือจากการพิจารณาอัตลักษณ์หรือจุดเน้นของหน่วยงานแล้วจะต้องคำนึงถึงหลักการอุดมศึกษา กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ของชาติ รวมถึงทิศทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ และสามารถตอบสนองสังคมในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม
แผนกลยุทธ์ หมายถึง แผนระยะยาวที่มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่กำหนดทิศทางการพัฒนาของหน่วยงาน แผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ ผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม กลยุทธ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานควรมีความครอบคลุมทุกภารกิจของหน่วยงาน มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแต่ละกลยุทธ์ และค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้ เพื่อวัดระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ โดยหน่วยงานนำแผนกลยุทธ์มาจัดทำแผนดำเนินงานหรือแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกัน
แผนปฏิบัติการประจำปี หมายถึง แผนระยะสั้นที่มีระยะเวลาในการดำเนินงานภายใน 1 ปี เป็นแผนที่ถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ลงสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานจริงตามกลยุทธ์ ประกอบด้วย โครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องดำเนินการในปีนั้น ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้เหล่านั้นรวมทั้งมีการระบุผู้รับผิดชอบหลักหรือหัวหน้าโครงการ งบประมาณในการดำเนินการ รายละเอียดและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินโครงการที่ชัดเจน
1. มีแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์หรือนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยบุคลากรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วม และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน
แผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์หรือนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยบุคลากรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วม และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน
สำนักหอสมุด มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ.2565- 2570) ที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่มุ่งเน้นพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ซึ่งสำนักหอสมุดได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็น เพื่อให้เชื่อมโยงกับปรัชญา แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565–2570) (เอกสารหมายเลข 1.1-1-1 และ 1.1-1-2)
ความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กับประเด็นยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด
โดยมีกระบวนการที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรสำนักหอสมุดทุกฝ่ายงานและทุกระดับ ดังต่อไปนี้
1. ได้ดำเนินการประชุมจัดทำแผนของสำนักหอสมุด ในวันที่ 17 ธันวาคม 2564 (รอบผู้ทรงฯ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ณ ห้องประชุมเอื้องสายเชียงใหม่ ชั้น 8 สำนักหอสมุด และแบบออนไลน์ โดยได้ดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ดังนี้
1) การเปรียบเทียบแผนและผลการดำเนินงานในแผนยุทธศาสตร์ฯ ย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2562-2564)
2) ความพึงพอใจของตัวชี้วัดต่าง ๆ และข้อเสนอแนะ
3) แผนพัฒนาคุณภาพ Improvement Plan ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
4) แผนอุดมศึกษา ระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
5) ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561
6) แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565–2570)
7) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
8) การประเมินสภาพการณ์ของสำนักหอสมุด (SWOT) ของแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)
(เอกสารหมายเลข 1.1-1-3 ถึง 1.1-1-8)
ทั้งนี้ คณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด ได้ร่วมกันพิจารณาแล้ว มีข้อเสนอแนะดังนี้
1) ควรนำตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสำนักหอสมุดทุกกลุ่ม มาร่วมดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด
2) ควรตรวจสอบระยะเวลาของแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565–2570
3) ควรนำแผนอุดมศึกษา ระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) มาประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด
4) ควรมีการพิจารณาวางแผนการดำเนินงานในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
ในการประชุมดังกล่าวได้มีการบรรยายการจัดทำแผนสำนักหอสมุด โดยคุณกมลวรรณ เปรมเกษม คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นวิทยากร ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ มีผู้เข้าร่วมการดำเนินงาน ประกอบด้วย คณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด รองอธิการบดี ผู้บริหารและบุคลากรสำนักหอสมุด และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และได้จัดทำ SWOT เพื่อหาจุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W) โอกาส (O) และอุปสรรคหรือภัยคุกคาม (T) เพื่อประเมินสถานการณ์ปัจจุบันของสำนักหอสมุด และการจัดลำดับตามความจำเป็นของโครงการและกลยุทธ์ เพื่อให้มีความเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ตามข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สรุปได้ดังนี้
วิสัยทัศน์
“เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทันสมัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา”
วัตถุประสงค์
1. พัฒนาพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Smart Space : Green ,Living, Universal design)
2. พัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็น Smart Library (Smart Service + Smart Governance) โดยมีบริการสารสนเทศที่ทันสมัย มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรรมาธิบาลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานศาสตร์พระราชา (Smart People) เพื่อให้ยกระดับความสามารถของผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกทุกช่วงวัย (All Gen) ให้มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและทันสมัย ในการสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการแก่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนท้องถิ่น
ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็นพื้นที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป้าประสงค์
1. สำนักหอสมุดเป็นพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. สำนักหอสมุดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ การบริหารให้มีคุณภาพและทันสมัย
เป้าประสงค์
1. Smart Services (บริการอัจฉริยะ) การบริการมีคุณภาพและทันสมัย
2. บริหารงานเชิงรุกโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Smart Governance)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานศาสตร์พระราชา
เป้าประสงค์
1. ผู้ใช้บริการได้รับการพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Up-New-Re Skills)
2. ผู้ให้บริการได้รับการพัฒนาทักษะและสมรรถนะตรงตามเป้าหมายยุทธศาสตร์และการพัฒนาแห่งอนาคต
3. ชุมชนผู้ใช้บริการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Smart Learning Community)
(เอกสารหมายเลข 1.1-1-8)
2. ได้ดำเนินการประชุมจัดทำแผนของสำนักหอสมุด ครั้งที่ 2 ในวันที่ 29 ธันวาคม 2564 (รอบบุคลากรสำนักหอสมุด) ณ ชั้น 1 สำนักหอสมุด
คณะกรรมการฯ ประกอบด้วยผู้บริหาร หัวหน้างานและบุคลากร ร่วมกันทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี โดยมีการแบ่งกลุ่มเพื่อทบทวนประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ ของสำนักหอสมุด ประจำปี 2565
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักหอสมุด ได้นำทั้ง 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ โดยแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ได้กำหนดให้รองผู้อำนวยการรับผิดชอบ ดังนี้ (เอกสารหมายเลข 1.1-1-6 และ1.1-1-7)
1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็นพื้นที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทันสมัย (Smart Lifelong Learning Space)
เป้าประสงค์ที่ 1 สำนักหอสมุดฯ เป็นพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (พื้นที่ศูนย์เวียงบัว และศูนย์แม่ริม)
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาพื้นที่ Digital Friendly Space และ Virtual learning space
อาจารย์ ดร.วาสนา สันติธีรากุล รองผู้อำนวยการฝ่ายงานเทคโนโลยีห้องสมุด กำกับดูแล
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาและ/หรือปรับปรุงพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับผู้ใช้ทุกกลุ่ม
อาจารย์ ดร. สุจิรา อัมรักเลิศ รองผู้อำนวยการฝ่ายงานห้องสมุด กำกับดูแล
เป้าประสงค์ที่ 2 สำนักหอสมุดฯ ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ให้ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Environmental Friendly Space (Smart Environmental Control)
อาจารย์ปิยวดี นิลสนธิ รองผู้อำนวยการฝ่ายงานบริหารทั่วไป กำกับดูแล
2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการบริการและการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยี (Smart Services & Smart Governance)
เป้าประสงค์ที่ 1 การบริการมีคุณภาพและทันสมัย
(Smart Services)
กลยุทธ์ที่ 1 นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการ
อาจารย์ ดร.วาสนา สันติธีรากุล รองผู้อำนวยการฝ่ายงานเทคโนโลยีห้องสมุด กำกับดูแล
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพบริการ
อาจารย์ ดร. สุจิรา อัมรักเลิศ รองผู้อำนวยการฝ่ายงานห้องสมุด กำกับดูแล
เป้าประสงค์ที่ 2 สำนักหอสมุดฯ มีการบริหารงานเชิงรุกโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Smart Governance)
กลยุทธ์ที่ 1 บริหารงานเชิงรุกตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
อาจารย์ปิยวดี นิลสนธิ รองผู้อำนวยการฝ่ายงานบริหารทั่วไป กำกับดูแล
3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานศาสตร์พระราชา (Smart Learning community)
เป้าประสงค์ที่ 1 ผู้ใช้บริการได้รับการพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Up-New- Re Skills)
อาจารย์ ดร. สุจิรา อัมรักเลิศ รองผู้อำนวยการฝ่ายงานห้องสมุด กำกับดูแล
เป้าประสงค์ที่ 2 ผู้ให้บริการได้รับการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตและสมรรถนะตรงตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ การพัฒนาและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
อาจารย์ปิยวดี นิลสนธิ รองผู้อำนวยการฝ่ายงานบริหารทั่วไป กำกับดูแล
เป้าประสงค์ที่ 3 ชุมชนผู้ใช้บริการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Smart Learning Community) ตามแนวทางศาสตร์พระราชา
อาจารย์ ดร. สุจิรา อัมรักเลิศ รองผู้อำนวยการฝ่ายงานห้องสมุด กำกับดูแล
หลังจากนั้น ได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัด ในระยะ 6 ปี รวมถึงแผนงาน/โครงการ ในแผนปฏิบัติการประจำปี ผู้รับผิดชอบโครงการและตัวชี้วัด
สำนักหอสมุด ได้นำเสนอ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ ระยะ 6 ปี (พ.ศ.2565-2570) ต่อคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด ในการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด ครั้งที่ 2/2565 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 (เอกสารหมายเลข 1.1-1-9)
