พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
053-885985-7
โทรสาร
053-885987
เพื่อให้หน่วยงานมีระบบบริหารความเสี่ยง โดยการบริหารและควบคุมปัจจัยกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงานที่อาจเป็นมูลเหตุของความเสียหาย (ทั้งในรูปของตัวเงิน หรือไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียงและการฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า) เพื่อให้ระดับความเสี่ยง และขนาดของความเสี่ยหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับและควบคุมได้ โดยคำนึงถึงการเรียนรู้วิธีการป้องกันจากการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้า และโอกาสในการเกิดเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสำรองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่าง ๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง และทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ
หมายเหตุ คะแนนการประเมินจะเท่ากับ 0 หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นภายในหน่วยงาน
ในรอบปีการประเมินที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของบุคลากร ผู้รับบริการ หรือต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือต่อความมั่นคงทางการเงินของหน่วยงาน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของหน่วยงาน ในการควบคุม หรือจัดการกับ ความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
โดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
1. หน่วยงานจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลแก่ผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานว่าหน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 ตามแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ เรื่อง หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร จากกระทรงการคลัง ที่ กค 0409.3/ว36 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 โดยหนังสืออ้างถึง กระทรวงการคลังได้ประกาศหลักเกณฑ์ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562 โดยหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ ข้อ 3 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐยกเว้นรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (เอกสารหมายเลข 1.5-1-1)
ทั้งนี้ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้ใช้แนวทาง จากกระทรวงการคลังดังกล่าว ตามที่มหาวิทยาลัยเห็นชอบแจ้งทุกหน่วยงานปฏิบัติ เป็นแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ปฏิบัติ โดยความเสี่ยงประจำงบประมาณ 2565 ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้วิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงด้านต่าง ๆ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล Committee of Sponsoring of the Treadway Commission : COSO 4 ด้าน คือ
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
3. ความเสี่ยงเรื่องการดำเนินงาน (Operation Risk : OR)
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR)
ประเด็นความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 ล้วนสอดคล้องกับการบริการตามพันธกิจของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ในการบริการแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้ง ผู้บริหาร นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และประชาชน ให้เกิดความมั่นใจในงานบริการและการดำเนินงานของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน และการป้องกันเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า โดยมีความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 ดังนี้
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 1 การทำนิติกรรมสัญญาและการร่างสัญญาไม่ครอบคลุม
COSO : ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR)
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 2 บุคลากรติดโควิด 19 จากการปฏิบัติงาน
COSO : ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (Operation Risk : OR)
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 3 การบริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยไม่สามารถให้บริการได้
COSO : ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (Operation Risk : OR)
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 4 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการและใช้ในการปฏิบัติงานสูญหายจากการโจรกรรม
(เอกสารหมายเลข 1.5-1-2)
2. หน่วยงานจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กร อย่างน้อยประกอบด้วย การมอบหมายผู้รับผิดชอบเรื่องการบริหารความเสี่ยง การกำหนดวัฒนธรรมของหน่วยงานที่ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กร ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การมอบหมายผู้รับผิดชอบ
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษามีการมอบหมายผู้รับผิดชอบด้านบริหารความเสี่ยง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาประจำปีงบประมาณ 2565 ตามคำสั่งสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ที่ 136/2564 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากรสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาทุกท่าน เพื่อร่วมกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านบริหารความเสี่ยง รวบรวม ศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ระบุประเด็นความเสี่ยง ประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและรายงานต่อผู้บริหาร ตลอดจนนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะไปปรับใช้ในการปรับแผนบริหารความเสี่ยงในรอบปีถัดไป (เอกสารหมายเลข 1.5-2-1)
2. วัฒนธรรมของหน่วยงานที่ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยง
การมีส่วนร่วม สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ใช้กระบวนการดำเนินงานแบบส่วนร่วม ตั้งแต่ตั้งคณะทำงานในรูปแบบคณะกรรมการ โดยประกอบด้วยผู้บริหาร และบุคลากรทุกคน เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงอย่างครอบคลุมทุกด้าน โดยจัดกิจกรรมทำแผนบริหารความเสี่ยงร่วมกัน อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และใช้โอกาสการประชุมประกันคุณภาพ การประชุมบุคลากร ตลอดปีงบประมาณ ในการติดตามการดำเนินงาน การรายงานความก้าวหน้า การขอความร่วมมือ รวมถึงการรายงานปัญหาอุปสรรคที่พบ เพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข
ผู้บริหารให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ผู้บริหารสำนักฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยง การจัดประชุมจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงประจำปี และการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้สามารถดำเนินงานด้านความเสี่ยงเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และรายงานต่อผู้บริหารในระดับมหาวิทยาลัย (เอกสารประกอบ1.5-2-2)
3. การบริหารทรัพยากรบุคคล
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาให้ความสำคัญกับพัฒนาบุคลากร ในการเพิ่มทักษะ เสริมทักษะ และทบทวนทักษะ เพื่อที่นำองค์ความรู้หรือทักษะนั้น ๆ มาช่วยลดความเสี่ยงประเด็นต่าง ๆ ที่สำนักฯ ให้บริการแก่ผู้มีส่วนได้เสีย อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 ได้มีประเด็นความเสี่ยงการบริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยไม่สามารถให้บริการได้ บุคลากรที่รับผิดชอบด้านการบริหารและจัดการคอมพิวเตอร์เครือข่าย ได้ใช้ทักษะด้านการจัดทำอุปกรณ์ IoT ในการแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุการณ์ไฟดับ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่จะส่งผลให้ไม่สามารถบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้รับผิดชอบได้เฝ้าสังเกตและเตรียมการแก้ไขปัญหาได้ทันการณ์ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้รับริการ หรือกระทบน้อยที่สุด (เอกสารประกอบ 1.5-2-3) และสนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาตนเองในด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อบริหารจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัย โดย นายวิทูร อุ่นแสน เข้าอบรมหัวข้อ “การเพิ่มระดับความปลอดภัยบนเครือข่ายแลนที่ใช้อุปกรณ์ไมโครติกด้วยมาตรฐาน IEEE 802.1X (Layer2 Security in MikroTik-based Networks using IEEE 802.1X)( (เอกสารประกอบ 1.5-2-4)
3. หน่วยงานมีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการสื่อสารการบริหารจัดการความเสี่ยงของวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร และบุคลากรสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาทุกท่าน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยร่วมกันจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงแผนบริหารความเสี่ยง สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2565 ตามขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงตามคู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง (2555:26) และกำหนดวัตถุประสงค์ตามที่ปรากฏในแผนฯ ในหัวข้อที่ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ คือ
การกำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ คือ “เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุน คุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน” และวัตถุประสงค์ขององค์กร ใน 4 ประเด็นได้แก่
4. วัตุประสงค์ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Objectives)
นอกจากที่สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาจะใช้วิธีการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารด้านกระบวนการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงให้เข้าใจตรงกันและเป็นในทิศทางเดียวกันแล้ว สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษามีการใช้เครื่องมืออื่น ๆ รวมถึงระบบสารสนเทศเพื่อสื่อสารการบริหารจัดการความเสี่ยงของวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ระหว่างผู้บริหาร บุคลากร รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้
การประชุมประกันคุณภาพ ในการกำหนดข้อตกลง และชี้แจงแผนบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ ให้กับผู้บริหารและบุคลากรทุกคนทราบ เพื่อดำเนินกิจกรรมในแผนบริหารความเสี่ยงตลอดปีงบประมาณ อีกทั้งใช้การประชุมประกันคุณภาพ และการประชุมบุคลากร ในการติดตามผลการดำเนินงาน การรายงานถึงปัญหา อุปสรรค เพื่อที่คณะกรรมการความเสี่ยงและควบคุมภายใน ของสำนักฯ ได้ร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้ทันการณ์ และมีความเหมาะสม (เอกสารหมายเลข 1.5-3-2, 1.5-3-3 และ 1.5-3-4)
การประชุมคณะกรรมกาบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ในการสรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 และร่วมกันพิจารณาจัดทำ (ร่าง) แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566 (เอกสารหมายเลข 1.5-3-5)
Google Drive ระบบรวบรวมเอกสารหลักฐาน อันจะเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน (เอกสารหมายเลข 1.5-3-6)
Facebook Group กลุ่มสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ในการนัดหมายกำหนดการประชุมและติดตามการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ (เอกสารหมายเลข 1.5-3-7)
เว็บไซต์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา http://www.digital.cmru.ac.th ในการเผยแพร่แผนการดำเนินงานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน แนวปฏิบัติในการดำเนินงานต่าง ๆ ของสำนักฯ และรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อให้บุคลากรและผู้ใช้บริการได้รับทราบตรงกันและทั่วถึง (เอกสารหมายเลข 1.5-3-8)
