พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
053-885960-71
โทรสาร
053-885965
มาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ 3 กำหนดให้หน่วยงานมีการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่หน่วยงานแห่งการเรียนรู้ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้หน่วยงานมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การรวบรวม การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในหน่วยงาน การกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น
แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จหรือ สู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
สำนักทะเบียนและประมวลผล ได้เชิญ ผศ.ดร.เสริมศักดิ์ อาษา และนางอุทัยวรรณ ปันนา ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการยกเว้นการเรียนรายวิชาด้วยวิธีการทดสอบด้วยการสอบที่ไม่ใช่การทดสอบมาตรฐาน (Non-standardized Test) รวมทั้งบุคลากรของสำนักทะเบียนและประมวลผล ที่มีความรู้เกี่ยวกับ การยกเว้นการเรียนรายวิชาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การยกเว้นการเรียนรายวิชาด้วยวิธีกาiทดสอบด้วยการสอบที่ไม่ใช่การทดสอบมาตรฐาน (Non-standardized Test) ของนักศึกษาหลักสูตร เทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง 4 ปี (เทียบโอน) เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติและขั้นตอนการยกเว้นการเรียนรายวิชาด้วยวิธีการทดสอบด้วยการสอบที่ไม่ใช่การทดสอบมาตรฐาน (Non-standardized Test) รวมทั้งบุคลากรสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ การให้คำปรึกษาแก่บุคลากรในฝ่าย
ต่าง ๆ หรือหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนได้
1. มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
สำนักทะเบียนและประมวลผล ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ (1.4-1-1) ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการกำหนดประเด็นความรู้ และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสำนัก โดยให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงาน และมีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ประจำปีงบประมาณ 2565 (1.4-1-2 และ 1.4-1-3) โดยได้กำหนดประเด็นความรู้ การจัดการความรู้ เรื่อง “การยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน)” ซึ่งประเด็นความรู้ดังกล่าวมีความสอดคล้องกับกับแผนบริหารความเสี่ยงและประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการความรู้เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
2. มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะอย่างชัดเจนตามประเด็น ที่กำหนดใน ข้อ 1
ในการดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ในครั้งนี้ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษาหมู่เรียน ประธานหลักสูตร 4 ปี (เทียบโอน) หัวหน้างานวิชาการคณะและวิทยาลัย และบุคลากรสำนักทะเบียนและประมวลผล (1.4-2-1) เพื่อเข้าร่วมการประชุมการจัดการความรู้ และสร้างความเข้าใจขั้นตอน และแนวปฏิบัติในการยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) ในการนี้ได้จัดทำคู่มือ การยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) (1.4-2-2)
3. มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit nowledge) เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1
สำนักทะเบียนและประมวลผล ได้เชิญผศ.ดร.เสริมศักดิ์ อาษา หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และอาจารย์ประจำหลักสูตร เทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง และนางอุทัยวรรณ ปันนา หัวหน้างานวิจัยและบริการการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการยกเว้นการเรียนรายวิชาด้วยวิธีการทดสอบด้วยการสอบที่ไม่ใช่การทดสอบมาตรฐาน (Non-standardized Test) รวมทั้งบุคลากรของสำนักทะเบียนและประมวลผล ที่มีความรู้เกี่ยวกับ การยกเว้นการเรียนรายวิชาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การยกเว้นการเรียนรายวิชาด้วยวิธีการทดสอบด้วยการสอบที่ไม่ใช่การทดสอบมาตรฐาน (Non-standardized Test) ของนักศึกษาหลักสูตร เทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง 4 ปี (เทียบโอน) เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติและขั้นตอนการยกเว้นการเรียนรายวิชาด้วยวิธีการทดสอบด้วยการสอบที่ไม่ใช่การทดสอบมาตรฐาน (Non-standardized Test) ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมสำนักทะเบียนและประมวลผลหลังจากนั้น นายยงยุทธ แสนใจพรม หัวหน้างานทะเบียนและประมวลผลและนางอาภาวรรณ ยะปะนัน ผู้รับผิดชอบงานเทียบโอนและยกเว้นการเรียนรายวิชา ได้ดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้ มาจัดทำ (ร่าง) แนวปฏิบัติ และขั้นตอนการยกเว้นการเรียนรายวิชาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) (1.4-3-2)
