หน่วยงาน : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์ติดต่อ

053-885860

โทรสาร

053-885860

คำอธิบายตัวบ่งชี้


สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน ในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาและเอกสารโบราณ โดยมีพันธกิจส่งเสริมการอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสานและเผยแพร่ สนับสนุนการบูรณาการงานเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนา กับการเรียนการสอนและกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมล้านนาและเอกสารโบราณ ตลอดจนสนับสนุน ส่งเสริม ภูมิปัญญาล้านนา

          แหล่งเรียนรู้ด้านงานเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนา คือ เป็นแหล่งที่จัดเก็บข้อมูล ด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนา ทั้งในรูปแบบเอกสารและรูปแบบไฟล์อิเล็คโทรนิกส์มีการให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนา ทั้งนี้ข้อมูลที่เผยแพร่ได้สร้างประโยชน์ทางการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ ผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรมและสื่อเผยแพร่ที่หลากหลายช่องทาง

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

1.  โครงการเกี่ยวกับศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมล้านนาและเอกสารโบราณ
2.  ระบบฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม
3.  เอกสาร/หลักฐานที่แสดงวิธีการในการให้บริการข้อมูล
4.  โครงการ/กิจกรรมที่มีการบูรณาการงานศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
5.  รายงานผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม
6.  ผลการประเมินจากผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม
7.  เอกสาร/หลักฐานในการขอใช้บริการข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม


รอบระยะเวลา



เกณฑ์มาตรฐาน


  1. มีการศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลทางด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนา
  2. มีการจัดการข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนา ทั้งในรูปแบบเอกสารและการออนไลน์บนเว็บไซต์
  3. แหล่งเรียนรู้มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการบูรณาการข้อมูลของแหล่งเรียนรู้กับการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนาเพิ่มขึ้น
  4. มีผลการดำเนินงานที่ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการได้รับความรู้ เกิดการเรียนรู้และ
    มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการสืบทอด สืบสานศิลปวัฒนธรรม
  5. แหล่งเรียนรู้สามารถนำข้อมูลด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนาไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างองค์ความรู้/งานวิจัย/งานสร้างสรรค์/งานนวัตกรรม และปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
  6. กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

เกณฑ์การประเมิน

มีการดำเนินการ 1 ข้อ

มีการดำเนินการ 2 ข้อ

มีการดำเนินการ 3 ข้อ

มีการดำเนินการ 4 ข้อ

มีการดำเนินการ 5 – 6 ข้อ

4

4

5

บรรลุ

5

5

จุดแข็ง

ไม่มี


จุดที่ควรพัฒนา

การพัฒนางานเพื่อสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรม


ข้อเสนอแนะ

ไม่มี


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุชานาฏ สิตานุรักษ์ 053-885882
นางสาววราภรณ์ โยธาราษฎร์ 053-885883

มีการศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลทางด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนา

ผลการดำเนินงาน


ในปีงบประมาณ 2565 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการดำเนินการศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลด้านศิลปะและวัฒนธรรมและเอกสารโบราณ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการจัดกิจกรรม/โครงการ การเผยแพร่ความรู้ ให้กับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป

1)  เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการ ณ วัดท้าวบุญเรือง ต.บ้านแหวน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเชิงวิชาการ การสำรวจและเก็บข้อมูลพระพุทธรูปโบราณของวัดท้าวบุญเรือง และกิจกรรม “ฮ๋อมใจ๋ปลูกต้นลาน” ซึ่งเพาะกล้าลานโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จำนวน 5 ต้น ณ หนองลาน (เดิม) วัดท้าวบุญเรือง

2)  การสำรวจ ทำความสะอาดและทำทะเบียนคัมภีร์ใบลาน หอสมุดธรรมโฆส วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  (กุมภาพันธ์- เมษายน 2565) ได้มีการสำรวจ ทำความสะอาด และทำทะเบียนคัมภีร์ใบลาน ณ หอสมุดธรรมโฆส วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ต.สุเทพ
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จำนวน 84 ผูก พับสา จำนวน 13 เล่ม ซึ่งเป็นคัมภีร์ใบลานที่ เจ้าชื่น สิโรรส และบุคคลทั่วไป ได้นำมาบริจาคไว้กับวัดอุโมงค์ ต่อมาได้นำมาจัดเก็บไว้ที่หอสมุดธรรมโฆส พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ 

-  คัมภีร์ใบลานที่เก่าที่สุด คือ “ปัญจนิบาต (ผูก 2)” จารเมื่อ จ.ศ.1169 (พ.ศ.2350) และ “ตำนานนัคคปุรีเชียงใหม่” จ.ศ. 1192 (พ.ศ.2373)