2. สำนักหอสมุด ได้ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 และ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมเอื้องสายเชียงใหม่ ชั้น 8 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยร่วมกันพิจารณา/ทบทวนประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัด ในระยะ 6 ปี รวมถึงแผนงาน/โครงการ ในแผนปฏิบัติการประจำปี ผู้รับผิดชอบโครงการและตัวชี้วัด โดยจัดทำเป็นตารางแสดงความรับผิดชอบ (OS Matrix: Owner-Supporter Matrix) ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติจัดสรรงบประมาณ รวมถึงจัดทำแผนกลยุทธ์เพิ่มเติมตามข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด จำนวน 6 แผน ได้แก่
1) แผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570)
2) แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570)
3) แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570)
4) แผนเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567)
5) แผนบริการสำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564-2568)
6) แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570)
และได้นำเสนอคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุดเพื่อให้ความเห็นชอบและให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้ (เอกสารหมายเลข 1.1-1-10 ถึง 1.1-1-16)
และได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 6 ปี (พ.ศ.2565-2570) และแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2565 และรายงานการใช้งบประมาณของสำนักหอสมุดต่อคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด ในการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด ครั้งที่ 3/2565 ในวันที่ 10 มีนาคม 2565 และ การประชุมกรรมการประจำสำนักหอสมุด ครั้งที่ 4/2565 ในวันที่ 24 เมษายน 2565 โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรรมประจำสำนักหอสมุด และนำสู่การปฏิบัติจริง (เอกสารหมายเลข 1.1-1-16 และ 1.1-1-17)
2. มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์อย่างครบถ้วน
มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์อย่างครบถ้วน
สำนักหอสมุด ได้นำแผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ มาแปลงเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำแนกตามยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าหมายของตัวชี้วัดปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หลังจากนั้นร่วมกันกำหนดโครงการ ผู้รับผิดชอบ ตัวชี้วัด งบประมาณ พร้อมทั้งรายละเอียดการดำเนินงานของแต่ละโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย เพื่อทำให้กลยุทธ์มีโครงการรองรับและมีฝ่ายงานที่รับผิดชอบโครงการอย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. โครงการที่ได้รับจัดสรร จำนวน 17 โครงการ ได้แก่
2. โครงการที่ได้รับจัดสรรเพิ่มเติม จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
นอกจากนี้ สำนักหอสมุด ได้จัดปฏิทินการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมสู่การตรวจประเมินความสอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว และเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565
อีกทั้ง สำนักหอสมุด ยังได้ดำเนินงานตามแผนอื่นๆ อีกจำนวน 7 แผน ดังนี้
1) แผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด
2) แผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด
3) แผนกลยุทธ์ทางการเงิน
4) แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว
5) แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพสำนักหอสมุด
6) แผนบริการสำนักหอสมุด
7) แผนเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักหอสมุด
(เอกสารหมายเลข 1.1-2-1 และ 1.1-2-4)
3. มีตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี รวมทั้งค่าเป้าหมายของแต่ละตัวบ่งชี้ เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี
มีตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี รวมทั้งค่าเป้าหมายของแต่ละตัวบ่งชี้ เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี
สำนักหอสมุด มีการกำหนดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ กลยุทธ์ ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด คำอธิบายตัวชี้วัดและวิธีการวัดผลตัวชี้วัด ในแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565–2570) และแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานในแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด ดังนี้
สำนักหอสมุด ได้กำหนดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ กลยุทธ์ ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด คำอธิบายตัวชี้วัดและวิธีการวัดผลตัวชี้วัด แผนอื่น ๆ ของสำนักหอสมุด จำนวน 6 แผน ดังนี้
4. มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงานไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน
มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงานไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน
สำนักหอสมุด แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี และได้นำแผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ มาแปลงเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำแนกตามยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าหมายของตัวชี้วัด หลังจากนั้นร่วมกันกำหนดโครงการ ผู้รับผิดชอบ ตัวชี้วัด งบประมาณ พร้อมทั้งรายละเอียดการดำเนินงานของแต่ละโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ในสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การทบทวนแผนยุทธศาสตร์ ในระหว่างวันที่ 4-6 เมษายน 2565 ณ จังหวัดกระบี่ และถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ สำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 – 2570) ในวันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุมเอื้องสายเชียงใหม่ ชั้น 8 สำนักหอสมุด เพื่อทำให้กลยุทธ์มีโครงการรองรับ และมีฝ่ายงานที่รับผิดชอบโครงการอย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการถ่ายทอดผ่านระบบการสื่อสารภายในองค์กร