พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
053-885860
โทรสาร
053-885860
หน่วยงานควรมีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยการบริหารและควบคุมปัจจัยกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงานที่อาจเป็นมูลเหตุของความเสียหาย (ทั้งในรูปของตัวเงิน หรือไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียงและการฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า) เพื่อให้ระดับความเสี่ยง และขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับและควบคุมได้ โดยคำนึงถึงการเรียนรู้วิธีการป้องกันจากการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้า และโอกาสในการเกิดเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสำรองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นนใจว่าระบบงานต่าง ๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง และทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ
หมายเหตุ คะแนนการประเมินจะเท่ากับ 0 หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นภายในหน่วยงานในรอบปี การประเมินที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของบุคลากร ผู้รับบริการ หรือต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์หรือต่อความมั่นคงทางการเงินของหน่วยงาน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของหน่วยงาน ในการควบคุมหรือจัดการกับความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
เอกสารหลักฐานการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและสำนักงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัย ไปใช้ในการปรับแผนบริหารความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
เกณฑ์มาตรฐาน
5. หน่วยงานจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและต้องมีการสื่อสารแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ
6. มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงและทบทวนแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และรายงานการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัยอย่างน้อย
ปีละ 1 ครั้ง
7. มีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ไปใช้ในการปรับแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
1 หน่วยงานจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลแก่ผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานว่าหน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยมีระบบและแนวทางในการดำเนินงาน ตามนโยบายการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ดังจะเห็นได้ในประกาศสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เรื่อง นโยบายการบริหารงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 (1.5-1-1) นโยบายข้อที่ 8 นโยบายด้านการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในสำหรับการบริหารการดำเนินงาน ดังนี้
1) จัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งสำนักงานฯ แบบบูรณาการ โดยมีการจัดการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
2) ให้มีการติดตาม ประเมินผล ทบทวน และปรับปรุงจัดการการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
3) ให้ถือว่าการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการจัดการที่ดี
4) ให้การกำหนดกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน
ได้แจ้งบนหน้าเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม http://www.culture.cmru. ac.th/web60/policy/ (1.5-1-2)
2. หน่วยงานจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กรอย่างน้อยประกอบด้วย การมอบหมายผู้รับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง การกำหนดวัฒนธรรมของหน่วยงานที่ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีหน้าที่ในการร่วมมือกันในการประเมิน วิเคราะห์ การติดตาม ประเมินผลการบริหารงาน ทบทวนและปรับปรุง ตามคำสั่งสำนักศิลปะและวัฒนธรรมที่ 4/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ 2565 ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 (1.5-2-1) ได้มีการร่วมกันจัดทำวิเคราะห์และจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยง ในการประชุมทบทวนแผนกลยุทธ์ฯ ในวันที่ 22 เมษายน 2565 ณ ห้องช้างกระ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด
เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานจึงได้กำหนดวัฒนธรรมองค์กรว่า “รักษ์วัฒนธรรม นวัตกรรมก้าวหน้า พัฒนาบริการ ทำงานอย่างมีความสุข” (1.5-2-2) เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยง และการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานมีแนวทางในการ พัฒนาบุคลากรทั้งด้านความรู้ ทางวิชาการ เทคโนโลยี การบริการ และการทำงานอย่างมีความสุข ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติงาน นโยบายต่าง ๆ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงาน
3. หน่วยงานมีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึง
การสื่อสารการบริหารจัดการความเสี่ยงของวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ในการบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม วัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานเพื่อให้หน่วยงานสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน ซึ่งได้กำหนดวัตถุประสงค์ตามแผนกลยุทธ์ จำนวน 2 ข้อ คือ เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปวัฒนธรรม และเอกสารโบราณ และเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาในยุคดิจิทัล โดยกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในประเด็นเป้าหมายเพื่อวัดผลการบริหารความเสี่ยง โดยจำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ (1.5-3-1)