-  คัมภีร์ใบลานที่ใหม่ที่สุด คือ ตำนานพระพุทธรูปเจ้าหลวงเมืองพะเขา จารเมื่อ พ.ศ.2510

-  หมวดหมู่คัมภีร์ใบลานที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ตำนาน มีจำนวน 29 ผูก และคัมภีร์ใบลานเรื่องอื่นๆ เช่น ชาดก พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ และคำสอนทั่วไป

-  พับสา จำนวน 13 เล่ม เนื้อหาส่วนมากเป็นตำราโหราศาสตร์ บทสวด และพิธีกรรมท้องถิ่น

3)  โครงการสำรวจจัดทำทะเบียนต้นลาน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 นายภวัต ณ สิงห์ทร นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม และคณะ ได้ลงพื้นที่อำเภอแม่แจ่มเพื่อสำรวจและสัมภาษณ์พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่แจ่ม เพื่อให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์และประโยชน์พรรณไม้ลาน รวมถึงการวางแนวทางในการลงพื้นที่สำรวจจัดทำทะเบียนต้นลานในพื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ตำบลช่างเคิ่ง ตำบลท่าผา ตำบลแม่นาจร และตำบลบ้านทับ โดยได้รับความร่วมมือจากคณะสงฆ์ สถานศึกษา และผู้นำชุมชนในการวางแผนการดำเนินงาน

 

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน

มีการจัดการข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนา ทั้งในรูปแบบเอกสารและการออนไลน์บนเว็บไซต์

ผลการดำเนินงาน


1)  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลาน พับสา Digital Collections of  Manuscripts, Arts and Culture, CMRU (DC-MAC-CMRU) (2.1-2-1) เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่เอกสารใบลาน พับสา และเอกสารอักษรตระกูลไท โดยมีการพัฒนาด้วยการจัดหมวดหมู่เพื่อสะดวกต่อการสืบค้น

          2)  วารสารข่วงผญา The Journal of Thai Lanna Wisdom ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2564 ได้มีการเผยแพร่บทความออนไลน์ผ่านระบบ ThaiJo (2.1-2-2)

3)  หนังสือเพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา ประจำปี 2565 (2.1-2-3) เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม 

https://www.culture.cmru.ac.th/petchrajabhat65/mobile/index.html

4)  หนังสือที่ได้จัดทำได้ให้บริการให้ยืม-คืนในห้องศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา สามารถสืบค้นได้ทางระบบสืบค้น OPAC (2.1-2-4)

5)  หนังสือ หมากไหมในวิถีล้านนา ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม  (2.1-2-5)

 

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.1-2-1 http://www.culture.cmru.ac.th/culturedc/
2.1-2-2 https://so06.tcithaijo.org/index.php/khuangpaya/issue/view/17418
2.1-2-3 https://www.culture.cmru.ac.th/petchrajabhat65/mobile/index.html
2.1-2-4 http://www.culture.cmru.ac.th/opac/
2.1-2-5 https://www.culture.cmru.ac.th/web60/wp-content/uploads/book/makmai-lanna.pdf

แหล่งเรียนรู้มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการบูรณาการข้อมูลของแหล่งเรียนรู้กับการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนาเพิ่มขึ้น

ผลการดำเนินงาน


ในปีงบประมาณ 2565 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่เปิดบริการให้นักศึกษาเข้าร่วม และได้มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน ซึ่งได้มีการบูรณาการการจัดกิจกรรมระหว่างสำนักศิลปะและวัฒนธรรมกับสำนักงานจัดการศึกษาทั่วไปและศิลปวิทยาศาสตร์ ในรายวิชา GEN1301 ความเป็นราชภัฏเชียงใหม่ (Chiang Mai Rajabhat Identity) (2.1-3-1) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ  ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ความภาคภูมิใจของการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  และคุณลักษณ์ของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 25-30 สิงหาคม 2565 ด้วยการนำนักศึกษา ภาคปกติ และ ภาคพิเศษ เสาร์ – อาทิตย์ วิทยาเขตเวียงบัว เข้าเยี่ยมชมอาคารเทพรัตนราชสุดา โดยมีผลคะแนนการทำแบบทดสอบภายหลังการเข้าเยี่ยมชม ค่าคะแนนเฉลี่ย 17.99 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน  (2.1-3-2)