คือ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และการประชุมทั้ง 4 งาน ทั้งนี้ สำนักหอสมุดได้กำหนดแผนงาน โครงการ เป้าหมายของการดำเนินงาน และงบประมาณ รวมทั้งฝ่ายงานที่รับผิดชอบ มีการมอบหมายให้หัวหน้างานรับผิดชอบตัวชี้วัดในเป้าประสงค์ของ 3 ยุทธศาสตร์ และกำหนดผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดโครงการในแผนยุทธศาสตร์ โดยในแต่ละโครงการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบดำเนินการทุกโครงการ จัดทำเป็นตารางแสดงผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดของโครงการ (OS Matrix) เพื่อให้การบริหารจัดการสำนักหอสมุดบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจหลัก และเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อผู้รับบริการ (นักศึกษา คณาจารย์ บุคคลภายนอก) โดยแจ้งผ่านการประชุมบุคลากรสำนักหอสมุด และได้มีการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่กำหนดไว้ พร้อมกันนี้ให้บุคลากรที่ได้รับผู้ชอบเพิ่มภาระงาน TOR ของบุคลากร สำนักหอสมุด (เอกสารหมายเลข 1.1-4-1 ถึง 1.1-4-5)
5. มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีในข้อ 2
มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีในข้อ 2
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักหอสมุด ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี ดังนี้
สำนักหอสมุด ได้ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานของ 17 โครงการ ในแผนปฏิบัติการประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเมินจากผลการดำเนินงาน 4 ประเด็น คือ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณเชิงคุณภาพ เชิงเวลา (ระยะเวลาในการดำเนินงาน) และเชิงต้นทุน (การใช้งบประมาณ) จำนวน 76 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 73 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 3 ตัวชี้วัด และ สำนักหอสมุดประเมินร้อยละของผลการดำเนินงานที่การบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการประจำปีทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 96.05
อีกทั้ง สำนักหอสมุด ยังได้ดำเนินการตามแผนอื่นๆ จำนวน 7 แผน ดังนี้
1. การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 9 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 8 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 88.89 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 41 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 37 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 4 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 90.24
2. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 4 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 75.00 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 13 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 7 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 87.50
3. การดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ทางการเงินสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ.2565-2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนกลยุทธ์ทางการเงินสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 4 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 75.00 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 4 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลทุกตัวชี้วัด จำนวน 4 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100.00
4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวสำนักหอสมุด จำนวน 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 5 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 4 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัว ชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 80.00 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 20 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลทุกตัวชี้วัด จำนวน 20 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100.00
5. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี พ.ศ.2565-2570 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 2 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 2 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 2 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 0 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100.00 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 5 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 4 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 80.00
6. การดำเนินงานตามแผนบริการสำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564-2568) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนบริการสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 3 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 0 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100.00 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 30 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลทุกตัวชี้วัด จำนวน 30 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100.00
7. การดำเนินงานตามแผนเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 3 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล 2 จำนวน 0 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 60.00 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 34 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 29 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 5 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 85.29
6. มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงานเพื่อพิจารณา
มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงานเพื่อพิจารณา
สำนักหอสมุดมีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด 2 ท่าน ได้แก่ นางกมลวรรณ เปรมเกษม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรพจน์ วีรพลิน และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการรายงานผลการติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุดและแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แล้วรายงานผลการดำเนินงาน รายไตรมาส และได้ดำเนินการติดตามประเมินผลแผนฯ ดังนี้ (เอกสารหมายเลข 1.1-6-1 และ 1.1-6-2)
ครั้งที่ 1 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปีของสำนักหอสมุด ไตรมาสที่ 1 วันที่ 20 มกราคม 2565 (เอกสารหมายเลข 1.1-6-3)
คณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี ได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
1) โครงการ หอจดหมายเหตุ 100 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ มีตัวชี้วัดเชิงปริมาณจำนวนมากซึ่ง ระบุรายละเอียดมากเกินไป อาจส่งผลให้ไม่บรรลุตามเป้า
2) สามารถกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพได้มากกว่าตัวชี้วัดด้านความพึงพอใจ
3) สามารถทำวิจัยสถาบันในเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนการอบรมแบบ Onsite และ Online ที่มีประสิทธิภาพได้
4) สามารถทำวิจัยสถาบันในเรื่องการวิเคราะห์การลดงบประมาณมีผลต่อการทำงานอย่างไร
และนำเสนอผลการติดตามประเมินผลแผนฯ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด ครั้งที่ 1/2565 วันที่ วันที่ 20 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมเอื้องสายเชียงใหม่ ชั้น 8 สำนักหอสมุด และการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom meeting คณะกรรมการประจำสำนักหอสมุดได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
ไม่มีข้อเสนอแนะ มติเห็นชอบ และให้ดำเนินการตามแผน
ในการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปีของสำนักหอสมุด ไตรมาส 2 วันที่ 25 เมษายน 2565 (เอกสารหมายเลข 1.1-6-4)
ครั้งที่ 2 คณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี ได้ร่วมกันพิจารณาและมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
ไม่มีข้อเสนอแนะ มติเห็นชอบ และให้ดำเนินการตามแผน
และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด ครั้งที่ 4/2565 วันที่ 25 เมษายน 2565 ณ ห้องประชุมเอื้องสายเชียงใหม่ ชั้น 8 สำนักหอสมุด และการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom meeting โดยคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุดได้ให้ข้อเสนอแนะ (เอกสารหมายเลข 1.1-6-5) ดังนี้
มีข้อเสนอแนะให้การจัดการแผนยุทธศาสตร์ ควรดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มงบประมาณ เพื่อให้การติดตามแผนต่าง ๆ สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกำหนดเวลา
ครั้งที่ 3 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปีของสำนักหอสมุด วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 คณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี ได้ให้ข้อเสนอแนะ (เอกสารหมายเลข 1.1-6-6) ดังนี้
1. โครงการที่มีการปรับลดงบประมาณ ควรมีการปรับแผนการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ
2. ควรเร่งรัดการดำเนินโครงการที่ไม่เป็นไปตามแผนการเบิกจ่าย ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 4
และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด ครั้งที่ 6/2565 วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุมเอื้องสายเชียงใหม่ ชั้น 8 สำนักหอสมุด และการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom meeting โดยคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด ได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. โครงการ ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ควรขออนุญาตเปลี่ยนแปลงเวลาดำเนินการ เนื่องจากมีการเลื่อนกำหนดการตรวจประเมิน
ครั้งที่ 4 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปีของสำนักหอสมุด วันที่ 17 ตุลาคม 2565 คณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี ได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. เพิ่มรายละเอียดตัวชี้วัดที่ไม่บรรลุของแผนต่าง ๆ ของของสำนักหอสมุด รวมถึงโครงการ/กิจกรรม ที่ดำเนินการปรับลดงบประมาณของสำนักหอสมุด ปีงบประมาณ 2565
และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักหอสมุด ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 17 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมเอื้องสายเชียงใหม่ ชั้น 8 สำนักหอสมุด และการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom meeting (เอกสารหมายเลข 1.1-6-7)
7. มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน เพื่อพิจารณา
มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผน กลยุทธ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงานเพื่อพิจารณา
สำนักหอสมุด ได้ดำเนินการติดตามประเมินผลแผนของสำนักหอสมุด จำนวน 8 แผน ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการประจำปี
2. แผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด
3. แผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด
4. แผนกลยุทธ์ทางการเงิน
5. แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว
6. แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพสำนักหอสมุด
7. แผนบริการสำนักหอสมุด
8. แผนเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักหอสมุด
1. ผลการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการประจำปี สำนักหอสมุด ปีงบประมาณ 2565
