หน่วยงาน : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์ติดต่อ

053-885860

โทรสาร

053-885860

คำอธิบายตัวบ่งชี้


ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติ


รอบระยะเวลา



เกณฑ์มาตรฐาน


จำนวนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม หรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับ 6 เรื่อง

เกณฑ์การประเมิน
มีการจัดการด้านศิลปะวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม หรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ


เกณฑ์การประเมิน

จำนวนองค์ความรู้ 2 เรื่อง

จำนวนองค์ความรู้ 3 เรื่อง

จำนวนองค์ความรู้ 4 เรื่อง

จำนวนองค์ความรู้ 5 เรื่อง

จำนวนองค์ความรู้ 6 เรื่อง

5

5

7

บรรลุ

5

6

จุดแข็ง

หน่วยงานมีฐานข้อมูล สื่อการเรียนรู้ ที่หลากหลาย


จุดที่ควรพัฒนา

ไม่มี


ข้อเสนอแนะ

ควรพัฒนาการประชาสัมพันธ์เพื่อการเผยแพร่ผลงานทั้งหนังสือ สื่อการเรียนรู้ ตลอดจนงานสร้างสรรค์ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุชานาฏ สิตานุรักษ์ 053-885882
นางสาววราภรณ์ โยธาราษฎร์ 053-885883

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 

เรื่องที่ 1 

ผลการดำเนินงาน


1.  วารสารข่วงผญา The Journal of Thai Lanna Wisdom
     ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (2565) รวบรวมโดย นางสาวปนัดดา โตคำนุช

     เป็นวารสารทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ ความคิด ทัศนะ และนำเสนอข้อค้นจากการศึกษาและวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรม อาทิ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยา สังคมวิทยาชาติพันธุ์วิทยา วัฒนธรรมศึกษา การจัดการทางวัฒนธรรม ศาสนา ภาษาและวรรณกรรม ดนตรีและการแสดง เป็นต้น และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ บูรณาการ และต่อยอดองค์ความรู้ ในการสร้างคุณค่าแก่ชุมชน ดำเนินการประสานงานโครงการ โดย นางสาวปนัดดา  โตคำนุช

       วารสาร “ข่วงผญา” รับตีพิมพ์บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article) โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่าง
การพิจารณาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอื่น ๆ ทั้งนี้ บทความทุกบทความจะต้องผ่าน
การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ท่าน ในลักษณะของผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบว่าผู้เขียนเป็นใคร และผู้เขียนไม่ทราบว่าผู้ทรงคุณวุฒิเป็นใคร (Double – blinded Review) มีการเผยแพร่ในรูปแบบรูปเล่มไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ และให้บริการในห้องศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา  ชั้น 1 อาคารเทพรัตนราชสุดา  ในปีงบประมาณ 2564 วารสารข่วงผญา ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (2021) มกราคม – มิถุนายน 2564 มีบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ จำนวน 5 บทความ  และในระบบฐานข้อมูลวารสารออนไลน์ ThaiJo (2.2-1-1)

     บทความวิจัย

  • ท่วงทำนองการเขียนและเหตุการณ์สำคัญจากบันทึกพระครูรัตนปัญญาญาณ   สุนทร คำยอด
  • พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา กรณีศึกษา แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์
    รัตนะ ตาแปง, อิงอร จุลทรัพย์, สุดาพร นิ่มขำ
  • ความสุขที่แสนอบอุ่น  ประไพ สุขดำรงวนา
  • ปางหมู” ศิลปกรรมเพื่อชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  จารุวรรณ เพ็งศิริ, สิริพร คืนมาเมือง, สมศักดิ์ พรมจักร

 

     บทความวิชาการ

สุขภาวะดีสมใจ สูงวัยป่าตุ้มดอน  สุรเดช ลุนิทรานนท์, ณกานต์ อนุกูลวรรธกะ        

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.2-1-1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/issue/view/17418

