พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
053-885960-71
โทรสาร
053-885965
หน่วยงานควรมีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยการบริหารและควบคุมปัจจัยกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงานที่อาจเป็นมูลเหตุของความเสียหาย (ทั้งในรูปของตัวเงิน หรือไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียงและการฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า) เพื่อให้ระดับความเสี่ยง และขนาดของความเสี่ยหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับและควบคุมได้ โดยคำนึงถึงการเรียนรู้วิธีการป้องกันจากการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้า และโอกาสในการเกิดเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสำรองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่าง ๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง และทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ
หมายเหตุ คะแนนการประเมินจะเท่ากับ 0 หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นภายในหน่วยงานในรอบปี การประเมินที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของบุคลากร ผู้รับบริการ หรือต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือต่อความมั่นคงทางการเงินของหน่วยงาน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของหน่วยงาน ในการควบคุม หรือจัดการกับ ความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน
2. เอกสารการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของหน่วยงาน
3. เอกสารการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงของหน่วยงาน
4. เอกสารแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง
5. เอกสารรายงานผลการดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง
6. เอกสารหลักฐานการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และเอกสาร หรือรายงานการประชุมที่แสดงถึงรายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผน ต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและสำนักงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัย
7. เอกสารหลักฐานการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและสำนักงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัย ไปใช้ในการปรับแผนบริหารความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
เอกสารหลักฐานการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและสำนักงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัย ไปใช้ในการปรับแผนบริหารความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
เกณฑ์มาตรฐาน
1. หน่วยงานจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลแก่ผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานว่าหน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
2. หน่วยงานจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กร อย่างน้อยประกอบด้วย การมอบหมายผู้รับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง การกำหนดวัฒนธรรมของหน่วยงานที่ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล
3. หน่วยงานมีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการสื่อสารการบริหารจัดการความเสี่ยงของวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
4. หน่วยงานมีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยง จากประเด็นอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
2) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
3) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operation Risk : OR)
4) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR)
5. หน่วยงานจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและต้องมีการสื่อสารแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ
6. มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงและทบทวนแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และรายงานการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
7. มีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ไปใช้ในการปรับแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
หมายเหตุ คะแนนการประเมินจะเท่ากับ 0 หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นภายในหน่วยงานในรอบปี การประเมินที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของบุคลากร ผู้รับบริการ หรือต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือต่อความมั่นคงทางการเงินของหน่วยงาน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของหน่วยงาน ในการควบคุม หรือจัดการกับ ความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
บุคลากรของสำนักทะเบียนและประมวลผลทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ และร่วมมือสนับสนุนการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นอย่างดี และให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมความรู้อันเป็นประโยชน์การดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยง
1. หน่วยงานจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลแก่ ผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานว่าหน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
สำนักทะเบียนและประมวลผล ได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน บนฐานการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย และส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรมความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในหลักการ แนวทางและกระบวนการบริหารความเสี่ยง และตระหนักในความสำคัญของการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน (1.5-1-1 และ 1.5-1-2)
2. หน่วยงานจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กร อย่างน้อยประกอบด้วย การมอบหมายผู้รับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง การกำหนดวัฒนธรรมของหน่วยงานที่ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล
สำนักทะเบียนและประมวลผล มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในตาม คำสั่งสำนักทะเบียนและประมวลผลที่ 1/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (1.5-2-1) เพื่อดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของสำนักทะเบียนและประมวลผล โดยมีผู้บริหารระดับสูง และตัวแทนที่รับผิดชอบของแต่ละงานร่วมเป็นคณะกรรมการ
3. หน่วยงานมีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการสื่อสาร การบริหารจัดการความเสี่ยงของวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
สำนักทะเบียนและประมวลผล มีการจัดให้มีกิจกรรมประชุมบุคลากรกลุ่มย่อยและประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน เพื่อร่วมพิจารณาและกำหนดวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการความเสี่ยง และมีการสื่อสารวัตถุประสงค์การบริหารจัดการความเสี่ยงแก่บุคลากร(1.5-3-1 ถึง 1.5-3-3)
4. หน่วยงานมีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยง จากประเด็นอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
สำนักทะเบียนและประมวลผล จัดให้มีการระดมความคิด เพื่อวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง โดยพิจารณาทั้งด้านโอกาสและผลกระทบ และมีการจัดลำดับความเสี่ยงครอบคลุมความเสี่ยงทั้ง 4 ด้าน (1.5-4-1)