4. หน่วยงานมีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยง จากประเด็นดังต่อไปนี้
ระบุความเสี่ยง
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มีการระบุความเสี่ยง ตามคำนิยามของมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. 2562 “ความเสี่ยง” หมายความว่า ความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ตามประเภทความเสี่ยงมาตรฐานสากล Committee of Sponsoring of the Treadway Commission : COSO 4 ด้าน และด้านการทุจริต ตามหลักเกณฑ์การควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 ทั้งนี้แผนบริหารความเสี่ยง ของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 มุ่งประเด็นไปด้านความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต ที่กำลังเป็นประเด็นตื่นตัวในวงการเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน และมุ่งเน้นการบริการซึ่งเป็นงานตามพันธกิจหลักของสำนัก ดังนี้
ตารางระบุความเสี่ยง
ความเสี่ยง |
ปัจจัยเสี่ยง |
ความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น |
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR) |
||
SR1 ยุทธศาสตร์/แผนงาน ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย SR2 การดำเนินงานโครงการ กิจกรรมของสำนักฯ ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของสำนักฯ SR3 การปรับลดงบประมาณโครงการ กิจกรรม ไม่สามารถดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ได้ |
SR1.1 ขาดการทบทวนแผนประจำปี
SR2.1 การดำเนินโครงการ กิจกรรมขาดการเชื่อมโยง กับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของสำนักฯ SR3.1 ขาดการแจ้งรายละเอียดปรับลดงบประมาณให้ผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อตัดสินใจถึงความเป็นไปได้ของความสำเร็จ |
-การดำเนินงานของสำนักฯ ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย -การดำเนินงานของสำนักฯ ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการของสำนัก
-โครงการที่ได้รับอนุมัติไม่สามารถดำเนินงานได้ |
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR) |
||
FR1 งบประมาณที่ได้รับไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของการจัดกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป |
FR1.1 สถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ทำให้รูปแบบกิจกรรมต้องเปลี่ยนแปลงจากที่ตั้งไว้ |
-งบประมาณที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอ หรือ ไม่ตรงตามแผน ตัวชี้วัดไม่บรรลุ |
3. ความเสี่ยงเรื่องการดำเนินงาน (Operation Risk : OR) |
||
OR1 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการและใช้ในการปฏิบัติงานสูญหายจากการโจรกรรม
OR2 การบริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ ภายในมหาวิทยาลัยไม่สามารถให้บริการได้
OR3 บุคลากรติดโควิด 19 จากการปฏิบัติงาน |
OR1.1 ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำตึก อาคารมีทรัพย์สินราคาสูงและมองเห็นจากภายนอกชัดเจน OR2.1 อุปกรณ์สลับสัญญาณเครือข่ายหลัก(Core Switch) ชำรุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานมามากกว่า10ปี OR2.2 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย Sever ชำรุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานมามากกว่า10ปี OR2.3 ฐานข้อมูลที่มหาวิทยาลัยใช้งานในปัจจุบันเป็นระดับพื้นฐาน ไม่มีการป้องกันการโจรกรรมข้อมูล PDPA OR2.4 การหยุดชะงักของระบบคลาวด์ที่มหาวิทยาลัยใช้บริการอยู่ OR3.1 บุคลากรปฏิบัติงานผลิตรายวิชาออนไลน์ทำงานร่วมกันในรูปแบบห้องปิด ใกล้ชิดกับผู้สอนที่ต้องเปิดหน้ากาก |
-เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
-มหาวิทยาลัยไม่สามารถใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ -ไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ภายในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยได้ -ข้อมูลถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ หรือถูกเปลี่ยนแปลง -เว็บ cmru.ac.th ไม่สามารถใช้งานได้
-เสียชีวิต ร้ายแรงต่อสุขภาพ และเสี่งต่อการแพร่ระบาด |
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR) |
||
CR1 การทำนิติกรรมสัญญาและการร่างสัญญาไม่ครอบคลุมการดำเนินงาน |
CR1.1 บุคลากรไม่มีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
-มหาวิทยาลัยเสียเปรียบในด้านข้อกฎหมาย |
ประเมินความเสี่ยง
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ดังนี้
1) กำหนดเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง โดยพิจารณาเงื่อนไข ในการกำหนดเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง 2 มิติ คือ โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) เพื่อกำหนดระดับความเสี่ยง (Degree of Risks) ของความเสี่ยงแต่ละเหตุการณ์
ตารางโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood)
ระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง |
||
ระดับ |
โอกาสที่จะเกิด |
คำอธิบาย |
5 |
สูงมาก |
มีโอกาสในการเกิดเกือบทุกครั้ง |
4 |
สูง |
มีโอกาสในการเกิดค่อนข้างสูงหรือบ่อย ๆ |
3 |
ปานกลาง |
มีโอกาสเกิดบางครั้ง |
2 |
น้อย |
มีโอกาสเกิดหากสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย |
1 |
น้อยมาก |
มีโอกาสเกิดในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ |
ตารางผลกระทบของความเสี่ยง (Impact)
ผลกระทบความเสี่ยง |
||
ระดับ |
ผลกระทบ |
คำอธิบาย |
5 |
รุนแรงที่สุด |
ไม่สามารถแก้ไขได้ |
4 |
ค่อนข้างรุนแรง |
แก้ไขได้ และมีผลกระทบต่อกระบวนการแผนงานอย่างมาก |
3 |
ปานกลาง |
แก้ไขได้ และมีผลกระทบต่อกระบวนการแผนงานปานกลาง |
2 |
น้อย |
แก้ไขได้ และมีผลกระทบต่อกระบวนการแผนงานเล็กน้อย |
1 |
น้อยมาก |
แก้ไขได้ ไม่มีผลผลกระทบต่อกระบวนการแผนงาน |
ตารางระดับความเสี่ยง (Degree of Risks)
ระดับความเสี่ยง |
