พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
053-885985-7
โทรสาร
053-885987
คุณภาพของการศึกษาจะเกิดขึ้นถ้าหน่วยงานมีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีความรักองค์กร มุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานที่กำหนด ผู้บริหารมีการมอบหมายงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาตามศักยภาพ ความถนัด ความสนใจของแต่ละบุคคล บุคลากรทุกระดับ มีความพึงพอใจในการทำงาน มีการพัฒนาบุคลากรตามสาขาวิชาชีพ และหาวิธีการที่จะธำรงรักษาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพให้อยู่กับองค์กรตลอดไป
บุคลากรสายสนับสนุน หมายถึง บุคลากรประจำทั้งหมด ที่มีสัญญาจ้างกับหน่วยงานทั้งปีงบประมาณ
เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
เอกสารหลักฐานการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาบุคลากร
มีแผนพัฒนาบุคลากร
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตัวบ่งชี้นี้ไม่มีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (เอกสารหมายเลข 1.6-1-1) ดังนั้นในปีงบประมาณ 2565 สำนักฯ จึงได้ดำเนินการตามแนวทางพัฒนาบุคลากร ตาม แผนที่ได้ดำเนินการไว้โดยสร้างเป็นแนวทางเสริม ปรากฏในแผนยกระดับคุณภาพการศึกษา (Improvement Plan) ปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 1.6-1-2) โดยผ่านการประชุมร่วมกับผู้บริหารและบุคลากรของสำนักฯ และได้ทำการสำรวจความต้องการไปพัฒนาของบุคลากรของสำนักฯ (เอกสารหมายเลข 1.6-1-3) มาจัดทำเป็นแผนพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 1.6-1-4)สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี (2565 – 2569) (เอกสารหมายเลข 1.6-1-5) ของสำนักฯ และ แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลสายสนับสนุน ที่มหาวิทยาลัยจะดำเนินจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ.2565 – 2570) (เอกสารหมายเลข 1.6-1-6)
มีการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ให้ความสำคัญในการพัฒนาความรู้ ทักษะประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ให้กับบุคลากรในสำนักฯ และบุคลากรภายนอกสำนักฯ สำนักฯ ได้มีการจัดอบรม อาทิเช่น โครงการพัฒนาบุคลากรสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา หัวข้อ “การวิเคราะห์และประเมินค่างานเพื่อกำหนดระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น” ซึ่งวิทยากรเป็นบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์และประเมินค่างานมาก่อน จำนวน 4 ท่าน (เอกสารหมายเลข 1.6-2-1 ถึง 1.6-2-5) นอกจากนี้ยังได้มีการจัดอบรมในหัวข้อ “การทำผลงานวิชาการไม่เป็นไปตามมาตรฐาน” และได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านดังกล่าวมาให้ความรู้ (เอกสารหมายเลข 1.6-2-6 ถึง 1.6-2-9) นอกจากนั้นสำนักฯ ยังได้มีการจัดอบรมเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองโดยจัดอบรมในหัวข้อ การเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร และบุคลากร (เอกสารหมายเลข 1.6-2-10) และยังมีการจัดอบรมเพื่อพัฒนางานด้านอื่น ๆ อีก อาทิเช่น “การดูแลระบบการประชุมผ่านช่องทาง Zoom อย่างมีประสิทธิภาพ” “โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินการเพื่อการจัดการความรู้ (KM) ในหัวข้อ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการเพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากล” “โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี 2565” (เอกสารหมายเลข 1.6-2-11 ถึง 1.6-2-16) นอกจากนี้ยังอนุญาตให้บุคลากรในสำนักฯ ได้เข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ที่ต้องการพัฒนาตนเอง อาทิเช่น “อบรมหลักสูตร เทคนิคการวิเคราะห์งบการเงินเบื้องต้น” “โครงการอบรมหัวข้อ การเพิ่มระดับความปลอดภัยบนเครือข่ายแลนที่ใช้อุปกรณ์ไมโครติกด้วยมาตรฐาน IEEE 802.1X (Layer2 Security in MikroTik-based Networks using IEEE 802.1X)” “อบรมหลักสูตร Practical Data Science and Machine Learning with RapidMiner TurboPrep and AutoModel (Hybrid (onsite + online)) รุ่นที่ 5” ผ่านระบบออนไลน์, อบรมเพื่อพัฒนาความรู้ในหัวข้อ การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน (เอกสารหมายเลข 1.6-2-17 ถึง 1.6-2-20) และมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญกับบุคลากรสายสนับสนุนได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากร สายสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ 2565 เรื่อง “ยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565” ผ่านระบบออนไลน์ (เอกสารหมายเลข 1.6-2-21) และมีการจัดประชุมบุคลากรประจำปี พ.ศ. 2565 (เอกสารหมายเลข 1.6-2-22) นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีการติดตามผลความก้าวหน้าการพัฒนาตนเองตามแผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด (เอกสารหมายเลข 1.6-2-23) ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 บุคลากรสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้เข้าร่วมอบรมและประชุมสัมมนาทั้งแบบออฟไลน์ และออนไลน์ ซึ่งมีทั้งใช้งบประมาณพัฒนาบุคลากร และไม่ใช้งบประมาณ จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 100
มีการรายงานผลการเข้ารับการพัฒนาตนเองของบุคลากร
หลังจากที่บุคลากรของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ไปเข้าร่วมอบรมพัฒนาตนเองแล้ว ได้จัดทำรายงานผลการพัฒนาตนเองแก่ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาทราบ (เอกสารหมายเลข 4.2-3-1 ถึง 4.2-3-9) และได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น