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง กำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อเป็นการสื่อสารให้กับบุคลากรทุกคนได้รับทราบร่วมกัน ได้มีการร่วมกันจัดทำวิเคราะห์และจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยง ในการประชุมทบทวนแผนกลยุทธ์ฯ ในวันที่ 22 เมษายน 2565
ณ ห้องช้างกระ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด ซึ่งบุคลากรทุกคนได้มีส่วนร่วมและมีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละด้าน
4 หน่วยงานมีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง
การจัดลำดับความเสี่ยง จากประเด็นดังต่อไปนี้
- ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR)
- ความเสี่ยงด้านการเงิน (Finanacial Risk : FR)
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operation Risk : OR)
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง ตามมาตรฐาน COSO เพื่อสามารถระบุความเสี่ยงเพื่อให้เกิดการควบคุมความเสี่ยงในระดับที่องค์กรยอมรับได้ จากการวิเคราะห์ทั้ง 4 ด้าน สามารถระบุความเสี่ยง และปัจจัยเสี่ยง ได้ดังนี้ (1.5-4-1)
ความเสี่ยง | ปัจจัยเสี่ยง | ||
1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR) | |||
SR1 |
กิจกรรมตามแผนกลยุทธ์ไม่เป็นไปตามที่กำหนด |
SR1.1 | มีภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานภายนอก นอกเหนือจากกิจกรรมที่ปรากฏในแผนกลยุทธ์และปฏิทินกิจกรรม |
SR2 | แผนกลยุทธ์หน่วยงานไม่สามารถดำเนินการให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง | SR2.1 | สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่สามารถควบคุมตามแผนได้ เช่น สถานการณ์โรคระบาด นโยบายเกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาด |
2) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : FR) | |||
FR1 | เบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนการใช้งบประมาณของหน่วยงาน | FR1.1 | มีภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานภายนอก นอกเหนือจากกิจกรรมที่ปรากฏในแผนกลยุทธ์และปฏิทินกิจกรรม |
FR1.2 | สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและอยู่นอกเหนือการควบคุมส่งผลต่อการดำเนินงานใช้งบประมาณตามที่กำหนด | ||
FR2 | เบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) | FR2.1 |
กำหนดแผนการใช้งบประมาณที่ไม่สอดคล้องกับค่าเป้าหมายตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อันเนื่องมาจาก
|
FR3 | งบประมาณไม่เพียงพอและไม่เป็นไปตามที่เสนอขออนุมัติ | FR3.1 |
มหาวิทยาลัยอนุมัติงบประมาณไม่เป็นไปตามที่เสนอขอ
|
3) ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operation Risk : OR) | |||
OR1 | ระยะเวลาการดำเนินงานไม่เป็นไปตามปฏิทินกิจกรรม | OR1.1 | มีภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานภายนอก นอกเหนือจากกิจกรรมที่ปรากฏในแผนกลยุทธ์และปฏิทินกิจกรรม |
OR1.2 | สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและอยู่นอกเหนือการควบคุมส่งผลต่อการดำเนินงานตามที่กำหนด | ||
OR2 | วัสดุ/ครุภัณฑ์ ชำรุด เสียหาย เนื่องจากปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม | OR2.1 | การจัดเก็บไม่เหมาะสม เช่น ขาดสถานที่จัดเก็บและระบบรักษาความปลอดภัย |
OR2.2 | การควบคุมการใช้งานวัสดุ ครุภัณฑ์ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ | ||
OR2.3 | วัสดุ/ครุภัณฑ์ ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานมาก | ||
OR3 | วัตถุพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเสียหาย สูญหาย เนื่องจากปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม | OR3.1 | การจัดเก็บไม่เหมาะสม เช่น ขาดสถานที่จัดเก็บและระบบรักษาความปลอดภัย |
OR3.2 | วัตถุพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่มีคุณค่าและมีมูลค่าสูง | ||
OR3.3 | การจัดทำทะเบียนวัตถุพิพิธภัณฑ์ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ | ||
4) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk : CR) | |||
CR1 | รู้ไม่ทันกฎหมายใหม่และปฏิบัติผิดกฎระเบียบ | CR1.1 | บุคลากรไม่ทราบกฎระเบียบ และมีความเข้าใจไม่เพียงพอ |
CR2 | ระเบียบของมหาวิทยาลัยไม่สอดคล้องกับระเบียบของส่วนกลาง | CR2.1 | มหาวิทยาลัยยังไม่มีการทบทวนระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบของของส่วนกลาง |
CR2.2 | บุคลากรเกิดความเข้าใจผิด / สับสน / การตีความคลาดเคลื่อน | ||
CR3 | ไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามที่กำหนด | CR3.1 | มีการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติของการเบิกจ่ายบ่อยครั้ง ทำให้ต้องมีการแก้ไขหรือไม่สามารถเบิกจ่ายได้ |
CR4.1 |
คุณภาพในการควบคุมภายในของหน่วยงานมีจุดอ่อน
|
จากนั้นได้ร่วมกันประเมินโอกาส และผลกระทบ ของความเสี่ยงทั้ง 4 ด้าน เพื่อสามารถนำผลการประเมินมาจัดอันดับความเสี่ยง ซึ่งได้จัดระดับความถี่ที่น่าจะเกิดขึ้น และระดับความรุนแรงของผลกระทบความเสี่ยง ในตาราง Matrix (1.5-4-2) เพื่อให้ได้ลำดับความเสี่ยง โดยคณะกรรมการได้กำหนดระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ คือ ระดับความเสี่ยงสูง และ สูงมาก คือ ค่าอันดับคะแนน ตั้งแต่ 9 ขึ้นไป อยู่ในระดับที่คณะกรรมการยอมรับไม่ได้ ซึ่งภายหลังการจัดอันดับความเสี่ยง มีความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้จำนวน 5 อันดับ ที่นำมาทำแผนจัดการความเสี่ยง ดังนี้ (1.5-4-3)