ระดับคะแนน |
การยอมรับ/การตอบความเสี่ยง |
คำอธิบายการยอมรับ/การตอบความเสี่ยง |
สูงมาก |
20-25 |
ยอมรับไม่ได้ |
ความเสี่ยงที่ต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องบริหารความเสี่ยงทันที |
สูง |
9-19 |
ยอมรับไม่ได้ |
ความเสี่ยงที่ต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องบริหารความเสี่ยงทันที |
ปานกลาง
|
4-8
|
ยอมรับได้
|
ความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังซึ่งจะต้องบริหารความเสี่ยงโดยให้ความสนใจเฝ้าระวัง |
ต่ำ |
1-3 |
ยอมรับได้ |
ความเสี่ยงที่ใช้วิธีควบคุมปกติไม่ต้องมีการจัดการเพิ่มเติม |
2) การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยง ประกอบด้วย 2 มิติ คือ โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) โดยแสดงผลเป็นการคูณของโอกาส และผลกระทบ เพื่อให้ได้มาซึ่งระดับคะแนนความเสี่ยง (Degree of Risks)
ตารางการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง
ประเภท |
โอกาส (L) |
ผลกระทบ (I) |
คะแนน |
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR) |
|||
SR1 ยุทธศาสตร์/แผนงาน ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย SR2 การดำเนินงานโครงการ กิจกรรมของสำนักฯ ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของสำนักฯ SR3 การปรับลดงบประมาณโครงการ กิจกรรม ไม่สามารถดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ได้
|
1
2
2 |
4
4
4 |
4
8
8 |
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR) |
|||
FR1 งบประมาณที่ได้รับไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของการจัดกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป |
2
|
3
|
6
|
3. ความเสี่ยงเรื่องการดำเนินงาน (Operation Risk : OR) |
|||
OR1 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการและใช้ในการปฏิบัติงานสูญหายจากการโจรกรรม OR2 การบริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยไม่สามารถให้บริการได้ OR3 บุคลากรติดโควิด 19 จากการปฏิบัติงาน |
2
4
4 |
5
5
5 |
10
20
20 |
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR) |
|||
CR1 การทำนิติกรรมสัญญาและการร่างสัญญาไม่ครอบคลุม CR2 การทุจริต |
5
1 |
5
5 |
25
5 |
ตอบสนองความเสี่ยง
จากการวิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง เพื่อตอบสนองความเสี่ยงสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้ดำเนินการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง ได้มาซึ่งระดับคะแนนความเสี่ยงที่ได้จากผลคูณของโอกาสและผลกระทบแล้ว จึงนำมาเทียบตามคำอธิบายให้เห็นระดับความเสี่ยงที่ชัดเจน เพื่อนำเอาระดับความเสี่ยงสูง และสูงมาก ไปจัดลำดับความเสี่ยงต่อไป
เมื่อเทียบค่าจากตารางระดับความเสี่ยง (Degree of Risks) เพื่อดูผลการยอมรับ/การตอบความเสี่ยง แล้ว สำนักดิจิทัลทำการตอบสนอง โดย ความเสี่ยงระดับสูง เป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องบริหารความเสี่ยงทันที และระดับมาก เป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องบริหารความเสี่ยงทันที
จัดลำดับความเสี่ยง
การจัดลำดับความเสี่ยง สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาได้นำความเสี่ยงที่อยู่ในระดับความเสี่ยง สูง และสูงมาก จัดลำดับความเสี่ยง เพื่อใช้ในการประเมินมาตรการควบคุมภายใน และจัดการความเสี่ยงต่อไป
ตารางจัดลำดับความเสี่ยง
ประเภท |
โอกาส (L) |
ผลกระทบ (I) |
คะแนน |
ระดับ |
ลำดับ |
3. ความเสี่ยงเรื่องการดำเนินงาน (Operation Risk : OR) |
|||||
OR1 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการและใช้ในการปฏิบัติงานสูญหายจากการโจรกรรม OR2 การบริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยไม่สามารถให้บริการได้ OR3 บุคลากรปฏิบัติงานติดโควิด 19 จากการปฏิบัติงาน |
2
4
4 |
5
5
5 |
10
20
20 |
สูง
สูงมาก
สูงมาก |
4
3
2
|
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR) |
|||||
CR1 การทำนิติกรรมสัญญาและการร่างสัญญาไม่ครอบคลุม |
5 |
5 |
25 |
สูงมาก |
1 |
(เอกสารหมายเลข 1.5-4-1 (หน้า2-13))
5. หน่วยงานจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและต้องมีการสื่อสารแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2565 โดยการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ได้จัดประชุม เพื่อสำรวจประเด็นความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2565 ในการประชุม คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ห้องประชุมเอื้องสายส่องแสง สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ที่ประชุมได้ร่วมจัดทำ (ร่าง) แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2565 พิจารณาถึงการกำหนดประเด็นความเสี่ยงตามประเภทความเสี่ยงมาตรฐานสากล COSO และเกณฑ์ประกันคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงานสนับสนุน วิเคราะห์ และสังเคราะห์ประเด็นความเสี่ยง จัดลำดับความเสี่ยง โดยประเมินมาตรการควบคุมภายใน (Risk Control) ตามปัจจัยเสี่ยงของแต่ละรายการความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ได้แก่ ระดับความเสี่ยง “สูง” และ “สูงมาก” เพื่อประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่มีอยู่
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา นำผลจากการประเมินควบคุมภายในที่มีอยู่ โดยหากผลการประเมินควบคุมภายใน ยังไม่สามารถลดความเสี่ยงนั้นลงให้อยู่ในระดับยอมรับได้ คณะกรรมการต้องดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อจัดการความเสี่ยง (Risk Treatment) ด้วยการประเมินทางเลือกการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย 4
กลยุทธ์ : 4T’s Strategies ได้แก่ ยอมรับความเสี่ยง (Take) ควบคุม/ลดความเสี่ยง (Treat) หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Terminate) ถ่ายโอนความเสี่ยง (Transfer) ทั้งนี้สามารถจัดทำเป็นแผนบริหารความเสี่ยงสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 ดังนี้