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 

เรื่องที่ 2

ผลการดำเนินงาน


2.  หมากไหมในวิถีล้านนา รวบรวมโดย นาย ภวัต ณ สิงห์ทร

     หนังสือหมากไหมในวิถีล้านนา เรียบเรียงขึ้นจากการศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง  ๆ การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล การสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับวัฒนธรรมหมากของชาวล้านนา โดยเฉพาะเรื่องภูมิปัญญาการทำหมากไหมและการใช้ประโยชน์จากหมากไหม เนื้อหาประกอบไปด้วย ความสำคัญของหมาก ลักษณะทั่วไป ประโยชน์ของหมากในชีวิตประจำวัน ภูมิปัญญาในการทำหมากไหม หมากไหมในวิถีชีวิตชาวล้านนา ตลอดจน คำกล่าวที่ฝากไว้ให้ลูกหลาน  (2.2-1-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.2-2-1 https://www.culture.cmru.ac.th/web60/wp-content/uploads/book/makmai-lanna.pdf

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 

เรื่องที่ 3

ผลการดำเนินงาน


3.  ผลงานสื่อสร้างสรรค์ “หมากไหม ภูมิปัญญาและวิถีชีวิต”  

          สื่อวีดิโอ “หมากไหม ภูมิปัญญาและวิถีชีวิต” เป็นภูมิปัญญาล้านนาที่มีความน่าสนใจ สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืชในท้องถิ่นล้านนา และยังคงมีความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา แต่ปัจจุบันการปลูกต้นหมากและภูมิปัญญาการทำหมากไหมได้รับความนิยมลดน้อยลงส่งผลกระทบต่อการนำมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านประเพณี พิธีกรรมของล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้เห็นความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชหมากและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ จึงได้รวบรวมองค์ความรู้เรื่องหมากไหมเพื่อใช้เป็นสื่อสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่า ความสำคัญ และประโยชน์ของหมาก อันจะนำไปสู่การอนุรักษ์ สืบสานมรดกภูมิปัญญาการทำหมากไหมให้คงอยู่กับแผ่นดินไทยสืบไป (2.2-3-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.2-3-1 https://www.youtube.com/watch?v=nVpYR_oGSnc

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 

เรื่องที่ 4

ผลการดำเนินงาน


4.  ผลงานสื่อสร้างสรรค์ “สารคดี พิธีกินอ้อผญา”

                   สารคดี พิธีกินอ้อผญา จัดทำโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีล้านนา พิธีกินอ้อผญา พิธีโบราณ ที่มีความเชื่อว่า เป็นการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมพิธีมีสติปัญญาที่ดี ฉลาดหลักแหลม มีปัญญาแตกฉาน เกิดการเรียนรู้ที่ดี ทั้งในสารคดีได้กล่าวถึง การอธิบายถึงปล้องอ้อ วิธีการจัดเตรียมปล้องอ้อและเครื่องประกอบพิธี ขั้นตอนและพิธีกรรมในการจัดพิธีกินอ้อผญา(2.2-4-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.2-4-1 https://www.youtube.com/watch?v=WafaPJsGVjc

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 

เรื่องที่ 5

ผลการดำเนินงาน


5.  ผลงานการปริวรรตจากคัมภีร์ใบลานและพับสา “สัพพะตำราสัตว์กลุ่มชาติพันธุ์ไท”    