สำนักทะเบียนและประมวลผล ได้จัดประชุมบุคลากร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากร สำนักทะเบียนและประมวลผล เรื่อง การยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) วันที่ 2 มีนาคม 2565 (1.4-3-2 และ 1.4-3-3 )
4. มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ
จากการประชุมบุคลากร สำนักทะเบียนและประมวลผล เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 จึงได้นำข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรมาปรับแก้ไข แนวปฏิบัติและขั้นตอนการยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) โดยรวบรวมไว้ใน (ร่าง) คู่มือการยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) และประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 27 เมษายน 2565 เพื่อพิจารณา (ร่าง) คู่มือการยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) (1.4-4-1) ซึ่งงานทะเบียนและประมวลผล ได้ดำเนินการนำข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมคณะกรรมการการจัดความรู้ (ครั้งที่2/2565) มาปรับแก้ไข เพื่อจัดทำเล่มคู่มือ การยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) (1.4-4-2) โดยได้เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านเว็บไซต์ของสำนักทะเบียนและประมวลผล https://shorturl.asia/648O7(1.4-4-3)
5. มีการกำกับ ติดตาม การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในข้อ 4 ไปใช้ในการปฏิบัติจริง
จากการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2565 ได้องค์ความรู้ที่เกิดขึ้น คือ ความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนการยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) (1.4-5-1)
สำนักทะเบียนและประมวลผล ได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) หัวข้อ “เจาะประเด็น การยกเว้นการเรียนรายวิชา”ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 โดยผู้เข้าร่วมได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษาหมู่เรียน ประธานหลักสูตร 4 ปี (เทียบโอน) หัวหน้างานวิชาการคณะและวิทยาลัย และบุคลากรสำนักทะเบียนและประมวลผล (1.4-5-2) ซึ่งมีติดตามโดยการประเมินผลหลักจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) หัวข้อ “เจาะประเด็น การยกเว้นการเรียนรายวิชา” โดยผลการประเมิน ความรู้ที่ได้รับเป็นประโยชน์ต่อการแนะนำและให้คำปรึกษานักศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 คะแนน ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการยกเว้นการเรียนรายวิชาให้กับนักศึกษาได้ (1.4-5-3)
ทั้งนี้สำนักทะเบียนและประมวลผล ได้เข้าร่วมกิจกรรม CMRU KM Day 2022 : การจัดการความรู้ สู่ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ในวันที่ 28 มิถุนายน 2565 โดยการจัดกิจกรรมรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM Meeting ซึ่งสำนักทะเบียนและประมวลผลได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “เจาะประเด็น การยกเว้นการเรียนรายวิชา” ซึ่งมีการติดตาม โดยการประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมกิจกรรม CMRU KM Day 2022 : การจัดการความรู้ สู่ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) โดยผลการประเมิน สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 คะแนน (1.4-5-4)
6. มีองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้อย่างน้อย 1 ประเด็น และเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
ภายหลังจากการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2565 องค์ความรู้ที่เกิดขึ้น คือ ความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนการยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) (1.4-6-1) และได้คู่มือการยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ คู่มือการยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) ดังนี้
1) จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ของสำนักทะเบียนและประมวลผล (1.4-6-2)
2) เว็บไซต์ของสำนักทะเบียนและประมวลผล https://shorturl.asia/648O7 (1.4-6-3)
3) จัดส่งเล่มคู่มือ การยกเว้นการเรียนรายวิชา ระดับปริญญาตรี 4 ปี (เทียบโอน) ไปยังคณะและวิทยาลัย (1.4-6-4)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5967, โทรสาร. 0-5388-5965 admin@cmru.ac.th