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 1 การทำนิติกรรมสัญญาและการร่างสัญญาไม่ครอบคลุม
COSO : ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ(Compliance Risk : CR)
ปัจจัยเสี่ยง บุคลากรไม่มีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ถ่ายโอน
กิจกรรม
1.จัดส่งเอกสารนิติกรรมสัญญาให้นิติกรของมหาวิทยาลัยตรวจสอบ
ตัวชี้วัด
1. สถิติเอกสารนิติกรรมสัญญาที่จัดส่ง
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค.64-ก.ย.65
ผู้รับผิดชอบ งานบริหารงานทั่วไป
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย -ไม่มี-
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 2 บุคลากรติดโควิด 19 จากการปฏิบัติงาน
COSO : ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (Operation Risk : OR)
ปัจจัยเสี่ยง บุคลากรปฏิบัติงานผลิตรายวิชาออนไลน์ทำงานร่วมกันในรูปแบบห้องปิด ใกล้ชิดกับผู้สอนที่ต้องเปิดหน้ากาก
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ลด
กิจกรรม
1. จัดหา/ปรับปรุงห้องผลิตรายวิชาออนไลน์แบบรักษาระยะห่าง
2. จัดทำมาตรการ/แนวปฏิบัติ การใช้ห้องผลิตรายวิชาออนไลน์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
ตัวชี้วัด
1. ห้องผลิตรายวิชาออนไลน์แบบรักษาระยะห่าง อย่างน้อย 1 ห้อง
2. มาตรการ/แนวปฏิบัติ การใช้ห้องผลิตรายวิชาออนไลน์ 1 ฉบับระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค. 64-ม.ค. 65
ผู้รับผิดชอบ หน่วยพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย -ไม่มี-
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 3 การบริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยไม่สามารถให้บริการได้
COSO : ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (Operation Risk : OR)
ปัจจัยเสี่ยง 1. ด้านอุปกรณ์เครือข่ายและฐานข้อมูล
1) อุปกรณ์สลับสัญญาณเครือข่ายหลัก (Core Switch) ชำรุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานมามากกว่า10 ปี
2) คอมพิวเตอร์แม่ข่าย Sever ชำรุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานมามากกว่า10ปี
3) ฐานข้อมูลที่มหาวิทยาลัยใช้งานในปัจจุบันเป็นระดับพื้นฐาน ไม่มีการป้องกันการโจรกรรมข้อมูล PDPA
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ลด
กิจกรรม
1. จัดทำคำขอตั้งงบประมาณงานบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครือข่าย โครงการปีงบประมาณ 2566 หรือตามช่องทางที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้
2. จัดทำระบบการตรวจสอบปริมาณการใช้งานและความผิดปกติเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตัวชี้วัด
1. คำขอตั้งงบประมาณด้านคอมพิวเตอร์เครือข่ายให้ครอบคลุม (อุปกรณ์สลับสัญญาณ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และฐานข้อมูล)
2. ระบบการตรวจสอบปริมาณการใช้งานและความผิดปกติเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค. 64-ก.ย. 65
ผู้รับผิดชอบ หน่วยบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครือข่าย
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย –ไม่มี-
ปัจจัยเสี่ยง 2. การบริการของระบบบคลาวด์ที่มหาวิทยาลัยใช้บริการ
1) การหยุดชะงักของระบบคลาวด์ที่มหาวิทยาลัยใช้บริการอยู่
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ยอมรับ
กิจกรรม
1. ตรวจสอบบริการคลาวด์จากผู้ให้บริการ
ตัวชี้วัด
1. รายงานสถิติการหยุดชะงักของบริการคลาวด์จาก
ผู้ให้บริการ
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค. 64-ก.ย. 65
ผู้รับผิดชอบ หหน่วยบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครือข่าย/หน่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการ MIS
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย –ไม่มี-
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 4 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการและใช้ในการปฏิบัติงานสูญหายจากการโจรกรรม
COSO : ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (Operation Risk : OR)ปัจจัยเสี่ยง อาคารมีทรัพย์สินราคาสูงและสามารถมองเห็นจากภายนอก
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ถ่ายโอน
กิจกรรม
1. ความร่วมมือสนับสนุนด้านการจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไปยังกองอาคารสถานที่
ตัวชี้วัด
บันทึกข้อความขอความร่วมมือสนับสนุนด้านการจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไปยังกองอาคารสถานที่ 1 ฉบับ
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค 64.- มี.ค. 65
ผู้รับผิดชอบ งานบริหารงานทั่วไป
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย –ไม่มี-
(เอกสารประกอบ 1.5-5-1 (หน้า14-16))
จากแผนบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2565 ที่ได้จากการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร และบุคลากรทุกท่าน ร่วมกันระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง เลือกวิธีตอบสนองความเสี่ยง จัดลำดับความเสี่ยง ประเมินมาตรการควบคุมภายใน เลือกกลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ลงสู่แผนบริหารความเสี่ยง ซึ่งระบุกิจกรรม ตัวชี้วัด ระยะเวลาการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ และงบประมาณ อย่างชัดเจนเพื่อใช้เป็นแผนในการดำเนินงานตลอดปีงบประมาณ 2565 โดยคณะกรรมการทุกท่านมีส่วนร่วมในการตรวจสอบแผนกิจกรรม และทบทวนผลการดำเนินงานของตนในส่วนที่เกี่ยวข้องได้สม่ำเสมอ ด้วยการเผยแพร่แผนบริหารความเสี่ยง ดังกล่าวบนเว็บไซต์สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา www.digital.cmru.ac.th และใช้การประชุมประกันคุณภาพ รวมถึงประชุมบุคลากร เป็นช่องทางในการสื่อสารเพื่อรายงานผล กำกับติดตาม ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาระหว่างการดำเนินกิจกรรม หลังจากจบแผน ได้รายงานผลต่อคณกรรมการความเสี่ยง มหาวิทยาลัย และคณกรรมการสำนักในครั้งถัดไป (เอกสารประกอบ 1.5-5-2)
6. มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงและทบทวนแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และรายงานการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษามีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงและทบทวนแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยใช้การประชุมประกันคุณภาพ และการประชุมบุคลากร การประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน เป็นเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม ทั้งนี้ตลอดการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 มีการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงให้คณะกรรมการฯ ทราบ เพื่อร่วมหาข้อเสนอแนะในการดำเนินการแก้ไขปัญหา อุปสรรค กรณีไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ทันการณ์ จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้
การประชุมประกันคุณภาพ ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 26 สิงหาคม 2565 โดยรายงานสถานะการดำเนินงานประเด็นความเสี่ยงต่อที่ประชุม (เอกสารประกอบ 1.5-6-1)
การประชุมประกันคุณภาพ ครั้งที่ 2/2564 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 โดยเสนอผลการตรวจประเมินหัวข้อการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน จากสำนักงานตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ 2565 (รายงานผลการตรวจประเมิน วันที่ 16 สิงหาคม 2565) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในปีงบประมาณถัดไป (เอกสารประกอบ 1.5-6-2)
การประชุมประกันคุณภาพ ครั้งที่ 3/2564 ในวันที่ 27 กันยายน 2565 โดยนำเสนอผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 ตลอดทั้งปี เพื่อสรุปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน (เอกสารประกอบ 1.5-6-3)
การประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ในวันที่ 29 กันยายน 2565 โดยนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการความเสี่ยง เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการกิจกรรมความเสี่ยง และข้อเสนอสำหรับการจัดทำ (ร่าง) แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566 (เอกสารประกอบ 1.5-6-4)
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา โดยการทำงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ได้ร่วมกันพิจารณาผลการดำเนินงานตามรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 ซึ่งมีผลการประเมินความเสี่ยงสามารถลดความเสี่ยงจาก สูงมาก ยอมรับไม่ได้ เป็นระดับต่ำ ยอมรับได้ และมีกระบวนการในการควบคุมความเสี่ยงตามกิจกรรมต่อไปจำนวน 2 ประเด็นความเสี่ยง คือ
ประเด็นความเสี่ยงลำดับที่ 1 การทำนิติกรรมสัญญาและการร่างสัญญาไม่ครอบคลุม
ปัจจัยเสี่ยง บุคลากรไม่มีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ถ่ายโอน
กิจกรรม
1.จัดส่งเอกสารนิติกรรมสัญญาให้นิติกรของมหาวิทยาลัยตรวจสอบ
ตัวชี้วัด
1. สถิติเอกสารนิติกรรมสัญญาที่จัดส่ง
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค.64-ก.ย.65
ผู้รับผิดชอบ งานบริหารงานทั่วไป
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย -ไม่มี-
ผลการดำเนินงาน
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา จัดทำกระบวนการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงด้านการทำนิติกรรมสัญญา และการร่างสัญญาที่ไม่ครอบคลุมอันจะเกิดความเสียหายแต่หน่วยงานและมหาวิทยาลัย เนื่องด้วยไม่มีบุคลากรด้านกฎหมาย โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ต้องมีการทำนิติกรรมสัญญา จัดส่งสัญญาทุกฉบับ ให้นิติกร สังกัดกองกลาง สำนักงานอธิการบดี ตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขตามคำแนะนำของนิติกรให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการลงนามสัญญาทุกครั้ง
ผลการดำเนินงานด้านการจัดส่งให้นิติกรตรวจสอบเอกสารสัญญา ในปีงบประมาณ 2565 (ต.ค. 64- ก.ย. 65) มีทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยจัดส่งให้นิติกรตรวจสอบ 7 ฉบับ และการจัดซื้อจัดจ้างไม่พบความเสียหายจากการทำสัญญาที่ไม่ครอบคลุม
สามารถลดความเสี่ยงจากระดับ สูงมาก ให้อยู่ในระดับ ต่ำ อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และให้ใช้กระบวนการ “จัดส่งให้นิติกรตรวจสอบเอกสารสัญญาทุกครั้ง” ในการควบคุมความเสี่ยงต่อไป
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 4 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการและใช้ในการปฏิบัติงานสูญหายจากการโจรกรรม
ปัจจัยเสี่ยง อาคารมีทรัพย์สินราคาสูงและสามารถมองเห็นจากภายนอก
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ถ่ายโอน
กิจกรรม
1. ความร่วมมือสนับสนุนด้านการจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไปยังกองอาคารสถานที่
ตัวชี้วัด
บันทึกข้อความขอความร่วมมือสนับสนุนด้านการจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไปยังกองอาคารสถานที่ 1 ฉบับ
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค 64.- มี.ค. 65
ผู้รับผิดชอบ งานบริหารงานทั่วไป
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย –ไม่มี-
ผลการดำเนินกิจกรรม
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาดำเนินการขอความอนุเคราะห์ กองอาคารสถานที่เพื่อขอความอนุเคราะห์สนับสนุนด้านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ในการสอดส่องดูแลบริเวณชั้น 1 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และสามารถมองเห็นจากภายนอกชัดเจน โดยทำบันทึกข้อความ จำนวน 1 ฉบับ (อว 0612.16/077 ลงวันที่ 25 เม.ย. 2565) ทั้งนี้ ตลอดปีงบประมาณ 2565 ไม่พบความเสียหายจากการถูกโจรกรรม
จากผลการดำเนินงาน สามารถลดความเสี่ยงจากระดับ สูงมาก ให้อยู่ในระดับ ต่ำ ยอมรับได้ และพิจารณาประสานความร่วมมือไปกองอาคารสถานที่ ในกรณีมหาวิทยาลัยไม่เปิดให้บริการการเรียนการสอน (ภาวะไม่ปกติ จากโรคระบาดโควิด 19)