5. หน่วยงานจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและต้องมีการสื่อสารแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ
ภายหลังจากการดำเนินการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง จัดลำดับความเสี่ยง และได้ความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงที่สุดในแต่ละด้านเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการได้นำความเสี่ยงทั้ง 4 ด้าน มาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 ดังนี้ (1.5-5-1)
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR) โครงการ/กิจกรรม/กระบวนการ : การจัดทำปฏิทินกิจกรรมสำนักทะเบียนและประมวลผล ความเสี่ยงสูงสุด คือ บุคลากรไม่ได้ดำเนินกิจกรรมตามแผน
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR) โครงการ/กิจกรรม/กระบวนการ : การเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ความเสี่ยงสูงสุด คือ การเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการ/กิจกรรม ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด
3. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operation Risk : OR) โครงการ/กิจกรรม/กระบวนการ : การยื่นคำร้องขอยกเว้นการเรียนรายวิชาของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) ความเสี่ยงสูงสุด คือ นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) สำเร็จการศึกษาล่าช้า
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR)
4.1 โครงการ/กิจกรรม/กระบวนการ : การรู้ไม่ทันกฎหมายใหม่ ความเสี่ยงสูงสุด คือ บุคลากรไม่ได้เข้าร่วมการอบรมพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
4.2 โครงการ/กิจกรรม/กระบวนการ : การพิจารณาอนุญาต/อนุมัติ การเข้าถึงและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลในระบบบริการการศึกษาออนไลน์ ความเสี่ยงสูงสุด คือ สิทธิ์การเข้าใช้งานระบบซ้ำซ้อน
6. มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงและทบทวนแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และรายงานการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ผู้บริหารได้มีการติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ได้รายงานผลการดำเนินงานในการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ (1.5-6-1 และ 1.5-6-2)
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk: SR) ได้ดำเนินการจัดการบริหารความเสี่ยง คือ มีปฏิทินแบบออนไลน์ที่ตรวจสอบปฏิทินกิจกรรมได้อย่างครบถ้วน ผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR) ได้ดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด และอยู่ในระดับ ยอมรับได้
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk: FR) ได้ดำเนินการจัดการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
2.1 ประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละไตรมาส
2.2 ปรับการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมในแต่ละไตรมาส
ผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR) ได้ดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด และอยู่ในระดับ ยอมรับได้
3. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operation Risk : OR) ได้ดำเนินการจัดการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
3.1 ประชุมชี้แจง เรื่องการเทียบโอน/ยกเว้นการเรียน ในการประชุมประสานงานวิชาการครั้งที่ 1/2565
3.2 ประชุมอาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี
ผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operation Risk : OR) ได้ดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด และอยู่ในระดับ ยอมรับได้
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR) ได้ดำเนินการจัดการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
4.1. จัดโครงการอบรมความรู้ด้านพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
4.2 ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลการอบรมในเว็บไซต์สำนักทะเบียนและประมวลผล
ผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR) ได้ ดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด และอยู่ในระดับ ยอมรับได้
5. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR) ได้ดำเนินการจัดการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
5.1 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิ์ในระบบก่อนที่จะกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานใหม่
5.2 มีการตรวจสอบสิทธิ์และตรวจเช็คสิทธิ์ทุก ๆ เทอม
ผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR) ได้ดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด และอยู่ในระดับ ยอมรับได้
7. มีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ไปใช้ในการปรับแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
คณะกรรมการได้ร่วมกันรวบรวมประเด็นความเสี่ยงของแต่ละงานในปีที่ผ่านมาที่มีความเสี่ยงอยู่ในลำดับสูง อีกทั้งได้นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำสำนักทะเบียนและประมวลผล เป็นแนวทางประกอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมถึงประเมินความเสี่ยง ทั้งด้านโอกาสและผลกระทบ ตลอดจนจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงว่าอยู่ในระดับใด ครอบคลุมความเสี่ยง 4 ด้าน เพื่อจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ (1.5-7-1 และ 1.5-7-2)
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR) โครงการ/กิจกรรม/กระบวนการ : การดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ การแสดงข้อมูลนักศึกษาในระบบบริการการศึกษาออนไลน์
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR) โครงการ/กิจกรรม/กระบวนการ : การเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ เอกสารประกอบการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน หรือไม่สอดคล้องกับกิจกรรมที่ดำเนินการ
3. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operation Risk : OR) โครงการ/กิจกรรม/กระบวนการ ดังนี้
3.1 นักศึกษาไม่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ นักศึกษาลงทะเบียนเรียนข้ามหลักสูตรโดยจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไม่เท่ากันหรือน้อยกว่า
3.2 ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานตามภารกิจ โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ รูปแบบพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง (Office Syndrome)
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk: CR) มีโครงการ/กิจกรรม/กระบวนการ ดังนี้
4.1 การตีความคลาดเคลื่อนของข้อบังคับ ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยมีปัจจัยเสี่ยง บุคลากรไม่ได้รับการอบรมความรู้ข้อบังคับ ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องและเป็นปัจจุบัน
4.2 การแจ้งสถานะการพ้นสภาพทางการศึกษาของนักศึกษาผ่านระบบบริการการศึกษาออนไลน์ โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ
- ขาดการประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีนักศึกษาที่ได้รับทุน กยศ. ส่งผลกระทบเชื่อมโยงกับการแจ้งสถานะการพ้นสภาพของนักศึกษา
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5967, โทรสาร. 0-5388-5965 admin@cmru.ac.th