พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
053-885860
โทรสาร
053-885860
มาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ 3 กำหนดให้หน่วยงานมีการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่หน่วยงานแห่งการเรียนรู้ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้หน่วยงานมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การรวบรวม การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในหน่วยงาน การกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น
แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จหรือ สู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
ไม่มี
การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
การจัดการความรู้ในหัวข้อที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการกำหนดแผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2565 จัดทำขึ้นภายใต้กรอบแผนกลยุทธ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 – 2570) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนา และเอกสารโบราณ ได้กำหนดประเด็นความรู้ในหัวข้อ งานประจำสู่งานวิจัย Routine to Research : R2R เป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดทำผลงานวิจัยจากงานประจำ เป็นการส่งเสริมบุคลากรในการจัดทำผลงานประกอบการขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น และเพื่อให้งานวิจัยเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรมอีกด้วย (1.4-1-1) ซึ่งได้เผยแพร่แผนการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2565 บนเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม สามารถดูหรือดาวน์โหลดไฟล์ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ของหน่วยงาน (1.4-1-2)
มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะอย่างชัดเจนตามประเด็น ที่กำหนดใน ข้อ 1
ในแผนการจัดการความรู้ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดการองค์ความรู้ คือ บุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ (Knowledge management : KM) ประจำปีงบประมาณ 2565 ในคำสั่งที่ 2/2565 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 (1.4-2-1) โดยได้แบ่งภาระหน้าที่เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรม และกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้ ทักษะ ในหัวข้อ ในหัวข้อ งานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) เพื่อการพัฒนาความรู้บุคลากรในการทำงานวิจัยจากงานประจำ ที่จะสามารถนำไปประกอบการขอขึ้นตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรได้ ตลอดจนการพัฒนางานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรม ที่จะสามารถยกระดับงานศิลปวัฒนธรรมให้เกิดและสร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปวัฒนธรรมได้
มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit nowledge) เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1
ในการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการตามกระบวนการการจัดการความรู้ โดยมีวิธีการดังนี้
1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น (Knowledge Identification)
วิธีการสู่ความสำเร็จ
2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
วิธีการสู่ความสำเร็จ
2.1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำหนดหัวข้อว่า “R2R พัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ไม่ยากอย่างที่คิด” วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์ ชั้น 2 อาคารเทพรัตนราชสุดา ได้เชิญผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิโลบล วิมลสิทธิชัย รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยกับคณะกรรมการการจัดการความรู้ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งสรุปได้ว่า R2R (Routine to Research) คือ การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ผลลัพธ์ของ R2R ไม่ได้หวังเพียงได้ผลงานวิจัย แต่มีเป้าหมายเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้พัฒนางานประจำนั้นๆ R2R จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางาน ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ซึ่ง R2R จะช่วยสนับสนุน CPD (Competency Professional Development) เป็นเครื่องมือในการชี้วัด ศักยภาพของคนในองค์กร ซึ่งก็คือ การทำวิจัย ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และ R2R จึงเป็นการสอดแทรกเข้ามาในการทำงานเพื่อวัดผล ยกระดับ Skill การเลื่อนขั้นในหน้าที่การงาน ผลลัพธ์จากการทำ R2R คือ ส.ป.ก. (ส. คือความสุข สนุกในการทำงาน ป. คือ ปัญญา เก่งขึ้น ฉลาดขึ้น และ ก. คือ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน) (1.4-3-2)
