พัฒนาระบบโดย นายกุลชาติ ปัญญาดี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เบอร์ติดต่อ
053-885860
โทรสาร
053-885860
หน้าที่หลักของหน่วยงานสนับสนุน คือ การสนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหาร หรือสนับสนุนพันธกิจด้านอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานดำเนินการสอดคล้องกับพันธกิจหลักของหน่วยงาน และสอดรับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ดังนั้นหน่วยงานต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ตลอดจนมีการพัฒนา แผนกลยุทธ์และแผนการดำเนินงาน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน
ในการพัฒนาแผนกลยุทธ์นอกเหนือจากการพิจารณาอัตลักษณ์หรือจุดเน้นของหน่วยงานแล้ว จะต้องคำนึงถึงหลักการอุดมศึกษา กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐาน การอุดมศึกษา มาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ของชาติ รวมถึงทิศทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ และสามารถตอบสนองสังคมในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม
แผนกลยุทธ์ หมายถึง แผนระยะยาวที่มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่กำหนดทิศทางการพัฒนาของหน่วยงาน แผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ ผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม กลยุทธ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานควรมีความครอบคลุม ทุกภารกิจของหน่วยงาน มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแต่ละกลยุทธ์ และค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้ เพื่อวัดระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ โดยหน่วยงานนำแผนกลยุทธ์มาจัดทำ แผนดำเนินงานหรือแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกัน
แผนปฏิบัติการประจำปี หมายถึง แผนระยะสั้นที่มีระยะเวลาในการดำเนินงานภายใน 1 ปี เป็นแผนที่ถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ลงสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานจริงตามกลยุทธ์ ประกอบด้วย โครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องดำเนินการในปีนั้น ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้เหล่านั้น รวมทั้งมีการระบุผู้รับผิดชอบหลักหรือหัวหน้าโครงการ งบประมาณในการดำเนินการ รายละเอียดและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินโครงการ ที่ชัดเจน
ผู้บริหารของหน่วยงาน ให้ความสำคัญกับการติดตามงานด้วยการประชุมหน่วยงาน การประชุมเตรียมงานโครงการ/กิจกรรม เพื่อให้เป็นไปตามแผนและแก้ไขตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไม่มี
ไม่มี
1. มีแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์หรือนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยบุคลากรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วม และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดทำแผนกลยุทธ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 – 2570) จัดทำโดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (1.1-1-1) ที่มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) ฉบับปรับปรุง ปี 2562 ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ดังนี้ (1.1-1-2)
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดกิจกรรมการทบทวนแผนกลยุทธ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้ร่วมกันทบทวน วิสัยทัศน์ เป้าหมาย แผนดำเนินงาน และตัวชี้วัดความสำเร็จ ภายใต้พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 หมวด 4 หน้าที่และอำนาจของสถาบันอุดมศึกษา ส่วนที่ 5 การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กรอบมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 มาตรฐานที่ 4 ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) ฉบับปรับปรุง ปี 2562 ตลอดจนแผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2561 – 2564) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) และแผนยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ระหว่างวันที่ 29 – 30 มีนาคม 2564 ณ The Grand Morocc Hotel อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ มีผู้บริหารและบุคลากรมีส่วนร่วมในการทบทวนแผนฯ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100 (1.1-1-3)
จากนั้นได้นำเสนอแผนกลยุทธ์ฯ ที่ได้มีการทบทวนในกิจกรรมดังกล่าว ต่อคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 ในวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.30 น. วาระที่ 4.1 ผลการทบทวนแผนกลยุทธ์ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (1.1-1-4) ซึ่งมีมติเห็นชอบในหลักการพร้อมกับมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้แผนมีความชัดเจนมายิ่งขึ้น ทั้งนี้จะได้นำแผนไปปรับใช้ในการกำหนดแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565
2. มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์อย่างครบถ้วน