          การบริการวิชาการให้กับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ อาคารเทพรัตนราชสุดา ได้จัดกิจกรรม Workshop  โดย นายภวัต  ณ สิงห์ทร และนายวรวิทย์  ผัดเป้า ในการอบรมการจัดทำ (สมุด) พับหัวแบบล้านนา ให้กับนักเรียนโรงเรียน
ปริ้นส์รอยแยลส์วิทยาลัย จำนวน 20 คน และครูผู้ควบคุม จำนวน 4 คน

          โครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาการใช้ลานและหมากผ่านการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30-15.00 น. ณ  ห้องประชุมเอื้องคำ ชั้น 3 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดโครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาการใช้ลานและหมากผ่านการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์  ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนบ้านต้นรุง โรงเรียนพร้าวบูรพา  และ โรงเรียนสหกรณ์ดำริ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

          กิจกรรมพัฒนานักศึกษาหอพัก “ศิลปะและวัฒนธรรม กับการพัฒนานักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21” ในความร่วมมือระหว่าง คณะครุศาสตร์ ร่วมกับ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ตั้งแต่เดือนเมษายน – สิงหาคม 2565 โดยมีการจัดหลักสูตรอบรมด้านศิลปวัฒนธรรมระยะสั้น จำนวน 9 หลักสูตร โดยมีการจัดการอบรมทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online

 

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.1-3-1 รายละเอียดรายวิชา GEN1301 ความเป็นราชภัฏเชียงใหม่
2.1-3-2 รายงานสรุปผลผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรมกับความเป็นราชภัฏเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1/2565

มีผลการดำเนินงานที่ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการได้รับความรู้ เกิดการเรียนรู้และ
มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการสืบทอด สืบสานศิลปวัฒนธรรม

ผลการดำเนินงาน


จากการจัดกิจกรรมของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2565  ในบางกิจกรรม
มีการวัดผลความรู้ที่เพิ่มขึ้น ด้วยการจัดทำแบบทดสอบให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้จัดทำก่อนและหลัง
การเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 4 กิจกรรม โดยมีค่าเฉลี่ยรวม มีความรู้ที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 82.11รายละเอียดดังนี้ (2.1-4-1)

  1. โครงการอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีสงกรานต์ และรณรงค์การแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ มีผลการประเมินความรู้ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 75.6 (2.1-4-2)
  2. โครงการอภิปรายเชิงวิชาการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา มีผลการประเมินความรู้ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.87 (2.1-4-3)
  3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟู สืบสาน และจัดการองค์ความรู้ “ภูมิปัญญาสร้างสรรค์” มีผลการประเมินความรู้ที่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 54.29 (2.1-4-4)
  4. โครงการเพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา มีผลการประเมินความรู้ที่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 97.30 (2.1-4-5)

นอกจากนี้ ในกิจกรรมการฝึกอบรมด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการจัดทำชิ้นงานเพื่อแสดงถึงการสืบสาน สืบทอดศิลปวัฒนธรรม ได้มีการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม “หลักสูตรศิลปะการพิมพ์ผ้าด้วยแม่พิมพ์ไม้” ในวันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ระหว่างเวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องเขียนแบบ ชั้น 2 อาคารเรียนสาขาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ภายหลังการอบรมรอบแรกได้คัดนักศึกษาที่มีผลงานดี และมีองค์ความรู้ที่สามารถถ่ายทอดได้ มาเป็นวิทยากรในการอบรมในหลักสูตร การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคภาพพิมพ์นูน ภาพพิมพ์แสตมป์บนผ้า  ในวันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ระหว่างเวลา 09.00 – 12.00 น. ณ เรือนอนุสารสุนทร สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทั้งนี้นักศึกษาได้รับการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลอื่น ๆ ที่สนใจได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาทักษะ ฝีมือ สู่อาชีพในอนาคตได้

 

 

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.1-4-1 ตารางสรุปการประเมินผลของผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม ปีงบประมาณ 2565
2.1-4-2 รายงานผลการดำเนินโครงการอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีสงกรานต์ และรณรงค์ การแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ หน้า 10
2.1-4-3 รายงานผลการดำเนินโครงการอภิปรายเชิงวิชาการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา หน้า 9
2.1-4-4 รายงานผลการดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟู สืบสาน และจัดการองค์ความรู้ “ภูมิปัญญาสร้างสรรค์” หน้า 8
2.1-4-5 รายงานผลการดำเนินโครงการเพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา หน้า 15

แหล่งเรียนรู้สามารถนำข้อมูลด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนา ไปพัฒนา ต่อยอดเพื่อสร้างองค์ความรู้/งานวิจัย/งานสร้างสรรค์/งานนวัตกรรม และปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