มีการดำเนินการหรือกิจกรรมที่สร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้บริหารและบุคลากรสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษามีกิจกรรมที่สร้างขวัญและกำลังใจเพื่อให้บุคลากรสำนักฯสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. มีการจัดกิจกรรมเลี้ยงฉลองสร้างความสัมพันธ์กันในสำนักฯ (เอกสารหมายเลข 1.6-4-1 ถึง 1.6-4-2)
2. สำนักฯ ได้มีการจัดโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 ณ โรงแรม Panviman Chiangmai Spa Resort อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการจัดประชุมสัมมนานอกสถานที่ ทำให้บุคลากรในสำนักฯ มีความสุขกับกิจกรรมดังกล่าว (เอกสารหมายเลข 1.6-4-3)
3. มีการเลี้ยงฉลองวันเกิด ของนายมารุต เปี่ยมเกตุ หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ (เอกสารหมายเลข 1.6-4-4)
4. อาจารย์ ดร.ทิวาวัลย์ ต๊ะการ รองผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา เลี้ยงเครื่องดื่มบุคลากรสำนักฯ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน (เอกสารหมายเลข 1.6-4-5)
5. สำนักฯ ได้จัดกิจกรรมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการเพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากล ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีร่วมกัน (เอกสารหมายเลข 1.6-4-6)
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีกิจกรรมที่สร้างสายใยให้กับบุคลากรรวมถึงความห่วงใยบุคลากร โดยได้จัดกิจกรรมงานเกษียณอายุราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เอกสารหมายเลข 1.6-4-7)
มีการกำกับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงาน นำความรู้และทักษะที่ได้จาก การพัฒนามาใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้บริหารสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้ดำเนินการ กำกับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
นอกจากนี้ผู้บริหารสำนักฯ ยังส่งเสริมให้บุคลากรในสำนักที่ได้พัฒนาตนเองนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมต่าง ๆ มาพัฒนางาน และปฏิบัติหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. นางสาวรุ่งทิวา กิตติยังกุล นำความรู้ที่ได้รับจากการไปพัฒนาตนเองไปเป็นวิทยากรในงานอบรมต่าง อาทิเช่น ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรมในหัวข้อเรื่อง “การใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสู่นักเรียนในพื้นที่ตำบลกึ้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง การสร้างสื่อการเรียน VDO on Demand ด้วย Canva for Education และ Vidyard” ระหว่างวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงเรียนบ้านเมืองกึ้ด ตำบลกึ้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (เอกสารหมายเลข 1.6-5-2 ถึง 1.6-5-3) นอกจากนี้ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรในกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของนักศึกษาภาควิชาเคมี โดยอบรมในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2565, โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ในหัวข้อเรื่อง “การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาการศึกษา” ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ณ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การออกแบบ สร้างสรรค์ นำเสนองาน จากสื่อห้องสมุดอย่างมืออาชีพสไตล์ CANVA” ในวันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2565 ณ โรงเรียนสันทรายวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (เอกสารหมายเลข 1.6-5-4 ถึง 1.6-5-9)
มีการประเมินผลความสำเร็จของแผนพัฒนาบุคลากร
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้กำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของการไปพัฒนาบุคลากรไว้ว่า บุคลากรของสำนักฯ จะต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ อย่างน้อยร้อยละ 80 ของบุคลากรทั้งหมดของสำนักฯ ในแผนการพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ 2565 ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา (เอกสารหมายเลข 1.6-6-1) ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ระยะ 5 ปี (2565 – 2569) (เอกสารหมายเลข 1.6-6-2) โดยในปีงบประมาณ 2565 ผลการประเมินการเข้าร่วมอบรมพัฒนาตนเอง พบว่า บุคลากรสำนักฯ ได้เข้าร่วมพัฒนาตนเอง คิดเป็นร้อยละ 100 ถือว่าการไปพัฒนาตนเองของบุคลากรสำนักฯ บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (เอกสารหมายเลข 1.6-6-3)
มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนพัฒนาบุคลากร
จากผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยและสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 ได้ติดตามบุคลากรของสำนักฯ ทุกท่านได้ไปพัฒนาตนเองตามแผนครบทุกคนไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเองแบบออนไซต์ หรือออนไลน์ ซึ่งสำนักฯ ยังมีนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมให้บุคลากรของสำนัก อบรมผ่านระบบออนไลน์ เพื่อสุขอนามัยของทุกคนในสำนัก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) ยังไม่คลี่คลาย และในปีงบประมาณ 2566 สำนักฯ ยังมีการสนับสนุนให้บุคลากรในสำนักฯ ได้ไปพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (เอกสารหมายเลข 1.6-7-1 ถึง 1.6-7-2) และได้ทำการสำรวจความต้องการไปพัฒนาบุคลากรของสำนักฯ ปีงบประมาณ 2566 ได้เป็น (ร่าง) แผนพัฒนาบุคลากรของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566-2570 (ปรับปรุง 2566) ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้บริหารของสำนักฯ เรียบร้อยแล้ว (เอกสารหมายเลข 1.6-7-3)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th