พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
053-885985-7
โทรสาร
053-885987
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษามีวิสัยทัศน์ คือ เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน พันธกิจหลักในให้บริการทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยการให้บริการให้แก่ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และบุคคลทั่วไป สำนักฯ ได้แบ่งกลุ่มงานให้บริการออกเป็น 7 กลุ่มงานหลัก ดังนี้ 1) บริหารและจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) บริหารงานทั่วไป 3) พัฒนาระบบสารสนเทศ 4) ดูแลและบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 5) จัดอบรมและบริการวิชาการ 6) การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ และ 7) งานบริการ (จองห้องประชุม ห้องปฏิบัติการ การเรียนการสอนทางไกล และออกแบบสื่อกราฟิกและเว็บไซต์) การให้บริการทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็นภารกิจสำคัญของหน่วยงาน ดังนั้น ระยะเวลาในการตอบสนองกับผู้รับบริการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ทำให้ผู้รับบริการได้รับบริการอย่างรวดเร็ว และได้ทราบถึงผลหรือความก้าวหน้าของการขอรับบริการ กลุ่มงานทั้ง 7 กลุ่มงานของหน่วยงานจึงได้ร่วมกันกำหนดเวลาในการตอบสนอง (Response Time) ของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในการติดต่อกลับผู้รับบริการภายใน 1 วันทำการ เท่ากับ 8 ชั่วโมงของเวลาทำการ โดยไม่นับวันหยุดราชการ เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพของการทำงาน
เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
รายงานจากระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการให้บริการ (Monitoring and Evalution System : MES) เป็นรายงานเวลาที่ใช้ในการติดต่อกลับผู้ขอรับบริการของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ : ………5…….คะแนน
การประกันคุณภาพภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ระดับหน่วยงานสนับสนุน (เอกสารหมายเลข 2.7-1-1) ได้กำหนดให้มีองค์ประกอบที่ 2 ตัวบ่งชี้ตามภารกิจของหน่วยงานโดยสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาได้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ที่ 2.7 ผลสำเร็จของระยะเวลาในการตอบสนองกับผู้รับบริการ (Response Time) สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาจึงได้จัดทำแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2565 (เอกสารหมายเลข 2.7-1-2) และ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการให้บริการ (Monitoring and Evaluation System : MES) สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (เอกสารหมายเลข 2.7-1-3) เพื่อวางแผนการดำเนินงาน กำหนดช่องทางในการเก็บข้อมูลการให้บริการของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย 7 กลุ่มงานหลัก ได้แก่ 1) บริหารและจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) บริหารงานทั่วไป 3) พัฒนาระบบสารสนเทศ 4) ดูแลและบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 5) จัดอบรมและบริการวิชาการ 6) การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ และ 7) งานบริการ (จองห้องประชุม ห้องปฏิบัติการ การเรียนการสอนทางไกล และออกแบบสื่อกราฟิกและเว็บไซต์) ในปีงบประมาณ 2565 หน่วยงานมีช่องทางการให้บริการที่สอดคล้องกับมาตราการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จึงทำให้ผู้รับบริการมีช่องทางติดต่อหน่วยงานหลากหลายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการให้บริการ (Monitoring and Evalution System : MES) ที่เว็บไซต์ http://www.mes.cmru.ac.th , Facebook Fanpage , Line , eMail และ โทรศัพท์ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาจึงได้เพิ่มกลยุทธในการเก็บข้อมูลให้สามารถประเมินได้สะดวกขึ้น โดยเก็บข้อมูลการขอรับบริการผ่านระบบ MES และผ่านช่องทางการให้บริการอื่นๆ เช่น Facebook, Line และ eMail ผู้รับบริการสามารถประเมินผลการให้บริการผ่านแบบฟอร์มประเมินการขอรับบริการสำนักดิจิทัลฯที่ URL: https://forms.gle/ytL7wQWAf1JaJnLVA ทั้งนี้ผู้บริหารของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษามอบหมายให้บุคลากรของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาเก็บข้อมูลหลังการให้บริการตลอดปีงบประมาณ 2565 และนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำรายงานผลสำเร็จของระยะเวลาในการตอบสนองกับผู้รับบริการต่อไป (เอกสารหมายเลข 2.7-1-4) จากการเก็บข้อมูลการให้บริการตลอดปีงบประมาณ 2565 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