5. หน่วยงานจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและต้องมีการสื่อสารแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการร่วมกันประเมินความเสี่ยง เพื่อให้ได้ลำดับความเสี่ยง และร่วมกันพิจารณาแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในการประชุมทบทวนแผนกลยุทธ์ฯ ในวันที่ 22 เมษายน 2565 ณ ห้องช้างกระ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จากนั้นได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบริหารความเสี่ยง และตอบสนองกลยุทธ์ของหน่วยงานมากยิ่งขึ้น (1.5-5-1) โดยมีการกำหนดแผนจากการลำดับความเสี่ยง 5 อันดับ โดยร่วมกันกำหนดกิจกรรมการจัดการความเสี่ยง กลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยง (ยอม ลด หลีก ร่วม) กำหนดระยะเวลา และผู้รับผิดชอบ ประกอบกับการประเมินมาตรการควบคุมความเสี่ยง เพื่อดูว่าในมาตรการที่มีอยู่สามารถควบคุมความเสี่ยงได้หรือไม่ หากไม่ได้จะต้องหามาตรการ หรือวิธีการใดมาเพื่อลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
แผนบริหารจัดการความเสี่ยง
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการสื่อสารแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง ด้วยการทำบันทึกข้อความ ที่ อว0612.09.01/106 วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เรื่อง ขอเผยแพร่แผนการบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2565 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม (1.5-5-2) และเผยแพร่แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงบนเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (1.5-5-3) https://www.culture.cmru.ac.th/web60/qa/plan/
6. มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงและทบทวนแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และรายงานการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัยอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ในการประชุมหน่วยงาน ครั้งที่ 3/2565 วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 วาระที่ 4.1 การติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 (1.5-6-1) เพื่อเป็นการกำกับ ติดตาม และร่วมกันกำหนดกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยง และเห็นว่าควรมีการจัดการความเสี่ยงในด้านงบประมาณไม่เพียงพอและไม่เป็นไปตามที่เสนอขออนุมัติ ซึ่งเป็นความเสี่ยงสูงมาก ควรมีการจัดการอบรมเกี่ยวกับการหาแหล่งทุนจากภายนอก เพื่อขอทุนสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งได้มีการจัดการอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขอทุนจากภายนอก ในวันพุธที่ 24 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมเอื้องสายส่องแสง ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการขอทุนภายนอกจากผู้มีประสบการณ์ เช่น การขอทุนจาก สสส. กองทุนวิจัยของมหาวิทยาลัย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) เกี่ยวกับแนวทางการขอทุน ความสอดคล้องกับโครงการที่เสนอขอกับหน่วยงาน (1.5-6-2)
ภายหลังการดำเนินกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง ได้มีการวิเคราะห์ผลการบริหารความเสี่ยง พบว่า ในการบริหารความเสี่ยง 5 อันดับ สามารถบริหารจัดการให้ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จำนวน 3 ประเด็น และมีความเสี่ยงหลงเหลือ ที่คณะกรรมการเห็นว่าไม่สามารถยอมรับได้ จำนวน 2 ประเด็น ควรมีการบริหารจัดการต่อไปในปีงบประมาณ 2566 ปัญหาอุปสรรคหลักในการบริหารความเสี่ยง เกิดจากปัจจัยภายนอกที่หน่วยงานไม่สามารถควบคุมได้ และคาดว่าจะต้องยอมรับกับความเสี่ยงให้ได้ ดังจะเห็นได้จากรายงานผลการติดตามการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 (1.5-6-3) ตามตารางสรุปดังนี้
ภายหลังจากการพิจารณาผลการติดตามการบริหารความเสี่ยงของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเรียบร้อยได้มีการรายงานให้กับมหาวิทยาลัยโดยกองนโยบายและแผน เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ในบันทึกข้อความ ที่ อว 0612.09.01/232 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2565 เรื่อง ขอรายงานผล
การดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม (1.5-6-4)
7. มีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ไปใช้ในการปรับแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
จากการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ในการประชุมหน่วยงาน ครั้งที่ 6/2565 วาระที่ 4.3 (1.5-7-1) พบว่า ความเสี่ยง 5 ประเด็น สามารถบริหารจัดการให้ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จำนวน 3 ประเด็น และมีความเสี่ยงหลงเหลือ ที่คณะกรรมการเห็นว่าไม่สามารถยอมรับได้ จำนวน 2 ประเด็น ควรมีการบริหารจัดการต่อไปในปีงบประมาณ 2566 และควรมีการปรับประเด็นความเสี่ยง และประเมินโอกาสที่จะเกิด และผลกระทบ จึงทำให้ได้ความเสี่ยงที่ความจำเป็นต้องจัดการ เป็นประเด็นที่ต้องจัดการความเสี่ยง ในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 4 ประเด็น (1.5-7-1)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5860, โทรสาร. 0-5388-5860 ilaccmru@gmail.com