พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
053-885985-7
โทรสาร
053-885987
สถาบันวิจัยและพัฒนามีการส่งเสริมสนับสนุนให้ดำเนินงานบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศาสตร์พระราชา ตามพันธกิจและศักยภาพของมหาวิทยาลัยโดยกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมถึงกำหนดเวลา ในการดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างเป็นรูปธรรม โดยบูรณาการความร่วมมือในมหาวิทยาลัย (การบูรณาการองค์ความรู้ของอาจารย์ในลักษณะทั้งข้ามศาสตร์และในศาสตร์เดียวกัน การบูรณาการการบริการวิชาการสู่การจัดการเรียนการสอน) และภายนอกมหาวิทยาลัย (การบูรณาการความร่วมมือระหว่างอาจารย์กับบุคลากรของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการชุมชนและประชาชน) ในการดำเนินโครงการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับแผนพัฒนาท้องถิ่น
5.จำนวนสะสมที่เพิ่มขึ้นของหมู่บ้านและ/หรือโรงเรียนที่ได้รับการบริการวิชาการฯ จากมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 1 แห่ง มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามตัวชี้วัดของการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทาลัยราชภัฏ อาทิเช่น ร้อยละของหมู่บ้านที่มีดัชนีชี้วัดความสุข มวลรวมชุมชนเพิ่มขึ้น อัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากร อัตราการเพิ่มขึ้นของครัวเรือน จำนวนแหล่งเรียนรู้ จำนวนวิสาหกิจชุมชน จำนวนผู้ประกอบการใหม่ ฯลฯ
การวางแผนและดำเนินการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศาสตร์พระราชา ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาจำแนกประเภทการพัฒนาออกได้ 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ตามความต้องการของแต่ละท้องถิ่น
สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับการให้บริการวิชาการและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาชุมชนให้ได้รับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา โดยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามความต้องการการพัฒนาของชุมชนเป้าหมายเป็นหลัก (2.5-1-1) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยงานประสานที่ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยตามกลไกการดำเนินการด้านการพัฒนาพื้นที่ ตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย ใช้ระบบและกลไกการดำเนินการด้านการพัฒนาพื้นที่ ดังแสดงในเอกสาร (2.5-1-2)
คณะกรรมการขับเคลื่อนวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมาย และวิเคราะห์เพื่อดำเนินการพัฒนาต่อยอดขยายผลในปีต่อไป ร่วมกับ นักวิจัย คณาจารย์ และชุมชน ต่อไป (A)
การดำเนินการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศาสตร์พระราชา โดยการบูรณาการองค์ความรู้ของอาจารย์ในลักษณะข้ามศาสตร์อย่างน้อย 2 ศาสตร์ขึ้นไป
สถาบันวิจัยและพัฒนา ดำเนินการบริการวิชาการโดยการที่บูรณาการองค์ความรู้ของอาจารย์ในลักษณะข้ามศาสตร์ เพื่อให้การบริการวิชาการเป็นไปตามความต้องการของชุมชนผู้รับบริการ ทั้งนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการองค์ความรู้ข้ามศาสตร์จากคณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย บุคลากรในท้องถิ่นหรือบุคลากรในพื้นที่เป้าหมาย และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอก เพื่อตอบสนองความต้องการชุมชนให้ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา
โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้เป็นเครือข่ายการบริการความรู้ชุมชน เพื่อส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจ ในสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่นภายใต้พื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยได้บูรณาการศาสตร์ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ทั้งนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน ตชด.และชุมชนโดยรอบ ให้เป็นไปตามตัวชี้วัดของโครงการโดยการใช้กิจกรรมที่บูรณาการศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการอาหาร คือ (1) การบูรณาการศาสตร์ด้านการบริหารจัดการจากทีมงานคณะวิทยาการจัดการในเรื่องของการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการพัฒนาการตลาด (2) การบูรณาการศาสตร์ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดำเนินกิจกรรมการ พัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ กาแฟบ้านสามหมื่นโดยทีมงานคณะวิทยาการจัดการและคณาจารย์จากภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ (3) การ บูรณาการศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการอาหาร ดำเนินกิจกรรมการแปรรูปอาหาร ดำเนินกิจกรรมการแปรรูปอาหารโดยผลิตผลทางการเกษตรในท้องถิ่น เพื่อให้เป็นแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้กับนักเรียนและคนในชุมชนโดยรอบโรงเรียน ร่วมกับภาควิชาคหกรรมศาสตร์ (2.5-2-2)
ร้อยละสะสมของจำนวนหมู่บ้านและ/หรือจำนวนโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายได้มีการดำเนินโครงการบริการวิชาการฯ อย่างเป็นรูปธรรม เพิ่มขึ้น
การดำเนินงานด้านการบริการวิชาการและโครงการพระราชดำริฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้กำหนด โดยมีการดำเนินงานบริการวิชาการร่วมกับชุมชนที่มีความต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 - 2563 ประกอบด้วยพื้นที่
1) ทต.ริมเหนือ อ.แม่ริม