หมายเหตุ : นำผลรวมรายการทั้งหมดของร้อยละถ่วงน้ำหนักในรายการที่ใช้เวลา≤ 8 ชม. มาเทียบคะแนนจากเกณฑ์การประเมิน ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2564 - 30 กันยายน พ.ศ.2565
จากตารางผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้
1) งานพัฒนาระบบสารสนเทศ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 495 รายการ มีรายการที่ใช้เวลา ≤ 8 ชม. จำนวน 495 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.95 มีรายการที่ใช้เวลา ≥8 ชม. จำนวน 0 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.00
2) งานการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 861รายการ มีรายการที่ใช้เวลา ≤ 8 ชม. จำนวน 854รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 1.63 มีรายการที่ใช้เวลา ≥8 ชม. จำนวน 7 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.01
3) งานบริหารงานทั่วไป มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 1,465 รายการ มีรายการที่ใช้เวลา ≤ 8 ชม. จำนวน 1,455 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 2.78 มีรายการที่ใช้เวลา ≥8 ชม. จำนวน 10 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.02
4) งานบริหารและจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 48,967 รายการ มีรายการที่ใช้เวลา ≤ 8 ชม. จำนวน 48,653 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 93.00 มีรายการที่ใช้เวลา ≥8 ชม. จำนวน 314 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.60
5) งานดูแลและซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 288 รายการ มีรายการที่ใช้เวลา ≤ 8 ชม. จำนวน 281 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.54 มีรายการที่ใช้เวลา ≥8 ชม. จำนวน 7 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.01
6) งานบริการ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 216 รายการ มีรายการที่ใช้เวลา ≤ 8 ชม. จำนวน 216 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.41 มีรายการที่ใช้เวลา ≥8 ชม. จำนวน 0 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.00
7) งานจัดอบรมและบริการวิชาการ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 21 รายการ มีรายการที่ใช้เวลา ≤ 8 ชม. จำนวน 21 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.04 มีรายการที่ใช้เวลา ≥8 ชม. จำนวน 0 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.00
ภาพรวม 7 งานของสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งหมด 52,313 รายการ มีรายการที่ใช้เวลา ≤ 8 ชม. จำนวน 51,975 รายการ คิดเป็น ร้อยละถ่วงน้ำหนัก 99.35 มีรายการที่ใช้เวลา ≥8 ชม. จำนวน 338 รายการ คิดเป็นร้อยละถ่วงน้ำหนัก 0.65
ดังนั้นเมื่อนำผลรวมรายการทั้งหมดของร้อยละถ่วงน้ำหนักในรายการที่ใช้เวลา ≤ 8 ชม. มาเทียบคะแนนจากเกณฑ์การประเมินจึงได้คะแนนเท่ากับ 5 คะแนน (เอกสารหมายเลข 2.7-1-5)
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
< ร้อยละ 60 |
ร้อยละ 60-69 |
ร้อยละ 70-79 |
ร้อยละ 80-89 |
≥ ร้อยละ 90 |
ผลการประเมิน
รายการ |
ปีงบประมาณ 2563 |
ปีงบประมาณ 2564 |
||
ประเมินตนเอง |
กรรมการประเมิน |
ประเมินตนเอง |
กรรมการประเมิน |
|
เป้าหมาย |
4 คะแนน |
5 คะแนน |
4 คะแนน |
5 คะแนน |
ผลการดำเนินงาน |
5 คะแนน |
5 คะแนน |
5 คะแนน |
5 คะแนน |
การบรรลุเป้าหมาย |
บรรลุ |
บรรลุ |
บรรลุ |
บรรลุ |
นำผลการดำเนินงานข้างต้นรายงานต่อคณะกรรมการดำเนินงานติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการให้บริการสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 คณะกรรมการมีมติรับทราบผลคะแนน และให้นำข้อมูลดังกล่าวรายงานผลการประกันคุณภาพประจำปีงบประมาณ 2565 ทั้งนี้คณะกรรมการมีข้อเสนอแนะให้เก็บข้อมูลตลอดปีงบประมาณ 2566 และกำหนดค่าเป้าหมายการประเมินตนเองของตัวบ่งชี้ที่ 2.7 ผลสำเร็จของระยะเวลาในการตอบสนองกับผู้รับบริการ (Response Time) ในปีงบประมาณ 2566 เท่ากับ 4 คะแนน (เอกสารหมายเลข 2.7-1-6)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th