2.2) จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ ในหัวข้อ “จะตั้งโจทย์วิจัยจากงานประจำอย่างไรดี” วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.30-16.30 น.ณ ห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์ ชั้น 2 อาคารเทพรัตนราชสุดา ได้เชิญผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยกับคณะกรรมการการจัดการความรู้ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งสรุปได้ว่า ทำวิจัยแล้วได้อะไร 1) ได้พัฒนางานประจำ แก้ปัญหาที่เกิดจากงานในตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบหรือเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 2) นำไปประกอบการขอกำหนดระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น เช่น จากระดับปฏิบัติการเป็นชำนาญการ โดยเผยแพร่บทความในวารสารหรือฐานข้อมูลวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ (http://cmruir.cmru.ac.th) และ 3) เพิ่มคุณค่าในตัวบุคลากรที่ได้จัดทำงานวิจัย (1.4-3-3)
2.3) จัดโครงการพัฒนาบุคลากร : กระบวนการวิจัยจากงานประจำ ปีงบประมาณ 2565 ในวันศุกร์ที่ 18 และวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์ ชั้น 2 อาคารเทพรัตนราชสุดา วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์ อาจารย์สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวกับ การเตรียมการวิจัยและการตั้งชื่องานวิจัย การเขียนหลักการและเหตุผลในการทำวิจัย และการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ตลอดจนการยกตัวอย่างการเขียนโครงร่างงานวิจัย และช่วยกันพิจารณา (ร่าง) หัวข้องานวิจัย ที่มีความสอดคล้องกับงานประจำและความสนใจของบุคลากรแต่ละคนอีกด้วย (1.4-3-4)
มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ
ภายหลังจากการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ในแต่ละครั้ง ได้มีการบันทึกความรู้ไว้ เพื่อบันทึกความรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรงและข้อคิดเห็นจากท่านอื่น ๆ และจัดทำรายงานผลเสนอผู้อำนวยการ คณะกรรมการจัดการความรู้ฯ ตลอดจนผู้แบ่งปันความรู้ ผู้มีประสบการณ์ตรงจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิโลบล วิมลสิทธิชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์ อาจารย์สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เข้าร่วมแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีให้กับบุคลากรของหน่วยงาน เกี่ยวกับการจัดทำงานวิจัยจากงานประจำ ซึ่งได้จัดทำบันทึกความรู้รายงานผู้อำนวยการ และได้มีการแบ่งปันความรู้ในการประชุมหน่วยงาน ครั้งที่ 2/2565 วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2565 วาระที่ 5.8 รายงานการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (1.4-4-1)
มีการกำกับ ติดตาม การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในข้อ 4 ไปใช้ในการปฏิบัติจริง
ในกิจกรรมการพูดคุย และการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 ครั้ง ได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมแลกเปลี่ยน ดังนี้
- กิจกรรมครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “R2R พัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ไม่ยากอย่างที่คิด”วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์ ชั้น 2 อาคารเทพรัตนราชสุดา ภายหลังจากกิจกรรมมีผลการความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่าบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น จากแบบประเมินความคิดเห็น มีค่าเฉลี่ยรวม 4.30 และความพอใจในการให้บริการ มีค่าเฉลี่ยรวม 4.20
- กิจกรรมครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “จะตั้งโจทย์วิจัยจากงานประจำอย่างไรดี” วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์ ชั้น 2 อาคาร