2) อบต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง
3) อบต.โป่งแยง อำเภอแม่ริม
5) อบต.กึ๊ดช้าง อำเภอแม่แตง
1. ตำบลริมเหนือ ในปี 2559-2560 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการบริการวิชาการในพื้นที่ตำบลริมเหนือ ภายใต้โครงการไร้ค่าแต่พอเพียง เพื่อจัดการขยะของคนในชุมชนและต้องการเป็นต้นแบบของการจัดการขยะในชุมชน จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะโดยชุมชน เพื่อลดปัญหาขยะในชุมชนและปัญหาการกำจัดขยะของเทศบาล ตลอดจนเพื่อชุมชนต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนรวมทั้งผู้ที่สนใจ ในปี 2561 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ร่วมกับองค์กรภายนอกในการดำเนิน โครงการไร้ค่าแต่พอเพียง : ชุมชนจัดการขยะ ตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม โดยการทำบ่อปุ๋ยอินทรีย์และสอนวิธีการทำปุ๋ย โดยมีเครือข่ายความร่วมมือ ดังนี้ 1) บริษัทโตโยต้าล้านนา จำกัด สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ 2) สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ริม สนับสนุนบุคลากรในการให้ความรู้ ในการทำบ่อปุ๋ยอินทรีย์ 3) เทศบาลตำบลริมเหนือ สนับสนุนบุคลากรในการประสานงานดำเนินงานโครงการ โดยให้ความรู้ การบริหารศูนย์รับซื้อขยะ การแปรรูป การผลิตปุ๋ยและปุ๋ยน้ำชีวภาพ เพื่อใช้ทางการเกษตร จนได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนของจังหวัดเชียงใหม่ประกวดโครงการชุมชน Zero Waste กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2562 มีการบริการวิชาการเพื่อแก้ปัญหาผักตบชวาในลำน้ำแม่ริมที่มีมากเกินไป มหาวิทยาลัยจึงได้ถ่ายทอดองค์เกี่ยวกับการนำผักตบชวามาจักสานทำตะกร้าและเครื่องใช้ และในปี 2563 มหาวิทยาลัยร่วมกับธนาคารออมสิน ภายใต้โครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น บริการวิชาการด้านการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเขียวให้กับกลุ่มสมุนไพร 9 อุ้ย ส่งผลให้กลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ในปี 2564 – 2565 มีการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T) ส่งเสริมด้านการเพาะปลูกผักพื้นบ้าน พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยได้ส่งเสริมทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าให้กับกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าปักหมู่ 4 ให้สามารถพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเก้าอุ้ย ให้มีรูปแบบที่ทันสมัยและเพื่อเพิ่มกลุ่มลูกค้าที่เป็นวัยรุ่นมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งการส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่วยแบบออนไลน์ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ในปี 2564 – 2565
2. ตำบลป่าแป๋ ได้รับการบริการวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการผลิตชาเมี่ยง ตั้งแต่ปี 2560 ทำให้มีผู้นำชุมชนจัดตั้งกลุ่มอาชีพแปรรูปชาเมี่ยงป่าแป๋ และรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยง สู่การผลิตเพื่อจำหน่วย จากการแปรรูปน้ำชา ชาแห้ง กัมมี่ สบู่ แชมพู โดยกลุ่มที่มีการบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน สร้างรายได้ให้กลุ่มที่มากขึ้นตามลำดับจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างเครือข่ายทางการค้าจากการบริการวิชาการและการให้คำปรึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
3. ตำบลโป่งแยง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ลงพื้นที่ตามความต้องการของชุมชนในด้านความต้องการพัฒนาความรู้ด้านการท่องเที่ยวและการส่งเสริมอาชีพของคนในชุมชน ในปี 2561 มหาวิทยาลัยได้บริการวิชาการในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากผลิตผลทางการเกษตรที่มีอยู่จำนวนมากในพื้นที่ ในปี 2562 ส่งเสริมโดยการบริการวิชาการให้ชุมชนแปรรูปไม้ไผ่ที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ประโยชน์โดยการทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ การทำปุ๋ย และมีหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยร่วมส่งเสริมให้มีการแปรรูปอาหาร การแปรรูปสมุนไพร เพื่อให้เกิดอาชีพเสริมให้กับชุมชน จากการดำเนินการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้อย่างเป็นระบบ และในปี 2563 มีการส่งเสริมให้เลี้ยงไก่ไข่ให้กับนักเรียนและชุมชน มีในปี 2564 – 2565 การดำเนินการโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T) ได้ส่งเสริมถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายเพื่อการอนุรักษ์ และส่งเสริมการขยายพันธุ์เพื่อสร้างรายได้ รวมถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากในพื้นที่ ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาดอกเอื้องเป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบล
4. ตำบลกึ๊ดช้าง ปี 2562 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ กึ๊ดช้างโมเดล และได้มีการเสนอขออนุมัติงบประมาณการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชน จากข้อมูลการลงพื้นที่เหลาโจทย์ความต้องการชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในปี 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย ได้จัดการบริการวิชาการให้ความรู้ชุมชนในตำบลกึ๊ดช้าง โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาชีวมวลระดับชุมชน เพื่อช่วยลดพลังงานในการเผาไหม้ของคนในชุมชน การดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนโดยรอบโรงเรียน ตชด.ไลออนส์มหาจักร 9 ในปี 2564 มีการดำเนินโครงการพฤฒามัคคุเทศก์ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้สื่อความหมายของท้องถิ่น ที่เน้นด้านการนำเที่ยวของชุมชน สามารถนำไปสร้างรายได้ให้ชุมชน และโครงการพฤฒาวิทยากรท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพ ในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดให้ความรู้ เกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถนำไปสร้างอาชีพ จากฐานทรัพยากรท้องถิ่น สร้างรายได้ และเกิดความภาคภูมิใจเห็นคุณค่าในท้องถิ่นตนเอง
5. การพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
มีการดำเนินการบริการวิชาการร่วมกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 จำนวน 33 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน นอกจากการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพให้กับครู ประจำปีในภาพรวมทั้ง 33 แห่งแล้ว สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาโรงเรียนและชุมชนโดยรอบโรงเรียนปีละ 2 โรงเรียน ร่วมดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามความต้องการของแต่ละพื้นที่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนให้ศูนย์บริการความรู้แก่ชุมชน โดยการทำงานได้ดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่/ชุมชนเป้าหมายเป็นฐาน ด้วยการขยายจำนวนชุมชนเป้าหมายทุกปีเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ (2.5-4-1)
มีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคมร่วมดำเนินการในพื้นที่บริการ ทั้งนี้ต้องมีหน่วยงานอื่นเข้าร่วมในกิจกรรมเทียบกับจำนวนโครงการทั้งหมด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 4 โครงการ และได้ร่วมดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ทุกโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ดังนี้
1. โครงการการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้เป็นเครือข่ายการบริการความรู้ชุมชน เพื่อส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจ ในสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่นภายใต้พื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดำเนินงานร่วมกับ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (adiCET) ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ
2. โครงการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อการพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินงานร่วมกับ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 โรงเรียนสาธิตฯ คณะครุศาสตร์
3. โครงการการบริการวิชาการการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมจากผลงานวิจัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ และวิชาชีพแก่ชุมชน ดำเนินงานร่วมกับ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. โครงการพฤฒาวิทยากรท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพ ในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดให้ความรู้ เกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ดำเนินงานร่วมกับ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2.5-4-1)
จำนวนสะสมที่เพิ่มขึ้นของหมู่บ้านและ/หรือโรงเรียนที่ได้รับการบริการวิชาการฯ จากมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 1 แห่ง มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามตัวชี้วัดของการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทาลัยราชภัฏ อาทิเช่น ร้อยละของหมู่บ้านที่มีดัชนีชี้วัดความสุข มวลรวมชุมชนเพิ่มขึ้น อัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากร อัตราการเพิ่มขึ้นของครัวเรือน จำนวนแหล่งเรียนรู้ จำนวนวิสาหกิจชุมชน จำนวนผู้ประกอบการใหม่ ฯลฯ
หมู่บ้านชุมชนที่ได้รับการบริการวิชาการภายใต้โครงการการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้เป็นเครือข่ายการบริการความรู้ชุมชน เพื่อส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจ ในสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่นภายใต้พื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับชุมชนทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนให้ดีขึ้น ดังนี้
1. บ้านสามหมื่น ที่ได้ร่วมกันดำเนินการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กาแฟบ้านสามหมื่น และจัดตั้งร้านกาแฟเพื่อเป็นการฝึกอาชีพ ส่งเสริมกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้กับเยาวชน ส่งเสริมการพัฒนาตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์กาแฟให้กับชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มรายได้จากการผลิตกาแฟในพื้นที่ โดยการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัย จากการบริการวิชาการ ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. บ้านปู่หมื่นใน ได้มีการบริการวิชาการเพื่อให้ชุมชนได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น เป็นเพิ่มช่องทางหารายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ และส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมกับโรงเรียน สร้างรายได้ให้กับกลุ่มและนักเรียนจากการผลิตสินค้าจากผลิตภัณฑ์ใหม่ (2.5-5-1)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th