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักหอสมุดได้ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานของ 17 โครงการ ในแผนปฏิบัติการประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเมินจากผลการดำเนินงาน 4 ประเด็น คือ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณเชิงคุณภาพ เชิงเวลา (ระยะเวลาในการดำเนินงาน) และเชิงต้นทุน (การใช้งบประมาณ) จำนวน 76 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 73 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 3 ตัวชี้วัด และ สำนักหอสมุดประเมินร้อยละของผลการดำเนินงานที่การบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการประจำปีทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 96.05
2. ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 9 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 8 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 88.89 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 41 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 37 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 90.24) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 4 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 9.76)
3. ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 4 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 75.00 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 13 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 7 ตัวชี้วัด ร้อยละ 53.85 ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 6 ตัวชี้วัด (46.15)
4. ผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ทางการเงินสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ.2565-2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนกลยุทธ์ทางการเงินสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 4 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 75.00) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 25.00) และตัวชี้วัดโครงการ รวม 6 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 2 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 66.67) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 2 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 33.33)
5. ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวสำนักหอสมุด จำนวน 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 5 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 4 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 80.00) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 20.00) และตัวชี้วัดโครงการ รวม 20 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลทุกตัวชี้วัด จำนวน 20 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 100.00)
6. ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี พ.ศ.2565-2570 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพสำนักหอสมุด สำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 2 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 2 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 2 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 0 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100.00 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 5 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 4 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 80.00) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 20.00
7. ผลการดำเนินงานตามแผนบริการสำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564-2568) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนบริการสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 3 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลทุกตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 100.00) และตัวชี้วัดโครงการ รวม 30 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 30 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 100.00)
8. ผลการดำเนินงานตามแผนเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 3 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 60.00) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 2 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 60.00) และตัวชี้วัดโครงการ รวม 34 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 29 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 85.29) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 5 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 14.71)
(เอกสารหมายเลข 1.1-7-1 ถึง 1.1-7-6)
8. มีการนำผลการพิจารณา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำหน่วยงานไปปรับปรุงแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี
มีการนำผลการพิจารณา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำหน่วยงานไปปรับปรุงแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี
สำนักหอสมุด ได้มีคณะกรรมการติดตามแผนฯ เพื่อติดตามการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ ซึ่งจากการติดตามทำให้สำนักหอสมุดได้สร้างความเข้าใจระหว่างเจ้าของโครงการและผู้ติดตามให้ตรงกันว่าในแต่ละตัวชี้วัดมีการติดตามและการวัดความสำเร็จอย่างไร และนำผลของแผนฯ ทบทวนความเหมาะสมของค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดในแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับค่าพื้นฐานหรือค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาในปีถัดไป
นอกจากนี้ สำนักหอสมุด ยังได้จัดทำแผนอื่น ๆ โดยมีคณะกรรมการติดตามแผนฯ เป็นผู้กำกับและติดตาม ดังนี้
1. แผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด
2. แผนกลยุทธ์ทางการเงิน
3. แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว
4. แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพสำนักหอสมุด
5. แผนบริการสำนักหอสมุด
6. แผนเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักหอสมุด
สำนักหอสมุด ได้นำเข้าที่ประชุมกรรมการประจำสำนักหอสมุด ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 14 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมเอื้องสายเชียงใหม่ ชั้น 8 สำนักหอสมุด โดยคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบและให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการประจำปี สำนักหอสมุด ปีงบประมาณ 2565
สำนักหอสมุดได้ดำเนินการการประเมินผลการดำเนินงานของ 17 โครงการ ในแผนปฏิบัติการประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเมินจากผลการดำเนินงาน 4 ประเด็น คือ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณเชิงคุณภาพ เชิงเวลา (ระยะเวลาในการดำเนินงาน) และเชิงต้นทุน (การใช้งบประมาณ) จำนวน 76 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 73 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 3 ตัวชี้วัด และ สำนักหอสมุดประเมินร้อยละของผลการดำเนินงานที่การบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการประจำปีทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 96.05 โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. โครงการที่มีการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน หรือโครงการที่ปรับลดงบประมาณ ให้ระบุเหตุผลลงในช่องหมายเหตุ และให้พิจารณาปรับแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมต่อไป
2. โครงการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ควรขออนุญาตเปลี่ยนแปลงเวลาดำเนินกิจกรรม เนื่องจากมีการเลื่อนกำหนดการประเมิน
3. โครงการที่มีการปรับลดงบประมาณ ควรมีการปรับแผนการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ
2. แผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 9 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 8 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 88.89) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 11.11 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 41 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 37 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 90.24) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 4 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 9.76) โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. บทที่ 2 กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ให้แก้ไขดังนี้
1.1 ตารางที่ 1 แสดงคำชมเชยและสิ่งที่ควรปรับปรุง จำแนกตามคน สถานที่ การบริการ การบริหาร ให้จัดกลุ่มประเด็นที่มีลักษณะเดียวกันเข้าไว้ด้วยกัน และสรุปให้เป็นภาษาเขียน รวมทั้งตัดข้อเสนอแนะที่สำนักหอสมุดไม่สามารถดำเนินการได้ หรือข้อเสนอแนะที่ไม่เกี่ยวข้องกับสำนักหอสมุดออก
1.2 การประเมินสภาพการณ์ของสำนักหอสมุด ให้แก้ไข อุปสรรค T3 จาก “มหาวิทยาลัยจัดสรรงบประมาณน้อย” เป็น “มหาวิทยาลัยจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ” และ อุปสรรค T5 จาก “ผู้ใช้บริการมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตต่ำ” เป็น “ผู้ใช้บริการมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน”
1.3 การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ (TOWS MATRIX) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1-3 ให้แก้ไขคำภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง และให้แก้ไขตรงกันทั้งฉบับ
2. บทที่ 3 สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด ให้แก้ไขดังนี้
2.1 ย่อหน้าที่ 1 ให้แก้ไขจาก “จากการระดมความคิดเห็นในกลุ่มคณะกรรมการบริหารสำนักหอสมุดฯ...” เป็น “จากการระดมความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารสำนักหอสมุดฯ...”
2.2 คำภาษาอังกฤษในวัตถุประสงค์ ให้ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
2.3 ยุทธศาสตร์ที่ 1 ให้แก้ไขจาก “พัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทันสมัย” เป็น “พัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็นพื้นที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทันสมัย”
2.4 ความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ และโครงการของสำนักหอสมุด
1) ยุทธศาสตร์ที่ 2 เป้าประสงค์ที่ 2 ตัวชี้วัดที่ 1 ให้แก้ไขจาก “ค่าเฉลี่ยการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล” เป็น “ค่าเฉลี่ยระดับการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล”
2) ยุทธศาสตร์ที่ 3 เป้าประสงค์ที่ 3 กลยุทธ์ที่ 2 แผนงาน/โครงการที่ 2 ให้แก้ไขจาก “2. โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน” เป็น “2. โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน โดยการอบรมและอื่น ๆ”
3. บทที่ 4 เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด ให้แก้ไขดังนี้
3.1 การตั้งค่าเป้าหมายในแต่ละปี ค่าเป้าหมายควรเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ถ้ามีการตั้งค่าเป้าหมายเท่ากันทุกปี ให้ระบุเหตุผลไว้ เช่น เป็นการวัดค่าเป้าหมายเฉพาะแต่ละปี หรือ เป็นการวัดผลจากผู้ใช้บริการคนละกลุ่ม เป็นต้น
3.2 ควรเพิ่มกิจกรรมที่ทำให้คนรุ่นใหม่สนใจเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น เนื่องจากสำนักหอสมุดมีแผนในการปรับปรุงพื้นที่ และมีทรัพยากรที่พร้อมให้บริการ
4. บทที่ 5 การบริหารแผนสู่การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล ให้ปรับเหลือ 2 หัวข้อ ได้แก่ 5.1 การนำไปสู่การปฏิบัติ และ 5.2 การติดตามและประเมินผล
5. ตรวจสอบรูปแบบการจัดพิมพ์และการจัดลำดับหัวข้อต่างๆ ให้ถูกต้องทั้งฉบับ
6. สำนักหอสมุดควรสรุปประเด็นความต้องการต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการ และนำเสนอให้มหาวิทยาลัยรับทราบ
3. แผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนพัฒนาบุคลากรสำนักหอสมุด 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 4 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 75.00) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 25.00) และตัวชี้วัดโครงการ รวม 8 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 7 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 87.50) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 12.50) โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. โครงการพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตามตำแหน่ง แนะนำให้บุคลากร ควรจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP)
2. โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ควรวัดผลจากการทดสอบ
4. แผนกลยุทธ์ทางการเงินสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี (พ.ศ.2565-2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนกลยุทธ์ทางการเงินสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 4 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 75.00) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 25.00) และตัวชี้วัดโครงการ รวม 4 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลทุกตัวชี้วัด จำนวน 4 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 100.00) โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้
- โครงการแสวงหาทรัพยากรและรายได้เพื่อการพัฒนาสำนักหอสมุด ควรหาวิธีการหารายได้ เช่น การจัดกิจกรรรมต่าง ๆ ที่สามารถสนับสนุนการหารายได้
5. แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวสำนักหอสมุด จำนวน 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 5 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 4 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 80.00) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 20.00) และตัวชี้วัดโครงการ รวม 20 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลทุกตัวชี้วัด จำนวน 20 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 100.00) โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้
- โครงการจัดหาทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์พัฒนาห้องสมุดสีเขียว ควรจัดหาทรัพยากรเกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 300 รายการและจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ
6. แผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพสำนักหอสมุด ระยะ 6 ปี พ.ศ.2565-2570 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพสำนักหอสมุด สำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 2 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 2 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลทุกตัวชี้วัด จำนวน 2 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 100.00) และตัวชี้วัดโครงการ รวม 5 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 4 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 80.00) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 1 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 20.00) โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้
- โครงการใด ๆ หากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ไม่นำมาประเมิน
7. แผนบริการสำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564-2568) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนบริการสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 3 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 0 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100.00 และตัวชี้วัดโครงการ รวม 30 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลทุกตัวชี้วัด จำนวน 30 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 100.00) โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้
- ไม่มีข้อเสนอแนะ
8. แผนเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักหอสมุด ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ในแผนเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักหอสมุด จำแนกตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ จำนวนตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ รวม 3 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 60.00) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 2 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 40.00) และตัวชี้วัดโครงการ รวม 34 ตัวชี้วัด ปรากฏว่าบรรลุผลตามตัวชี้วัด จำนวน 29 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 85.29) ตัวชี้วัดไม่บรรลุผล จำนวน 5 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 14.71) ข้อเสนอแนะดังนี้
- กำหนดตัวชี้วัดสูงเกินไป ควรทบทวนตัวชี้วัด
อีกทั้ง สำนักหอสมุด ผ่านการตรวจประเมินความสอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว และเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565
หมวด ที่ |
รายละเอียด |
คะแนน |
|
คะแนนเต็ม |
คะแนน ที่ได้ |
||
1 |
ทั่วไป |
10 |
10 |
2 |
โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
10 |
9 |
3 |
การจัดการทรัพยากรและพลังงาน |
20 |
20 |
4 |
การจัดการของเสียและมลพิษ |
10 |
9 |
5 |
การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม |
20 |
18 |
6 |
บทบาทของบุคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง |
10 |
9 |
7 |
เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด |
10 |
10 |
8 |
การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว |
10 |
9 |
คะแนนรวม |
100 |
94 |
(เอกสารหมายเลข 1.1-8-1 ถึง เอกสารหมายเลข 1.1-8-8)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5900 โทรสาร 0-5388-5900