เทพรัตนราชสุดา ภายหลังจากกิจกรรมมีผลการความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่าบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยรวม 2.88 และความพอใจในการให้บริการ มีค่าเฉลี่ยรวม 4.03
- กิจกรรมครั้งที่ 3 ในหัวข้อ โครงการพัฒนาบุคลากร : กระบวนการวิจัยจากงานประจำ ปีงบประมาณ 2565 ในวันศุกร์ที่ 18 และวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์ ชั้น 2 อาคารเทพรัตนราชสุดา โดยบุคลากรสามารถกำหนดหัวข้องานวิจัยของตนเอง คนละ 1 หัวข้อ ภายหลังจากกิจกรรมมีผลการความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่ามีความพอใจในการให้บริการ มีค่าเฉลี่ยรวม 4.35
การบันทึกความรู้จากกิจกรรมการจัดการความรู้ ทั้ง 3 ครั้ง ได้จัดทำรายงานผู้บริหารและมีการแบ่งปันในที่ประชุม ผู้บริหารได้มีการผลักดันให้บุคลากรได้ริเริ่มการจัดทำ (ร่าง) หัวข้องานวิจัยจากงานประจำ และสร้างแรงบันดาลใจในการริเริ่มจัดทำผลงาน โดยได้จัดทำร่างหัวข้องานวิจัยการจัดโครงร่างงานวิจัยภายหลังจากกิจกรรม จากข้อเสนอแนะของผู้บริหารและผู้มีประสบการณ์ รายละเอียดดังนี้ (1.4-5-1) , (1.4-5-2)
ผลการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้
(ร่าง) หัวข้องานวิจัยของบุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ที่ | ชื่อ-สกุล | ตำแหน่ง | (ร่าง) หัวข้องานวิจัย |
1 | น.ส. วราภรณ์ โยธาราษฎร์ |
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน |
การพัฒนาแผนกลยุทธ์โดยใช้แนวคิด OKRs |
2 | น.ส. ศุภรักษ์ ฉัตรแก้ว | เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป |
ความต้องการใช้บริการอาคารสถานที่ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
3 | นางกัลยาณี อินต๊ะราชา | นักวิชาการการเงินและบัญชี |
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของสำนักศิลปะวัฒนธรรม |
4 | นายวีรพิชญ์ หิมารัตน์ | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ | การวิเคราะห์เว็บไซต์ / การพัฒนาเว็บไซต์ / การพัฒนาฐานข้อมูล/คลังข้อมูล |
5 | นายโสภณ พรมจิตต์ | นักวิชาการวัฒนธรรม | แนวทางการจัดกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ตามความต้องการของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
6 | นางสาวปนัดดา โตคำนุช | นักวิชาการวัฒนธรรม | การพัฒนาหลักสูตรภูมิปัญญาสร้างสรรค์ |
7 | นายจักรภาณุ ไตรยสุทธิ์ | นักวิชาการวัฒนธรรม |
- การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม โดยการประยุกต์ใช้....... - การประเมินหลักสูตรอบรมด้านศิลปะวัฒนธรรม |
8 | ดร.ดิเรก อินจันทร์ | นักวิชาการวัฒนธรรม |
การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากคัมภีร์ใบลาน พับสาและจารึกเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษาวัดเชียงมั่น |
9 | นายภวัต ณ สิงห์ทร | นักวิชาการวัฒนธรรม |
ผลสัมฤทธิ์ของการใช้ตำราเรียนอักษรธรรมล้านนาของโรงเรียนปริยัติธรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
10 | นายวรวิทย์ ผัดเป้า | ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด | ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม |
11 | สำนักศิลปะและวัฒนธรรม |
ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบทบาทของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
มีองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้อย่างน้อย 1 ประเด็น และเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
ภายหลังจากกิจกรรมทุกครั้ง ได้มีการบันทึกผลกิจกรรมรายงานต่อผู้อำนวยการ และได้มีการเผยแพร่ผ่านระบบ e-document และการประชุมภายในหน่วยงาน โดยได้จัดกิจกรรมการสกัดความรู้ เรื่อง “กระบวนการวิจัยจากงานประจำ” ในวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์ ชั้น 2 อาคารเทพรัตนราชสุดา ซึ่งคณะกรรมการการจัดการความรู้ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกันพิจารณาสกัดความรู้จากกิจกรรมทั้ง 3 ครั้ง เป็นเล่มคู่มือกระบวนการวิจัยจากงานประจำ (1.4-6-1) เผยแพร่บนเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (http://www.culture.cmru.ac.th/web60/qa/manual/) (1.4-6-2) และการเผยแพร่ผลงานผ่านกิจกรรม CMRU KM Day ของมหาวิทยาลัย ผ่าน Zoom Cloud Meeting ในวันที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น. (1.4-6-3)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5860, โทรสาร. 0-5388-5860 ilaccmru@gmail.com