เมื่อสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดทำแผนกลยุทธ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 – 2570) จัดทำโดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำสำนักฯ แล้ว จึงได้นำมาจัดแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ได้เชื่อมโยงประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนกลยุทธ์ 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ตอบสนองตัวชี้วัดในลักษณะของโครงการ/กิจกรรมที่มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานทั้งสิ้น 3,153,421 บาท (ทั้งนี้งบประมาณที่ได้รับในโครงการปกติ จำแนกเป็นงบประมาณเงินรายได้ จำนวน 1,251,500 บาท และงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 1,901,921 บาท ซึ่งมีโครงการ/กิจกรรม จำนวน 22 กิจกรรม รายละเอียดดังนี้ (1.1-2-1)
3. มีตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี รวมทั้งค่าเป้าหมายของแต่ละตัวบ่งชี้ เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้กำหนดค่าเป้าหมายเพื่อวัดผลสำเร็จตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์หลักของแผนกลยุทธ์ฯ โดยได้กำหนดตัวชี้วัด จำนวน 2 ตัวชี้วัด (1.1-3-1) คือ
วัตถุประสงค์ | ตัวชี้วัด |
1) เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปวัฒนธรรม และเอกสารโบราณ (พันธกิจ ข้อ 2 และ 4) |
|
2) เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาในยุคดิจิทัล (พันธกิจข้อ 1 และ 3) |
|
นอกจากนี้ในแต่ละเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์นั้น ก็ได้กำหนดตัวชี้วัดไว้ทั้งสิ้น 8 ตัวชี้วัด (1.1-3-2) ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ |
ตัวชี้วัดของแผนกลยุทธ์ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาและเอกสารโบราณ | 2 |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาในยุคดิจิทัล | 3 |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการดำเนินงานด้านศิลปะและวัมนธรรม | 3 |
รวมตัวชี้วัดของแผนกลยุทธ์ฯ | 8 |
แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ได้กำหนดโครงการ/กิจกรรม ซึ่งได้กำหนดตัวชี้วัดโครงการ/กิจกรรม ค่าเป้าหมาย งบประมาณ และผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการ โดยกำหนดค่าเป้าหมายให้บรรลุเป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 80 จากตัวชี้วัดทั้งหมด 48 ตัวชี้วัดของ 25 โครงการ (1.1-3-3) รายละเอียดดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ | โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดโครงการ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาและเอกสารโบราณ | 11 | 26 |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาในยุคดิจิทัล | 7 | 15 |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการดำเนินงานด้านศิลปะและวัมนธรรม | 4 | 9 |
รวมตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการ | 22 | 50 |
4. มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงานไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน
ในกิจกรรมการทบทวนแผนกลยุทธ์ มีกระบวนการร่วมกันพิจารณา เสนอแนะ การมีส่วนร่วมของทั้งผู้บริหารและบุคลากรของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการรับรู้ รับทราบสู่แนวทางปฏิบัติร่วมกัน และภายหลังจากการนำเสนอคณะกรรมการประจำสำนักฯ ได้ปรับแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ได้จัดทำบันทึกข้อความที่ อว 0612.09.01/ว 438 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เรื่อง ขอเผยแพร่แผนกลยุทธ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรได้ทราบและนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน (1.1-4-1) และสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ในเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (1.1-4-2) และได้มีการนำเข้าที่ประชุมหน่วยงาน ครั้งที่ 6/2564 วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. วาระที่ 4.3 (1.1-4-3)
5. มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีในข้อ 2
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม จัดทำปฏิทินกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 ซึ่งเป็นแนวทางในการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ โดยแบ่งเป็นรายไตรมาส (1.1-5-1) และได้มีการดำเนินงานตามปฏิทินกิจกรรมซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่มีการดำเนินการครบทุกพันธกิจ ตามแผนปฏิบัติการ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม http://www.culture.cmru.ac.th/web60/qa/plan/ (1.1-5-2)
6. มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงานเพื่อพิจารณา