ผลการดำเนินงาน


          สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่มีการเผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ด้านเอกสารโบราณและศิลปวัฒนธรรมล้านนา ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างองค์ความรู้ ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมาได้มีการจัดทำปริวรรตเอกสารโบราณ เรื่อง “สัพพะตำราดาราศาสตร์ กลุ่มชาติพันธุ์ไท” (2.1-5-1)  ซึ่งได้รับความสนใจจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้จัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ “ภูมิปัญญาจากสรรพตำราดาราศาสตร์ไทย” ในวันที่ 2 กันยายน 2565 ได้นำหนังสือไปจัดพิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่ประกอบการเสวนาดังกล่าว (2.1-5-2)

          การนำความรู้จากเอกสารใบลานไปต่อยอดงานวิจัย และงานนวัตกรรม ภายใต้โครงการส่งเสริมความรู้ด้านสมุนไพรท้องถิ่นจากการสังเคราะห์ภูมิปัญญาในคัมภีร์ใบลาน ผ่านการสร้างนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วม ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรินทร์นิชา  ปัญจอริยะกุล ได้มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งนำความรู้จากแหล่งเรียนรู้ ตัวบุคคล ดร.ดิเรก  อินจันทร์ และเอกสาร เกี่ยวกับสมุนไพรในใบลาน ให้กับนักเรียนโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม  จากนั้นไปจัดทำสื่อการเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น และอาจารย์นำผลการดำเนินงานไปพัฒนาเป็นงานวิจัยต่อไป

          การนำความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและเอกสารโบราณไปพัฒนาต่อยอดงานสร้างสรรค์ โดยมีการบูรณาการกับรายวิชา  ART 3101 ภูมิปัญญาในงานศิลปกรรม  สาขาวิชาศิลปศึกษา ของภาคการศึกษา 2/2565 ซึ่งมีการนำความรู้เกี่ยวกับคำทำนายล้านนา ที่ปรากฏบนเอกสารใบลาน ไปต่อยอดจัดทำเป็นแผ่นการ์ดคำทำนาย นำเสนอด้วยภาพการ์ตูนที่สื่อความหมายของคำทำนายนั้น ๆ

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน
2.1-5-1 https://www.culture.cmru.ac.th/web60/wp-content/uploads/book/TAI-ASTOLOGY-BOOK-2022.pdf
2.1-5-2 หนังสือสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ที่ อว 5600/1131 เรื่อง ขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือ “สัพพะตำราศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ไท” เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการเสวนาฯ

กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

ผลการดำเนินงาน


มหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างการพัฒนางานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อสามารถกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ที่เป็นผลงานที่โดนเด่นและสร้างประโยชน์  โดยได้มีการดำเนินงานพัฒนางาน “ศูนย์ใบลานศึกษา” ด้วยการอนุรักษ์ การสืบสาน และต่อยอด เอกสารโบราณภายใต้กระบวนการดำเนินงานตามกรอบแผนกลยุทธ์ฯ และตามกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา PDCA  ได้มีการพัฒนางานมาอย่างต่อเนื่อง  ในอนาคตหวังว่า ศูนย์ใบลานศึกษา จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีมาตรฐานในการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอด จนเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ได้รับการรับรองจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม หรือ กรมศิลปากร ภายใต้ กระทรวงวัฒนธรรม และในระดับนานาชาติ ในการเป็นแหล่งคลังข้อมูลด้านเอกสารใบลานที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ บุคลากรที่มีความสามารถ มีผลงานของที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. อนาโตล โรเจอร์ เปล์ติเยร์ (ปี พ.ศ. 2551 – 2561 (เสียชีวิต)) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลมูล จันทร์หอม และ ศาสตราจารย์อรุณรัตน์  วิเชียรเขียว มีการปริวรรตและเผยแพร่ที่ก่อให้เกิดการสืบสาน ซึ่งสามารถเข้าใช้งานฐานข้อมูลฯ สื่อการเรียนรู้ การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และเข้าร่วมกิจกรรม  การต่อยอดความรู้จากใบลานไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ในการบูรณาการกับการเรียนการสอน งานวิชาการ เช่น การเรียนภาษาล้านนาเพื่อการศึกษาใบลาน การวิจัยองค์ความรู้จากใบลาน เป็นต้น ตลอดจนการพัฒนาท้องถิ่น ในเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนเพื่อการพัฒนาสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชน

เอกสาร / หลักฐานอ้างอิง


รหัส หลักฐาน

ระบบบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ
หน่วยงานสนับสนุน

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2565

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5860, โทรสาร. 0-5388-5860 ilaccmru@gmail.com

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561, สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่