สามารถลดความเสี่ยงจากสูงมาก ยอมรับไม่ได้ เป็นระดับ ปานกลาง ยอมรับได้ และมีกระบวนการในการควบคุมความเสี่ยงตามกิจกรรมต่อไปจำนวน 2 ประเด็นความเสี่ยง คือ
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 2 บุคลากรติดโควิด 19 จากการปฏิบัติงาน
ปัจจัยเสี่ยง บุคลากรปฏิบัติงานผลิตรายวิชาออนไลน์ทำงานร่วมกันในรูปแบบห้องปิด ใกล้ชิดกับผู้สอนที่ต้องเปิดหน้ากาก
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ลด
กิจกรรม
1. จัดหา/ปรับปรุงห้องผลิตรายวิชาออนไลน์แบบรักษาระยะห่าง
2. จัดทำมาตรการ/แนวปฏิบัติ การใช้ห้องผลิตรายวิชาออนไลน์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
ตัวชี้วัด
1. ห้องผลิตรายวิชาออนไลน์แบบรักษาระยะห่าง อย่างน้อย 1 ห้อง
2. มาตรการ/แนวปฏิบัติ การใช้ห้องผลิตรายวิชาออนไลน์ 1 ฉบับระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค. 64-ม.ค. 65
ผู้รับผิดชอบ หน่วยพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย -ไม่มี-
ผลการดำเนินงาน
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ดำเนินการปรับปรุงห้องผลิตรายวิชาออนไลน์ ได้แก่ ห้อง Mini Studio ชั้น 4 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน และแนวปฏิบัติการผลิตรายการในช่วงเฝ้าระวังการแผ่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1 ห้อง
สำนักดิจิทัลฯ จัดทำประกาศ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เรื่อง แนวปฏิบัติการใช้ห้อง Mini Studio ในการถ่ายทำบทเรียนออนไลน์ CMRU MOOCs เพื่อให้การบริการของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา และผู้เข้าใช้บริการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 1 ฉบับ โดยประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม 2565
ผลการดำเนินงานการใช้ห้อง Mini Studio ในการถ่ายทำบทเรียนออนไลน์ CMRU MOOCs ตลอดปีงบประมาณ 2565 ไม่พบบุคลากรติดโควิด 19 จากการปฏิบัติงาน ทั้งนี้มีการใช้ห้องรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 เตรียมความพร้อมการถ่ายทำรายวิชา โลกแห่งธุรกิจ
ครั้งที่ 2 วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ถ่ายทำบทที่ 1 และ 2 รายวิชาโลกแห่งธุรกิจ
ครั้งที่ 3 วันที่ 2 สิงหาคม 2565 ถ่ายทำบทที่ 3 รายวิชาโลกแห่งธุรกิจ
ครั้งที่ 4 วันที่ 28 กันยายน 2565 ถ่ายทำบทที่ 4-6 รายวิชาโลกแห่งธุรกิจ
สามารถลดความเสี่ยงจากระดับ สูงมาก ให้อยู่ในระดับ ปานกลาง อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และมีกระบวนการในการควบคุมความเสี่ยงตามประกาศ แนวปฏิบัติฯ ต่อไป
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 3 การบริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยไม่สามารถให้บริการได้
ปัจจัยเสี่ยง 1. ด้านอุปกรณ์เครือข่ายและฐานข้อมูล
1) อุปกรณ์สลับสัญญาณเครือข่ายหลัก (Core Switch) ชำรุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานมามากกว่า10 ปี
2) คอมพิวเตอร์แม่ข่าย Sever ชำรุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานมามากกว่า10ปี
3) ฐานข้อมูลที่มหาวิทยาลัยใช้งานในปัจจุบันเป็นระดับพื้นฐาน ไม่มีการป้องกันการโจรกรรมข้อมูล PDPA
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ลด
กิจกรรม
1. จัดทำคำขอตั้งงบประมาณงานบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครือข่าย โครงการปีงบประมาณ 2566 หรือตามช่องทางที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้
2. จัดทำระบบการตรวจสอบปริมาณการใช้งานและความผิดปกติเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตัวชี้วัด
1. คำขอตั้งงบประมาณด้านคอมพิวเตอร์เครือข่ายให้ครอบคลุม (อุปกรณ์สลับสัญญาณ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และฐานข้อมูล)
2. ระบบการตรวจสอบปริมาณการใช้งานและความผิดปกติเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค. 64-ก.ย. 65
ผู้รับผิดชอบ หน่วยบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครือข่าย
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย –ไม่มี-
ผลการดำเนินงาน
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาดำเนินการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณงานบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครือข่าย ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยปรับรูปแบบการขอจากรายการครุภัณฑ์ เป็นรูปแบบการเช่าใช้ และจัดทำอุปกรณ์ IoT เพื่อแจ้งเตือนการเฝ้าระวัง เนื่องมาจากการอนุมัติงบประมาณประเภทครุภัณฑ์ใช้งบประมาณสูง และยากต่ออการอนุมัติ จึงจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ จำนวน 2 โครงการ ดังนี้
1. โครงการจัดหาระบบ Cloud Web Server Hosting เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการพัฒนาเว็บไซต์ของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ งบประมาณ 45,000 บาท
2. โครงการพัฒนา Smart Data Center ด้วย IoT งบประมาณ 12,00 บาท
สำนักฯ ได้ดำเนินการจัดทำระบบการตรวจสอบปริมาณการใช้งานและความผิดปกติเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถเฝ้าสังเกต (Monitor) จำนวน 2 ช่องทางดังนี้
1. บริเวณหน้าห้องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ชั้น 3 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา 1 จุด ซึ่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานคอมพิวเตอร์เครือข่าย สามารถเฝ้าสังเกตได้ตลอดเวลาในระหว่างเวลาราชการ (08.00-16.30 น.)
2. ระบบแจ้งเตือนผ่าน Line ด้วยเทคโนโลยี IoT โดยจะทำการแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุการณ์ไฟดับ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่จะส่งผลให้ไม่สามารถบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยระบบจะแจ้งสถานะดังนี้
1) สถานการณ์ทำงานของระบบแม่ข่ายทุกวัน วันละ 2 รอบ คือ 08.00 น. และ 17.00 น.