ในการกำกับ ติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนงานนั้น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1) ภายหลังจากได้รับการอนุมัติงบประมาณในการสนับสนุนการดำเนินงานแล้วได้จัดทำแนวทางการดำเนินงาน โดยมีแผนกำกับดังนี้ แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565 (1.1-6-1) แผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี 2565 จำแนกตามไตรมาส (1.1-6-2) และปฏิทินกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 (1.1-6-3)
2) ในระหว่างการดำเนินงานเตรียมงานโครงการ/กิจกรรม ได้มีการประชุมหน่วยงานภายในของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรมในรายไตรมาส และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน ตลอดจนการแบ่งภาระหน้าที่ในการปฏิบัติงานแต่ละโครงการ เช่น ในการประชุมหน่วยงานครั้งที่ 6/2564 วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564 วาระที่ 4.1 การเตรียมงานดำเนินโครงการราชภัฏเชียงใหม่ สืบฮีตสานฮอยยี่เป็งล้านนา วาระที่ 5.2 โครงการอบรมและสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี โท เอก ประจำปี 2564 และวาระที่ 5.7 การอภิปรายเชิงวิชาการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ได้มีการร่วมกันกำหนดติดตามงานโครงการ/กิจกรรม ที่จะเกิดขึ้นในไตรมาสแรก (1.1-6-4)
3) ภายหลังจากการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมจะต้องดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ ซึ่งมีรายละเอียดให้แสดงถึงกระบวนการประกันคุณภาพ P - โครงการ D - การดำเนินโครงการ C - ผลการประเมินโครงการ A – การปรับปรุงและพัฒนาจากปีที่ผ่านมา ตัวอย่าง บันทึกข้อความ ที่ อว 0612.09.01.03/14 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2565 เรื่อง รายงานการดำเนินโครงการการอภิปรายเชิงวิชาการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2565 (1.1-6-5) จัดทำเป็นรูปเล่มรายงานเสนอผู้อำนวยการ และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม www.culture.cmru.ac.th/web60/qa/reporting (1.1-6-6)
4) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ดำเนินการรวบรวม วิเคราะห์ ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ตลอดจนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นระหว่างแผน-ผล โดยจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565 ไตรมาสที่ 1 – 2 ตามบันทึกข้อความที่ อว 0612.09.01.01/18 วันที่ 5 เมษายน 2565 เรื่องขอรายงานผลการบริหารงบประมาณ ไตรมาสที่ 1-2 ประจำปีงบประมาณ 2565 (1.1-6-7) ซึ่งสามารถดำเนินการไปแล้ว 3 โครงการ
อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ 11 โครงการ และยังไม่ได้ดำเนินการ 8 โครงการ ของโครงการทั้งหมด 22 โครงการ มีการเบิกจ่ายงบประมาณคิดเป็นร้อยละ 31.35 และผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565 รอบ 12 เดือน ได้มีผลการดำเนินงานการบรรลุตัวชี้วัด 38 ตัวชี้วัด
จากตัวชี้วัดทั้งหมด 42 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 90.48 มีการใช้งบประมาณรายได้ คิดเป็นร้อยละ 93.80 และงบประมาณแผ่นดิน คิดเป็นร้อยละ 46.65 โดยมหาวิทยาลัยพิจารณาให้มีการนับตัวบ่งชี้ของแผนที่ไม่ได้ดำเนินการหรือไม่สามารถดำเนินงานตามโครงการที่ได้วางแผนไว้ เนื่องจากมีการคืนงบประมาณให้มหาวิทยาลัยในช่วงสถานการณ์โรคระบาด (1.1-6-8)
5) นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2565 ต่อคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2565 รอบ 6 เดือน ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565 วาระที่ 5.2 (1.1-6-9)
ครั้งที่ 2 การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2565 รอบ 12 เดือน ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 ในวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2565 วาระที่ 5.2 (1.1-6-10)
นอกจากนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม และรายงานประจำปี ทางเว็บไซต์ของสำนักฯ ทาง www.culture.cmru.ac.th /web60/qa/annual-report เพื่อให้ผู้บริหาร บุคลากร ตลอดจนบุคคลภายนอก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานได้ (1.1-6-11)
7. มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน เพื่อพิจารณา
ภายหลังจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ได้ประเมินผลการดำเนินงานโดยได้จัดทำรายงานเพื่อแสดงผลการบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดของแผนกลยุทธ์ (1.1-7-1) ซึ่งจากผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ ประจำปีงบประมาณ 2565 สรุปได้ดังต่อไปนี้
1) ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ของแผนกลยุทธ์
วัตถุประสงค์ | ตัวชี้วัด | แผน | ผล | การบรรลุ |
วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปวัฒนธรรมและเอกสารโบราณ |
มีผลงานที่ได้จากการบูรณาการกับการเรียนการสอน/การวิจัย/การบริการวิชาการ (ชิ้นงาน) | 3 | 5 | บรรลุ |
วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาในยุคดิจิทัล | มีข้อมูลหรือสื่อสนับสนุนการเรียนรู้/การเรียนการสอนด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนา และการพัฒนาท้องถิ่น (เรื่อง) | 6 | 6 | บรรลุ |
2 | 2 | 100% |
