พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
053-885860
โทรสาร
053-885860
พิจารณาการตอบสนองและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน ซึ่งถือเป็นบทบาทของหน่วยงาน การตอบสนองดังกล่าวมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด สามารถสะท้อนได้จากความพึงพอใจของผู้รับบริการ ทั้งประชาชนผู้มารับบริการ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งการสำรวจความพึงพอใจโดยทั่วไปจะพิจารณาประเด็นสำคัญ คือ
ทั้งนี้ อาจรวมถึงความพึงพอใจต่อบทบาทของหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย 3 ด้าน คือ การเป็นผู้เตือนสติสังคม การชี้นำสังคม การตอบสนองความต้องการของสังคม
ความพึงพอใจของผู้รับบริการ หมายถึง การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจแบบประมาณค่า ซึ่งโดยทั่วไปจะพิจารณาจากประเด็นที่สำคัญ คือ ความพึงพอใจ ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านระบบสารสนเทศหน่วยงาน
ผู้รับบริการ หมายถึง นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย หรือบุคคลภายนอกที่มารับบริการโดยตรง เช่น ผู้ปกครอง สถานประกอบการ เป็นต้น
ระยะเวลาในการประเมินความพึงพอใจ ตามปีงบประมาณหรือปีการศึกษาซึ่งมีการดำเนินการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 1 ครั้ง ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับหน่วยงาน
หน่วยงานสนับสนุน ประเมินผลการดำเนินงานปีงบประมาณ และนำผลไปวิเคราะห์ สังเคราะห์กับ ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณถัดไป
ตัวอย่าง การคำนวณสำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้มีพันธกิจหลักด้านบริการโดยตรง
สำนัก/กอง .......................ปีงบประมาณ ....................................ได้จัดกิจกรรม/โครงการให้บริการ จำนวน 5 โครงการ และมีผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ รายละเอียดดังนี้
กิจกรรม/โครงการที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 3.55 จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 90 คน
กิจกรรม/โครงการที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 4.55 จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 80 คน
กิจกรรม/โครงการที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 3.85 จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 95 คน
กิจกรรม/โครงการที่ 4 มีค่าเฉลี่ย 4.15 จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 90 คน
กิจกรรม/โครงการที่ 5 มีค่าเฉลี่ย 4.30 จำนวนผู้ตอบแบบถามถาม 85 คน
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ = (3.55x90)+(4.55x80)+(3.85x95)+(4.15x90)+(4.30x85) = 4.0642
90+80+95+90+85
ดังนั้น คะแนนที่ได้ = 4.06
ใช้คะแนนผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการของหน่วยงาน (คะแนนเต็ม 5) ที่ครอบคลุมอย่างน้อย 3 ประเด็นดังนี้
หมายเหตุ สำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้มีพันธกิจหลักด้านบริการโดยตรง อนุโลมให้ใช้คะแนนประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในกรณีที่หน่วยงานจัดโครงการ
ไม่มี
ควรเร่งพัฒนานิทรรศการให้สามารถเปิดบริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ไม่มี
ผลการดำเนินงาน
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการบริการนำชมสถาบันล้านนาศึกษา ซึ่งเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์กลุ่มชาติพันธุ์ล้านนา ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา นอกจากนี้ยังมีบริการห้องประชุม การจัดการสัมมนา และการฝึกอบรม ตลอดจนการจัดกิจกรรมในการส่งเสริม อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม การบริการในส่วนของห้องข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา หนังสือหายาก หนังสือองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม และได้เพิ่มช่องทางการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบออนไลน์อีกด้วย นอกจากนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ยังได้ร่วมมือกับสำนักงานจัดการศึกษาทั่วไปและศิลปวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในการบูรณาการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมกับหลักสูตรในรายวิชา ความเป็นราชภัฏ จึงทำให้ในปี 2565 มีผู้มาใช้บริการในส่วนของการค้นคว้าหนังสือ งานวิจัย งานปริวรรต ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการสอบถามข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและเอกสารใบลาน โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดทำการวัดความรู้ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินความพึงพอใจแบบออนไลน์ โดยผู้เข้าใช้บริการกรอกแบบฟอร์ม ผ่านทาง https://forms.gle/sQu7ASD4UnShtyheA จำนวน 3,100 คน ค่าเฉลี่ยรวม ระดับ 4.42 แบ่งเป็น 5 ประเด็น โดยได้สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้
ที่ | ประเด็นความพึงพอใจ | ค่าเฉลี่ย | ระดับ |
1 | ความพึงพอใจด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ | 4.42 | ดี |
2 | ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ | 4.44 | ดี |
3 | ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก | 4.38 | ดี |
4 | ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ | 4.45 | ดี |
5 | ความพึงพอใจด้านระบบสารสนเทศหน่วยงาน | 4.42 | ดี |
รวม | 4.42 | ดี |
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5860, โทรสาร. 0-5388-5860 ilaccmru@gmail.com