    โดย ดร. ดิเรก  อินจันทร์  

     การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำรา องค์ความรู้ ความเชื่อ และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับสัตว์ที่บันทึกในคัมภีร์ใบลานและพับสาด้วยอักษรธรรมล้านนา อักษรไทลื้อ และอักษรไทขึน โดยปริวรรตให้เป็นอักษรไทย พร้อมภาพตัวอย่างเอกสาร แหล่งที่มา และคำอธิบายศัพท์ แบ่งเนื้อหาเป็น 5 ตอน คือ 1) ตำราลักษณะสัตว์ ได้แก่ สัตว์หิมพานต์ และสัตว์เลี้ยงทั่วไป ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ควาย และแมว 2) ความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์และปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ การเลี้่ยงสัตว์ตามปีเกิด (ชนิด และสี) การเลี้ยงสัตว์ตามวันเกิด คำทำนายการซื้อสัตว์มาเลี้ยง สัตว์และจำนวนสัตว์ที่ห้ามเลี้ยง สัตว์ประจำปีเกิดและเดือนเกิด สัตว์ที่เป็นเทพประจำเมือง และการฆ่าสัตว์ เป็นต้น 3) คำทำนายปรากฏการณ์เกี่ยวกับสัตว์ เช่น ทำนายเสียงการ้องและนกร้อง ทำนายหนูกัดผ้าและหนูกัดคน ทำนายสัตว์มาขึ้นหรือเกาะเรือน (ผึ้ง นกเขา นกกะปูด นกกาเหว่า งู ปลวก และบุ้ง) และคำทำนายสัตว์บอกเหตุ 4) โหราศาสตร์ วันดีวันเสียเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ วันเสือหลับตา วันหมีหลับตา วันหมูหลับตา วันผีกินสัตว์ วันสัตว์เฝ้าสิ่งของ วันคอกเต็ม-วันคอกเปล่า และ 5) ตำราอื่นๆ เกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ คำภาษาบาลีที่ใช้ในบทสวดถอนคนตาย กฏหมาย และคำทำนายฝัน (2.2-5-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.2-5-1 ผลงานการปริวรรต “สัพพะตำราสัตว์กลุ่มชาติพันธุ์ไท”

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 

เรื่องที่ 6

ผลการดำเนินงาน


6.  หนังสือแบบฝึกอ่านอักษรธัมม์ล้านนา (แจกไม้ เล่ม 2)  โดย นายภวัต  ณ สิงห์ทร

หนังสือแบบฝึกอ่านอักษรธัมม์ล้านนา (แจกไม้ เล่ม 2) จัดทำขึ้นต่อจากแบบฝึกอ่านอักษรธัมม์ล้านนาสำหรับผู้เริ่มต้น (แจกไม้ เล่ม 1) (จัดทำขึ้นในปีงบประมาณ 2564) เพื่อต้องการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้กับผู้เริ่มต้นศึกษาหรือผู้สนใจอักษรธัมม์ล้านนา (ตั๋วเมือง) โดยเริ่มต้นด้วยการอ่านพยัญชนะอักษรธัมม์ล้านนา จากนั้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องสระ หรือที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ไม้” สุดท้ายให้ผู้เรียนฝึกการผสมพยัญชนะกับสระ (แจกไม้) ไปตามลำดับ ซึ่งได้ใช้รูปแบบตัวอักษรธัมม์ล้านนาฟอนต์ LN-CMRU95 ได้แสดงจำนวนสระ (ไม้สระ) ไว้ทั้งหมด จำนวน 15 รูป (2.2-6-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.2-6-1 หนังสือแบบฝึกอ่านอักษรธัมม์ล้านนา (แจกไม้ เล่ม 2)

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 

เรื่องที่ 7

ผลการดำเนินงาน


7.  หนังสือเรียนอักษรธัมม์ล้านนา สำหรับประกอบการบรรยายภาษาล้านนา

    โดย นายภวัต  ณ สิงห์ทร

          หนังสือเรียนอักษรธัมม์ล้านนา สำหรับประกอบการบรรยายภาษาล้านนา เพื่อต้องการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้กับผู้เริ่มต้นศึกษาหรือผู้สนใจอักษรธัมม์ล้านนา (ตั๋วเมือง) โดยมีการอธิบาย เรื่อง พยัญชนะ อักขระ สระ วรรณยุกต์หรือเครื่องหมายกำกับเสียง ตัวสะกด เครื่องหมายแทนอักษร อักษรพิเศษ ตัวเลข การสะกดคำแบบภาษาบาลี และแบบฝึกอ่าน  (2.2-7-1)

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.2-7-1 หนังสือเรียนอักษรธัมม์ล้านนา สำหรับประกอบการบรรยายภาษาล้านนา

ระบบบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ
หน่วยงานสนับสนุน

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5860, โทรสาร. 0-5388-5860 ilaccmru@gmail.com

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561, สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่