2) สถานการณ์ผิดปกติ ไฟดับ แจ้งเตือนทันที และแจ้งเตือนทุก 15 นาที จนกว่าสถานการณ์จะปกติหรือจนกว่าแบตเตอร์รี่จะหมด
ปัจจัยเสี่ยง 2. การบริการของระบบบคลาวด์ที่มหาวิทยาลัยใช้บริการ
1) การหยุดชะงักของระบบคลาวด์ที่มหาวิทยาลัยใช้บริการอยู่
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ยอมรับ
กิจกรรม
1. ตรวจสอบบริการคลาวด์จากผู้ให้บริการ
ตัวชี้วัด
1. รายงานสถิติการหยุดชะงักของบริการคลาวด์จาก
ผู้ให้บริการ
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค. 64-ก.ย. 65
ผู้รับผิดชอบ หหน่วยบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครือข่าย/หน่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการ MIS
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย –ไม่มี-
ผลการดำเนินงาน
สำนักฯ ดำเนินการตรวจสอบการให้บริการคลาวด์ ที่สำนักฯ ได้ดำเนินเช่าใช้ เพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงของระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ขายไม่สามารถให้บริการได้ ไปยังบริการคลาวด์ โดยมีระบบและเว็บไซต์ที่อยู่บนระบบคลาวด์ ดังนี้
1) บริการ Web Server เว็บไซต์หน่วยงานของมหาวิทยาลัยจำนวน 20 เว็บไซต์
2) บริการระบบแจ้งเตือน Line notify จำนวน 1 ระบบ
3) บริการระบบมอนิเตอร์เครือข่ายของมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ระบบ
4) บริการ Radius Server สำหรับระบบ WiFi จำนวน 1 ระบบ
5) บริการ DNS Server จำนวน 1 ระบบ
ทั้งนี้ตลอดปีงบประมาณ 2565 สามารถทำงานได้ปกติ ไม่มีการหยุดให้บริการคลาวด์จากผู้ให้บริการ
จากผลการดำเนินงาน สามารถลดความเสี่ยงจากระดับ สูงมาก ให้อยู่ในระดับ ปานกลาง อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และมีกระบวนการในการควบคุมความเสี่ยงตามกิจกรรมต่อไป (เอกสารประกอบ 1.5-6-5)
ทั้งนี้สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาได้ดำเนินการรายงานการบริหารความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัย โดยรายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค.4) และรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค.5) ต่ออธิการบดี ตามกระบวนการดำเนินการด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน (เอกสารประกอบ 1.5-6-6)
7. มีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการความเสี่ยงของหน่วยงาน ไปใช้ในการปรับแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา โดยการทำงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ได้ร่วมกันพิจารณาผลการดำเนินงานตามรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 ซึ่งมีผลการประเมินความเสี่ยงสามารถลดความเสี่ยงจาก สูงมาก และสูง ยอมรับไม่ได้ เป็นระดับต่ำ ยอมรับได้ จำนวน 2 ประเด็นความเสี่ยงจากสูงมาก และ ลดความเสี่ยงจากสูงปานกลาง ยอมรับได้ ความเสี่ยงจำนวน 2 ประเด็นความเสี่ยง
โดยแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 ได้ระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนบริหารความเสี่ยง คือ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาดำเนินกิจกรรมจัดการความเสี่ยงทุกกิจกรรม และสามารถลดระดับประเด็นความเสี่ยงจาก ยอมรับไม่ได้ เป็น ยอมรับได้ อย่างน้อย 1 ประเด็น สรุปได้ว่าสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาบรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนที่วางไว้
ทั้งนี้จากการรายงานผลการตรวจสอบภายใน รอบปีงบประมาณ 2565 ของสำนักงานตรวจสอบภายใน เรื่องการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน ให้ความเห็นด้านผลการดำเนินการดังนี้ ผลการดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงลดลง เป็นที่ยอมรับได้แล้ว หน่วยงานยังคงต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ ติดตามอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงขึ้น และอยู่ในระดับที่สูง (เอกสารประกอบ 1.5-7-1 (หน้าที่ 41-43))
ดังนั้น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน จึงร่วมกันจัดทำ (ร่าง) แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2566 ในการประชุม คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน เมื่อวันที่ 29 กันายายน 2565 โดยประเมินความเสี่ยง ตอบสนองความเสี่ยง จัดลำดับความเสี่ยง ครอบคลุมทุกด้านดังนี้
ทั้งนี้ ลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมาก และสูง ได้ถูกนำสู่ (ร่าง) แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งระบุกิจกรรม ตัวชี้วัด ระยะเวลาการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ และงบประมาณ ดังนี้
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 1 CR1 มหาวิทยาลัยถูกฟ้องร้องด้านกฎหมาย PDPA จากบริการที่สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษารับผิดชอบ
COSO : ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ(Compliance Risk : CR)
ปัจจัยเสี่ยง บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจด้าน PDPA
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ควบคุม/ลด
กิจกรรม
อบรมให้ความรู้ความเข้าใจด้าน PDPA กับผู้ปฏิบัติงาน
ตัวชี้วัด
ประกาศ หรือแนวปฏิบัติการให้บริการของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบาย PDPA
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค.65-ก.ย.66
ผู้รับผิดชอบ ทุกงานบริการ
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย -ไม่มี- (กิจกรรมในโครงการอบรมประจำปีงบประมาณ 2566)
ประเด็นความเสี่ยงลำดับ 2 FR1 การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
COSO : ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
ปัจจัยเสี่ยง กระบวนการขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างไม่โปร่งใส
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ควบคุม/ลด
กิจกรรม
1. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตาม “พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560”
2. ดำเนินงานตาม “ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เรื่อง เจตจำนงสุจริตในการบริหารงานด้วยคุณธรรมและความโปร่งใส ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2563”
3. รายงานผลการตรวจสอบภายใน
ตัวชี้วัด
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค.65- ก.ย. 66
ผู้รับผิดชอบ งานบริหารงานทั่วไป
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย –ไม่มี-
ความเสี่ยงลำดับ 3 OR2 ระบบสารสนเทศ และเว็บไซต์ไม่สามารถกู้คืนฐานข้อมูลให้กลับมาให้บริการได้
COSO : ความเสี่ยงเรื่องการดำเนินงาน (Operation Risk : OR)
ปัจจัยเสี่ยง
1. อุปกรณ์สำรองข้อมูลชำรุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานมามากกว่า10ปี
2. การตั้งค่า (Configuration) ไม่รัดกุม
กลยุทธ์จัดการความเสี่ยง ถ่ายโอน
กิจกรรม
1. ถ่ายโอนเว็บไซต์และระบบสารสนเทศไปยังระบบคลาวด์เซิร์ฟเวอร์
2. พัฒนาตนเองด้านที่เกี่ยวข้อง Programing and Security
ตัวชี้วัด
1. โครงการ/กิจกรรมการเช่าใช้ระบบคลาวด์เซิร์ฟเวอร์
2. การพัฒนาตนเองด้านที่เกี่ยวข้อง Programing and Security
3. จำนวนเว็บไซต์และระบบสารสนเทศที่ขึ้นบนระบบคลาวด์เซิร์ฟเวอร์
4. สถิติการหยุดชะงักของบริการคลาวด์จากผู้ให้บริการรายงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน ต.ค.64-ก.ย.65
ผู้รับผิดชอบ หน่วยบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครือข่าย
งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย ตามโครงการประจำปีงบประมาณ 2566
(เอกสารประกอบ 1.5-7-2)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th