2. สรุปผลการบรรลุตัวชี้วัดในแต่ละเป้าประสงค์
แผนกลยุทธ์ฯ ได้กำหนดตัวชี้วัดโดยแบ่งตามประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 8 ตัวชี้วัด รายละเอียดดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ | เป้าหมาย | บรรลุ | ไม่บรรลุ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนา และเอกสารโบราณ | 2 | 2 | 0 |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาในยุคดิจิทัล | 3 | 3 | 0 |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการดำเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม | 3 | 3 | 0 |
รวมตัวชี้วัด | 8 | 8 | 0 |
คิดเป็นร้อยละ | 100 | 100 | 0.00 |
จากตารางสามารถดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ฯ บรรลุเป้าหมาย 8 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100 จากนั้นได้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ ประจำปี 2565 ต่อคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในการประชุม ครั้งที่ 3/2565 ในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 วาระที่ 5.1 (1.1-7-2)
8. มีการนำผลการพิจารณา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำหน่วยงาน ไปปรับปรุงแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้นำเสนอแผนกลยุทธ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2564 - 2570) ให้คณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรมพิจารณา ครั้งที่ 2/2564 ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 วาระที่ 4.1 (1.1-8-1)
โดยได้รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการในการปรับปรุงแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อปรับใช้ในแผนและกิจกรรม ปีงบประมาณ 2565 ดังนี้
1) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรม อาจจะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน ควรมีการต่อยอดให้สามารถกินได้ ขายได้ เช่น การนำเอางาน
จักสานมาพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่แสดงความเป็นร่วมสมัย น่าใช้ มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้นำไปปรับใช้ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (U2T) ในการส่งเสริมให้ชุมชน ผลิตสร้างสรรค์พัฒนางานจักสานให้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าในชุมชนโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากน้ำอ้อย ของชุมชนป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งการพัฒนารูปทรงของน้ำอ้อยก้อน โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนด้านวิชาประติมากรรม โดยนักศึกษาได้ร่วมกันออกแบบรูปทรง และทำเป็นแม่พิมพ์สำหรับน้ำอ้อยก้อน ให้มีรูปลักษณ์ที่ใช้สวยงาม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่ายทั้งหมด จึงเป็นการยกระดับสินค้าของชุมชน
2) การอบรมหลักสูตรระยะสั้น ควรต่อยอดให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพหรือใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอบรมโดยให้นักศึกษาที่มีความรู้จากการอบรม ไปอบรมต่อให้กับนักศึกษาโครงการครูคืนถิ่น ในหลักสูตรการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคภาพพิมพ์นูน ภาพพิมพ์แสตมป์บนผ้าในวันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 และหลักสูตรการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคภาพพิมพ์นูนบนพื้นผิวที่หลากหลาย ในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นการถ่ายทอดแบบพัฒนาต่อยอด สร้างและถ่ายทอดความรู้แบบเครือข่าย ทำให้ความรู้จากต้นแบบที่ได้รับไม่สูญหาย แต่ยังต่อยอดได้กว้างขวางขึ้น และใช้ประโยชน์ได้จริง
3) การพัฒนาวารสารข่วงผญา ให้สามารถอยู่ในฐาน TCI ที่เป็นที่ยอมรับ โดยในอนาคตจะสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความได้ ซึ่งสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการบริหารจัดการในระบบ Thai Journal Online (ThaiJo) เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐาน และอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อให้ตามเกณฑ์มาตรฐานของ TCI โดยสามารถอ่านวารสารออนไลน์ได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya (1.1-8-2)
นอกจากนี้ยังได้นำประเด็นมาปรับใน แผนกลยุทธ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ฉบับปรับปรุง ปีพุทธศักราช 2565 (1.1-8-3) ในประเด็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าด้านศิลปวัฒนธรรมจะมีการดำเนินกิจกรรม/โครงการ โดยการบูรณาการกับการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ การยกระดับภูมิปัญญาของชุมชน จากนั้นได้นำเสนอแผนกลยุทธ์ฯ ต่อคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 วันอังคารที่ 6 กันยายน 2565 วาระที่ 4.1 (1.1-8-4) เพื่อนำมาปรับใช้ใน (ร่าง) แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566 (1.1-8-5)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5860, โทรสาร. 0-5388-5860 ilaccmru@gmail.com